การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในวิชาการเกษตร กรณีศึกษาการปลูกผัก ในเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

จริยา เสตะจันทน์
ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมมาธิวัฒน์
สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การปลูกผักในเมืองของนักเรียน
ชั้นประถม- ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 55 คน การดำเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวน
วรรณกรรม 2) คัดเลือก กลุ่มเป้าหมาย 3) วางแผนการเรียนร่วมกับครูและผู้ปกครอง 4) พัฒนาสื่อการสอนและเตรียม
อุปกรณ์สำหรับการเรียน 5) ดำเนินกิจกรรม 6) เปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลัง 3 ด้าน คือ ความรู้-ความเข้าใจ
ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ และ ทัศนคติในการเรียนวิชาเกษตร เพื่อนำผลมาวิเคราะห์และพัฒนาให้เป็นรูปแบบ
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการปลูกผักในเมือง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ t-test
ผลการศึกษาพบว่าการนำหลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้เป็นรูปแบบการเรียน
รู้ที่มี ความเหมาะสมในการเรียนวิชาเกษตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการ
ทำกิจกรรม ร่วมกันเป็นการกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้และก่อให้เกิดกิจกรรมทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยพบว่า
นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำคะแนนในแต่ละด้านสูงขึ้น โดยด้านความรู้ – ความเข้าใจ มีคะแนนเฉลี่ย
สะสมก่อนเรียน 6.47 และคะแนนเฉลี่ยสะสมหลังเรียน 8.98 ด้านทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ยสะสม
ก่อนเรียน 6.25 และคะแนนเฉลี่ยสะสมหลังเรียน 9.89 ด้านทัศนคติในการเรียนวิชาเกษตร พบว่าคะแนนเฉลี่ยสะสม
ก่อนเรียน 4.27 และคะแนนเฉลี่ยสะสมหลังเรียน 4.78 ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและทฤษฏีของ
โรเบิร์ต การ์เย่ เกิดเป็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย