ความหลากหลายของเห็ดป่าและราขนาดใหญ่ บริเวณวัดป่านันทวัน บ้านมะค่า ตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของเห็ดป่าและราขนาดใหญ่ บริเวณวัดป่านันทวัน บ้านมะค่า ตำบลโพนทอง
อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของเห็ดป่าที่รับประทานได้ และรับประทาน
ไม่ได้ ศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และชีวภาพบริเวณวัดป่านันทวัน ตลอดจนศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านและ
แนวทางการนำเห็ดป่าและราขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์ บริเวณที่ศึกษามีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยพืชหลาย
ชนิด เช่น เต็ง รัง มะขามป้อม มะค่า ขี้เหล็ก และติ้ว สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย จากการเก็บตัวอย่างเห็ด
และราขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม 2557 พบเห็ดทั้งสิ้น 44 ชนิด
โดยจำแนกอยู่ใน 6 ลำดับ 13 วงศ์ 21 สกุล เป็นเห็ดที่รับประทานได้ 27 ชนิด รับประทานไม่ได้ 17 ชนิด พบวงศ์
Russulaceae มากที่สุด มีจำนวน 12 ชนิด ได้แก่ เห็ดแดงน้ำหมาก (Rusuula emetic (Schaeff.&Fr.) S.F.Gray.)
เห็ดน้ำแป้งหน้าอ่อน (R. alboareolata Hongo.) เห็ดน้ำแป้งหน้าแข็ง (R. japonica Fr.) เห็ดหล่มขาว (R. delica Fr.)
เห็ดหล่มกระเขียว (R. virescens Fr.) เห็ดถ่านเล็ก (R. densifolia (Secr.) Gill.) เห็ดถ่านใหญ่ (R. nigricans (Bull.)
Fr.) เห็ดหน้าม่วง (R. cyanoxantha) เห็ดพุงหมู (R. fragrantissima Romagn.) เห็ดหล่มสีม่วงน้ำแป้ง (R. vinosa
Lindbl.) เห็ดฟานสีแดงคล้ำ (Lactarius corrugis Fr.) เห็ดฟานน้ำตาลแดง (Lactarius volemus Fr.) รองลงมาเป็น
วงศ์ Boletaceae 7 ชนิด วงศ์ Agaricaceae 5 ชนิด วงศ์ Polyporaceae 4 ชนิด วงศ์Amanitaceae 4 ชนิด วงศ์
Coprinaceae 2 ชนิด วงศ์ Tricholomataceae 1 ชนิด, วงศ์ Cantharellaceae 1 ชนิด วงศ์ Pluteaceae 1 ชนิด วงศ์
Connaraceae 1 ชนิด วงศ์ Clavariaceae 1 ชนิด วงศ์ Coprinaceae 1 ชนิด วงศ์ Sclerodermataceae 1 ชนิด วงศ์
Fomitopsidaceae 1 ชนิด และไม่ทราบชื่อ 2 ชนิด การเก็บเห็ดของชาวบ้านจะทำโดยอาศัยประสบการณ์ ความคุ้น
เคย และการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการเก็บและบริโภคเห็ดป่าสามารถ
ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ป่าและธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ที่ทำการศึกษาเพื่อให้คงอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า