การถ่ายทอดความรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านบทเรียน: การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่ครัวเรือนชาวประมงในจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการความรู้ของครัวเรือนเกษตรกรชาวประมง รวมทั้งเพื่อจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรชาวประมง และเพื่อประเมินผลลัพธ์จากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรชาวประมง โดยเลือกหมู่บ้านชายคลอง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่วิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวประมง ซึ่งใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสนทนาตามธรรมชาติ การจดบันทึก เทปบันทึกเสียง แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรชาวประมงมีความต้องการความรู้ในเรื่องการทำลูกชิ้นไก่ และการทำขนมเปียกปูนกะทิสด เกษตรกรชาวประมงมีความพึงพอใจมากที่สุดจากการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวม ( = 4.48±0.45) ความพึงพอใจด้านประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.60±0.54) รองลงมาคือด้านสถานที่/อุปกรณ์/ระยะเวลา/อาหารว่าง ( = 4.52±0.49) และด้านวิทยากร ( = 4.40±0.44) ตามลำดับ ประเด็นความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริมมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดและเท่ากัน ( = 4.67±0.45) หลังจากนั้น 6 เดือนได้มีการประเมินผลโครงการ ซึ่งพบว่า เกษตรกรชาวประมงส่วนหนึ่งได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการไปใช้ทำอาหารเพื่อรับประทานภายในครัวเรือน รวมทั้งได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่บุคคลอื่น แต่เกษตรกรชาวประมงทั้งหมดไม่ได้นำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริม เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเวลา หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาอาชีพให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรชาวประมงต่อไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กานดา จันทร์แย้ม. 2556. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.
จักรพงศ์ จิระแพทย์, ทวี บุญภิรมย์, ทัศนีย์ รัดไว้ และไซเดน อาแวเต๊ะ. 2556. ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตรของประชาชน
ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5(2): 57-66.
จำนงค์ จุลเอียด. 2552. การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นต่อสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติตามหลักเกษตรอินทรีย์.
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 1(2): 114-125.
จุฑา พีรพัชระ. 2550. การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและสร้างอาชีพใหม่. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร 1(2):
-242.
ชูชัย สมิทธิไกร. 2554. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ชูชัย สมิทธิไกร. 2556. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ฐีระ ประวาลพฤกษ์. 2538. การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2555. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. 2547. การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สิริลักษณ์การพิมพ์.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. 2544. กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญธรรม จิตต์อนันต์. 2536. ส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุหลัน กุลวิจิตร. 2560. สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 10(3): 24-47.
พนิต เข็มทอง. 2528. การศึกษาสำหรับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรชุลีย์ นิลวิเศษ และพจน์ พรหมบุตร. 2546. กลยุทธ์การส่งเสริมอาชีพเกษตร. ใน การศึกษาเกษตรและการส่งเสริมอาชีพเกษตร หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 8. น. 103-148. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ภาณุกา แจ่มดอน. 2551. กระบวนการเข้าสู่อาชีพและสภาพการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน: กรณีศึกษาผู้รับงานไปทำที่บ้านในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าชุมชนจิตภาวรรณ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
มนัส ชูผกา, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, คณิต เฉลยจรรยา และสุภัททา ปิณฑะแพทย์. 2559. การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรม
โรงสีข้าว. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 26(3): 499-505.
ลั่นทม จอนจวบทรง และณธภร ธรรมบุญวริศ. 2556. การถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่น: กรณีศึกษาการถ่ายทอดความรู้ผักพื้นบ้านของภาคตะวันออก. วารสาร มฉก.วิชาการ 17(33): 117-128.
วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย, พรพล รมย์นุกูล, หงส์วริน ไชยวงศ์ และเมลดา อภัยรัตน์. 2560. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเบเกอรีเพื่อสุขภาพโดยการ
มีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 9(4): 257-273.
วิจิตร อาวะกุล. 2535. หลักการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิบูลย์ บุญยธโรกุล. 2545. คู่มือวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. 2555. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมคิด บางโม. 2549. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมิต สัชฌุกร. 2547. เทคนิคการสอนงาน. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2560. พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. กรมประมง.
https://www.fisheries.go.th/law/web2/images/PR 2558/1-25-20-9998-update.pdf (1 มกราคม 2562).
สิทธิโชค วรานุสันติกูล. 2546. จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
อังคณา เรืองชัย. 2555. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Silverman, R. E. 1975. Psychology. New Jersey: Prentice-Hall.
Wathne, K., Roos, J., and Von Krogh, G. 1996. Toward a theory of knowledge transfer in a cooperative context. In Managing Knowledge Perspective on Cooperation and Competition, G. Von Krogh, and J. Roos, ed. pp. 55-81.
London: SAGE Publications.
Zeus, P., and Skiffington, S. 2002. The coaching at work toolkit: a complete guide to techniques and practices.
New York: McGraw-Hill.