การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรในอ้อยตอภายใต้สภาพการปลูกอ้อยข้ามแล้ง โดยอาศัยน้ำฝนของพันธุ์อ้อยดีเด่น 16 พันธุ์

Main Article Content

เศวตฉัตร เศษโถ
พัชริน ส่งศรี
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง
ประสิทธิ์ ใจศิล

บทคัดย่อ

ความสามารถในการไว้ตอหรือการให้ผลผลิตของอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเหนือมักไม่เป็นไปตามศักยภาพของพันธุ์ สาเหตุอาจเนื่องมาจากความแห้งแล้งและพันธุ์ที่ใช้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์อ้อยดีเด่น 16 พันธุ์ในอ้อยตอภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนและหาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ทดสอบพันธุ์อ้อยจำนวน 16 พันธุ์ ปลูกทดสอบพันธุ์ใน
2 พื้นที่คือ อ. หนองแสง จ. อุดรธานี (ดินร่วนปนทราย) และ อ. กุฉินารายณ์ จ. กาฬสินธุ์ (ดินทราย) ที่อายุ 12 เดือนหลังแต่งตอ ตรวจวัดข้อมูลผลผลิตอ้อย ค่า ซี.ซี.เอส. จำนวนลำต่อไร่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ และความยาวลำ พบว่า ทุกลักษณะ
ที่ตรวจวัดมีความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบอิทธิพลของสภาพแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในลักษณะจำนวนลำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ และผลผลิตอ้อย รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และสภาพแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อ้อยพันธุ์ KK3 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงในอ้อยตอทั้งในพื้นที่สภาพดินร่วนปนทรายและสภาพ
ดินทราย ส่วนพันธุ์อ้อยที่มีผลผลิตดีเฉพาะในดินทรายได้แก่ พันธุ์ CSB06-4-162 และ MPT02-458 ในขณะที่พันธุ์ KK06-501, 91-2-527, MPT03-166, RT2004-085 และ LK92-11 มีผลผลิตของอ้อยตอดีในดินร่วนปนทราย นอกจากนี้ ลักษณะทางการเกษตร เช่น จำนวนลำต่อไร่ ความยาวลำ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิตอ้อย ดังนั้นลักษณะเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้อ้อยตอมีผลผลิตในสภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้

Article Details

How to Cite
เศษโถ เ., ส่งศรี พ., จงรั้งกลาง น., & ใจศิล ป. (2020). การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรในอ้อยตอภายใต้สภาพการปลูกอ้อยข้ามแล้ง โดยอาศัยน้ำฝนของพันธุ์อ้อยดีเด่น 16 พันธุ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(1), 42–51. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/162531
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ ตรีสุวรรณ. 2544. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินที่พบในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 483. น. 1-26.

กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

สุดชล วุ้นประเสริฐ และธีรยุทธ เกิดไทย. 2558. การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. https://www.sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5869/2/Fulltext.pdf (4 พฤษภาคม 2561).

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. พื้นที่การผลิตอ้อย. ใน รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย 2559/60.

https://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf (1 พฤษภาคม 2561).

Hagos, H., Worku, W., and Takele, A. 2014. Effect of drying off period and harvest age on quality and yield of ratoon cane (Saccharium officinarium L.). Adv Crop Sci Tech. 2 (3): 133.

Ishaq, M. N., and Olaoye, G. 2008. Expression of heterosis in sugarcane genotypes under moisture stressed condition.

Afr. J. Agric. Res. 4 (2): 99-206.

Limpinuntana, V. 2001. Physical factors related to Agricultural potential and limitations in Northeast Thailand. In: Natural resource management issues in the Korat Basin of Northeast Thailand: an overview. pp. 3-17. Proceeding of the Planning Workshop on Eco-regional Approaches to Natural Resource Management in the Korat Basin, Northeast Thailand: Toward Further Research Collaboration, held on 26-29 October 1999, Khon Kaen, Thailand. Los Banos: International Rice Research Institute.

Little, T. M., and Hills, F. J. 1978. Agricultural Experimentation Design and Analysis. New York: John Wiley and Sons Inc..

Robertson, M. J., Inman-Bamber, N. G., Mochow, R. C., and Wood, A. W. 1999. Physiology and productivity of sugarcane with early and mid-season water deficit. Field Crops Res. 64: 211-227.

Silva, P. P., Soares, L., da Costa, J. G., da Silva, V. L., de Andrade, J. C. F., Gonçalves, E. R., dos Santos, J. M., et al. 2012.

Path analysis for selection of drought tolerant sugarcane genotypes through physiological components.

Ind Crops Prod. 37 (1): 11-19.

Venkataramana, S., Guruja, R. P. N., and Naidu, K. M. 1986. The effects of water stress during the formative phase on stomatal resistance and leaf water potential and its relationship with yield in ten sugarcane varieties. Field Crops Res. 13: 345-353.