งานวิจัยท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

Main Article Content

ภาวิดา เจริญจินดารัตน์

บทคัดย่อ

การพัฒนาประเทศไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมาจน
ถึงปัจจุบันมีข้อเท็จจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่า “เศรษฐกิจ สังคมมีปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน” เป็นภาพสะท้อน
ความจริงให้เห็นถึงการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ของตะวันตก ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ขาดความสมดุลอย่างรุนแรง
กลายเป็นสังคมแห่งการบริโภค มุ่งความเจริญเติบโตทางด้านวัตถุเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว
เฉพาะบางพื้นที่บางชุมชน โดยไม่กระจายความเจริญไปยังพื้นที่หรือชุมชนอื่น เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ภายในประเทศเพิ่มขึ้น (วิทยา และ จำนงค์, 2555) จึงมีแผนการพัฒนาประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยสมบูรณ์
(2556) ได้ให้ข้อมูลแผนการพัฒนาประเทศไทยไว้ดังนี้ การพัฒนาที่ผ่านมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 – 10 (พ.ศ. 2540 – 2554) ได้เน้นการพัฒนาแบบองค์รวม โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของพัฒนา และสร้าง
สมดุลการพัฒนาในทุกมิติ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศอย่างรอบด้าน
ขณะเดียวกันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การ
พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยและสังคมไทยมีการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต ตระหนักถึงคุณค่า วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย รวมถึงการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สนับสนุนให้คนในชุมชน
มีส่วนร่วมคิด และกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้วยการพึ่งพาตนเองที่คำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร
ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ในชุมชน และ
การถ่ายทอดภูมิปัญญาที่ช่วยพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ก็ยังคงเน้นการน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดคน
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558)

Article Details

บท
บทความวิชาการ