ผลของปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อสมบัติทางเคมีของดิน และการเจริญเติบโตของแก่นตะวัน

Main Article Content

อิทธิพล ขึมภูเขียว
อรวรรณ รักสงฆ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในไร่ฝึกทดลอง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อสมบัติทางเคมี
ของดินและการเจริญเติบโตของแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) ศึกษาโดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Split
plot in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ จัด Main plot เป็นการใช้ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ตำรับควบคุมไม่ใช้ปุ๋ยพืชสด (M1) และใช้
ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด ปลูกด้วยเมล็ดอัตรา 5 กก./ไร่ แล้วไถกลบขณะออกดอก (M2) และจัด Sub plot เป็นการใส่ปุ๋ย
แบบต่างๆ ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย (S1) ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กก./ไร่ (S2) ใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน อัตรา 500 (S3)
และ 1,000 กก./ไร่ (S4) บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของแก่นตะวันและสมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง
ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดทำให้แก่นตะวันมีความสูงและน้ำหนักหัวสดมากกว่าตำรับควบคุมอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนอัตรา 500 กก./ไร่ ทำให้แก่นตะวันมีขนาดลำต้นบริเวณโคนต้น ความ
สูง และน้ำหนักหัวสดไม่ต่างกับการใช้อัตรา 1,000 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมี สำหรับผลต่อสมบัติทางเคมีของดินหลัง
การทดลอง พบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดทำให้ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุมากกว่าตำรับควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ
มีแนวโน้มให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่สกัดได้และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่าตำรับควบคุม ส่วนการใส่ปุ๋ย
แบบต่างๆ ให้ลักษณะสมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย