ศักยภาพของสารสกัดชุมเห็ดเทศ (Cassia alata L.) ร่วมกับเชื้อราปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อ ราสาเหตุโรคพืชในสภาพห้องปฏิบัติการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันได้มีการรายงานถึงการควบคุมโรคพืชแบบบูรณาการ โดยใช้สารสกัดร่วมกับเชื้อราปฏิปักษ์
(biological control agents: BCAs) อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำสารสกัดมาใช้ร่วมกับเชื้อราปฏิปักษ์นั้นควรทำ
การทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสารสกัดจากพืชจะไม่เป็นพิษต่อเชื้อราปฏิปักษ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดชุมเห็ดเทศ (Cassia alata) ที่ระดับความเข้มข้น 5000, 10000 และ 20000 ppm
ต่อการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคพืช จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Alternaria sp.,
Curvularia sp., Fusarium sp., Helminthosporium sp., Pestalotia sp. และ Rhizoctonia sp. โดยทดลองควบคู่ไป
กับเชื้อราปฏิปักษ์ทดสอบทุกชนิด ยกเว้น non-pathogenic Fusarium oxysporum F221-B ซึ่งเคยได้รับการรายงาน
ว่าทนทานต่อน้ำคั้นชุมเห็ดเทศได้เป็นอย่างดีและศึกษาอิทธิพลร่วมของเชื้อราปฏิปักษ์ (Trichoderma harzianum
จำนวน 5 ไอโซเลท และ F221-B) และสารสกัดชุมเห็ดเทศต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชด้วยวิธี Dual culture
assay บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมสารสกัดชุมเห็ดเทศ จากงานวิจัยครั้งนี้ พบว่าสารสกัดชุมเห็ดเทศทุกความเข้มข้น
มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญทางเส้นใยและการงอกของสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่ทดสอบทุกชนิดได้
อยู่ในช่วง 16-53 และ 32-94 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของสารสกัดดังกล่าวให้สูงขึ้น
ประสิทธิภาพในการยับยั้งก็จะมากขึ้นด้วย ส่วนการทดสอบกับเชื้อรา T. harzianum พบว่าสารสกัดดังกล่าวทุก
ความเข้มข้นไม่มีผลต่อการเจริญของเชื้อรา T. harzianum ทุกไอโซเลท สำหรับการทดสอบอิทธิพลร่วมนั้น พบว่า
เชื้อรา T. harzianum เจริญบนอาหารผสมสารสกัด สามารถยับยั้งการเจริญทางเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
(อยู่ในช่วง 45.3-69.6 เปอร์เซ็นต์) แต่น้อยกว่าศักยภาพที่ใช้เชื้อรา T. harzianum เพียงอย่างเดียว
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า