อุตสาหกรรมยางพาราภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ภาพปรากฏจากพื้นที่ปลูกยางพาราเมืองใหญ่สองทะเล

Main Article Content

Purawich Phitthayaphinant

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยาง (2) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของโซ่อุปทานยางพารา และ (3) เพื่อศึกษาการรับรู้ผลกระทบและการปรับตัวของอุตสาหกรรมยางพาราจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเลือกจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่วิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 400 ราย ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราและตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 ราย การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิตและการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางมีสวนยางพาราขนาดเล็ก โครงสร้างของโซ่อุปทานยางพารามีความเชื่อมโยงตั้งแต่โซ่อุปทานต้นน้ำ คือ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย เศษยาง ซึ่งผลผลิตยางพาราเหล่านี้จะถูกส่งไปยังโซ่อุปทานกลางน้ำเพื่อแปรรูปให้อยู่ในรูปวัตถุดิบสำหรับโซ่อุปทานปลายน้ำ ได้แก่ น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางในรูปแบบอื่น เช่น ยางผสมหรือยางคอมปาว์ด ส่วนโซ่อุปทานปลายน้ำจะทำการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่น ถุงมือยาง ท่อยางไฮโดลิก ราวจับบันไดเลื่อน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารามีการรับรู้ผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนน้อย โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราเห็นว่า อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ เมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกยางพารารายอื่น เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราได้มีการปรับตัวในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย. 2559. แผนวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทยปี 2560-2564. การยางแห่งประเทศไทย. https://www.raot.co.th/article_attach/plan_60.pdf (8 มกราคม 2562).
จุฑา เทียนไทย. 2555. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ผลกระทบต่อธุรกิจไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2: 1-5.
ญาณี ศรีมณี และทวีพล จันทนะสาโร. 2555. ยางพาราไทยและอาเซียนในตลาดโลก. วารสาร สนย. 3: 4-5.
ทรงพล ขัติยศ. 2550. การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน.
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. 2554. ผลกระทบและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 4: 71-80.
ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ และอัจฉราภรณ์ นันตาเวียง. 2559. ผลกระทบของนโยบายการแทรกแซงราคาและเขตเสรีการค้าต่อยางพารา: กรณีศึกษาประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 8: 117-129.
นวพร สังวร และสุดาพร สาวม่วง. 2557. กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกยางพาราไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย 19: 111-122.
บัญชา สมบูรณ์สุข, วันชัย ธรรมสัจการ, ปริญญา เฉิดโฉม, อรอนงค์ ลองพิชัย และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์. 2558. ศักยภาพ ความสามารถและการพัฒนาแรงงานจ้างในระบบการผลิตยางพาราขนาดเล็ก: บทเรียนจากพื้นที่ปลูกยางพาราดั้งเดิม จังหวัดสงขลา. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์) 36: 74-87.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2549. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปฐมาวดี ฉายรักษา. 2557. ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเชิงพลวัตของการส่งออกยางพาราของประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย.
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปราปต์ปกรณ์ ธนูรัตน์. 2553. การวิเคราะห์ศักยภาพการส่งออกยางธรรมชาติของไทยไปรัสเซีย. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
พรรณจิรา จันทร์ผลึก. 2553. การส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
พิชิต สพโชค, พิสมัย จันทุมา และพนัช แพชนะ. 2550. การกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
มธุภาณี ไทยภักดี. 2555. ประเทศไทยกับการเป็นประชาคมอาเซียน: โอกาส และความเสี่ยง. วารสารร่มพฤกษ์ 30: 109-124.
วราลี ศรีสมบัติ. 2542. การวิเคราะห์ความสามารถในการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
วลัยพร บวรกุลวัฒนร์. 2554. การศึกษาความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพเชิงลึกของอุตสาหกรรมยางธรรมชาติในประเทศไทย.เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชรินทร์ กือเย็น. 2551. การวิเคราะห์ส่วนการตลาดแบบคงที่ของการส่งออกยางพาราไทย. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิทยา สุจริตธนารักษ์. 2555. เศรษฐกิจไทยกับอาเซียน: ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอดีต-ปัจจุบัน. วารสารร่มพฤกษ์ 30: 149-174.
ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. 2557. การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. รัฐสภาสาร 62: 48-70.
ศุภโชค สมพงษ์ และวรพจน์ ศรีวงษ์คล. 2556. ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และมาตรการรองรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยางพาราไทย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา 26: 44-51.
ศุภจิต มโนพิโมกษ์ และวิโรจน์ มโนพิโมกษ์. 2555. ความสำเร็จและผลลัพธ์ของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: บทวิเคราะห์เบื้องต้นและประเด็นวิจัย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1: 7-17.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2561. ยางพารา: เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่กรีดได้ ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2559. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ production/pararubber.pdf (8 มกราคม 2562).
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2550. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุธี อินทรสกุล, บัญชา สมบูรณ์สุข และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์. 2560. อุตสาหกรรมยางพาราไทย: สถานภาพและแนวทางการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 8: 80-107.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2560. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/year book60.pdf (8 มกราคม 2562).
อิศรา ชูบํารุง. 2554. การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกยางพาราธรรมชาติของประเทศไทย. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุดมศรี ชวานิสากุล. 2544. การวิเคราะห์ศักยภาพการส่งออกยางธรรมชาติของประเทศไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Poramacom, N. 2002. Revealed Comparative Advantage (RCA) and constant Market Share model (CMS) on Thai natural rubber. Kasetsart J. (Social Sciences) 23: 54-60.
Somboonsuke, B., and Wettayaprasit, P. 2013. Agricultural System of Natural Para-rubber Smallholding Sector in Thailand.
Bangkok: Extension and Training Office (ETO), Kasetsart University.
Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd edition. Tokyo: John Weatherhill.