ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของชาวประมงลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่มีต่อ แนวทางการอนุรักษ์โลมาอิรวดีของภาครัฐ

Main Article Content

พิไลวรรณ ประพฤติ
สุวัฒน์ จุฑาพฤทธิ์
กอบชัย วรพิมพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของชาวประมงต่อแนวทางการ
อนุรักษ์โลมาอิรวดี โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 ราย ในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งของ
จังหวัดสงขลาและพัทลุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอยโลจิสติกส์ ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับแนวทาง
การห้ามทำการประมงที่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดีในพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ ภัยคุกคามของโลมา และความสัมพันธ์
ระหว่างโลมาและระบบนิเวศ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับแนวทางการเข้าร่วมเฝ้าระวังโลมาได้แก่ การผสมพันธุ์
กันเองในประชากรโลมา แหล่งที่อยู่อาศัยของโลมา การพูดคุยในชุมชนเกี่ยวกับโลมา ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งทุ่นเพื่อ
ประกาศเขตพื้นที่คุ้มครอง ความรู้เกี่ยวกับโลมาหายใจด้วยปอด ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับแนวทางการ
สร้างแพและหอสังเกตการณ์ ได้แก่ การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองที่ชัดเจน และความรู้เกี่ยวกับน้ำเสียเป็นภัยคุกคาม
ต่อโลมาอิรวดี ตามลำดับ ทั้งนี้การส่งเสริมกิจกรรมให้กับชุมชนในปัจจัยที่มีอิทธิพล จะทำให้แนวทางการอนุรักษ์
โลมาอิรวดีของภาครัฐได้รับการตอบสนองของชุมชนในเชิงรับมากกว่าเชิงปฏิเสธ

Article Details

บท
บทความวิจัย