การตอบสนองของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสนต่อการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

Main Article Content

ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
พิชญา คะเณย์
จิรวัฒน์ พุ่มเพชร
ศิริสุดา บุตรเพชร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะภัยแล้ง รวมทั้งการจัดการธาตุอาหารไม่เหมาะสมทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อ
การตอบสนองของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกหลังนาในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ 9 ตำรับการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าปริมาณธาตุอาหารหลักของข้าวโพด
ที่ติดไปกับผลผลิต ส่งผลให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก (2,134.55 กก./ไร่) น้ำหนักฝักปอกเปลือก (1,736.28 กก./ไร่) น้ำหนักเปลือก (398.26 กก./ไร่) และน้ำหนักเมล็ด (1,491.22 กก./ไร่) สูงที่สุด รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (น้ำหนักฝักทั้งเปลือก 2,070.20 กก./ไร่ น้ำหนักฝักปอกเปลือก 1,723.94 กก./ไร่ และน้ำหนักเมล็ด 1,464.72 กก./ไร่) นอกจากนี้ การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ทั้งที่ใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีผลให้ความเข้มข้นของไนโตรเจนในเมล็ดสูงที่สุด
ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในใบและเมล็ดอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ความเข้มข้นของโพแทสเซียมในลำต้นสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยเคมีทั้งที่ใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินหลังปลูก มีปริมาณสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดินก่อนปลูก ที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร การใช้ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าปริมาณธาตุอาหารหลักของข้าวโพดที่ติดไปกับผลผลิต สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงที่สุด (10,461.24 บาท/ไร่

Article Details

How to Cite
อินทร์บุญช่วย ธ., คะเณย์ พ., พุ่มเพชร จ., & บุตรเพชร ศ. (2020). การตอบสนองของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสนต่อการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(1), 72–81. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/172052
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการลำดับที่ 001/2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมวิชาการเกษตร. 2557. กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2550. ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่พิเศษ 59 ง. น. 12-14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. 2553. โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (Version 3). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, อัจฉรา นันทกิจ, สมปอง หมื่นแจ้ง และไพโรจน์ พันธุ์พฤกษ์. 2551. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพกับ

การผลิตข้าวโพดสายพันธุ์นครสวรรค์ 2 ในชุดดินวังสะพุง. ว. วิชาการเกษตร 1 (1): 82-90.

เกษม สุขสถาน, นพพร สายัมพล, รังสฤษฏ์ กาวีตะ, วันชัย จันทร์ประเสริฐ, สว่าง พฤกษาชีวะ, อุดม พูลเกษ, งามชื่น รัตนศิลก และคณะ. 2527. พืชเศรษฐกิจ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จรัณธร บุญญานุภาพ, วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ และกัญจน์ชนา เม้าสิ้ว. 2561. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงสิ่งแวดล้อมของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในสวนยางพาราบริเวณพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่าน. ว. มหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(3): 80-97.

ชัยวัฒน์ วงษ์ไร, ชัยสิทธิ์ ทองจู, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ และคณะ. 2558. ผลของกากตะกอนยีสต์จากโรงงานเอทานอลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิก 999.

ใน การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติครั้งที่ 4 “ธรรมชาติของดินและความจริงของปุ๋ยเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน”. สงขลา.

ชัยสิทธิ์ ทองจู และปาจรีย์ แน่นหนา. 2552. ผลของวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 80 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน (ปีที่ 1). วารสารดินและปุ๋ย 31 (1): 6-26.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2559. ปุ๋ยสั่งตัด. https://www.ssnm.info. (12 มิถุนายน 2561).

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. 2555. การจัดการธาตุอาหารเฉพาะที่สําหรับข้าวโพด. https://www.ssnm.info. (24 พฤษภาคม 2561).

ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. 2561. การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส

(อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 36 (1): 40-49.

ธีระพงษ์ พรมสวัสดิ์, ชัยสิทธิ์ ทองจู และจุฑามาศ ร่มแก้ว. 2553. ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับยิปซัมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. น. 43-53. นครปฐม.

บัญชา รัตนีทู. 2552. ปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูสภาพดิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 1 (2): 1-16.

ประเสริฐ สองเมือง. 2543. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว

กรุงเทพฯ: กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

พรทิวา คล้ายเดช. 2557. การเปรียบเทียบผลของการใช้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, วรภัทร ลัคนทินวงศ์, ชวินทร์ ปลื้มเจริญ และภิรญา ชมพูผิว. 2560. ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการผลิตข้าว

พันธุ์สุพรรณบุรี 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25 (2): 248-259.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, สมควร คล้องช้าง, สมฤทัย ตันเจริญ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, ณัฐพงศ์ ศรีสมบัติ, นงลักษ์ ปั้นลาย, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, และคณะ. 2558. การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดีเด่นในพื้นที่ต่าง ๆ. ใน รายงานโครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสภาพแห้งแล้ง. น. 11-48. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

สมชาย บุญประดับ. 2538. การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งเพื่อทดแทนนาปรัง. กสิกร 68 (4): 172-176.

สมชาย บุญประดับ. 2541. ข้าวโพดไร่ในนาทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย. กสิกร. 71 (6): 574-578.

สมชาย บุญประดับ. 2544. การปลูกข้าวโพดในนา. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่อง การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนนานาชาติ ครั้งที่ 1

แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผู้นำเกษตรกรจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 15 คน. น.1-8.

ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, ชัยนาท.

สมปอง หมื่นแจ้ง, สุวพันธ์ รัตนะรัตน์, สมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์, ภาวนา ลิกขนานนท์ และไพฑูรย์ พูลสวัสดิ์. 2549. คู่มือปุ๋ยอินทรีย์

(ฉบับนักวิชาการ). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559-2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

หริ่ง มีสวัสดิ์. 2540. การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยกับข้าวโพด. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยพืชไร่

กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว, ไลลา หวังเบ็ญหมัด, สิราพัชร ภิรมย์พร, วรรณดี ชูสวัสดิ์ และพงษ์ศักดิ์ ณ นคร. 2561. ผลของการใส่ปุ๋ยที่ต่างกันต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว 4 สายพันธุ์. ว.พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 5 (2): 25-31.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2548. การสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

AOAC. 1990. Official methods of analysis. 15th edition. Washington DC: The Association of Official Analytical Chemists.

AOAC. 2000. Official method of analysis of AOAC international. 17th edition. Washington DC: The Association of Official Analytical Chemists.

Boonpradub, S., Chatairi, M., and Senanarong, N. 1998. Maize cultivation in paddy field research in Thailand. pp. 399-406. In S.K. Vasal, eds. Proc. the 7th Asian Regional Maize Workshop. PCARRD, Laguna, Philippines.

Bray, R. H., and Kurtz, N. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.

Eskasingh B., Gypmantasiri, P., and Thong-Ngam, K. 2003. Maize production potentials and research prioritization in Thailand. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Ghosh, S., Wilson, B., Ghoshal, S. K., Senapati, N., and Mandal, B. 2010. Management of soil quality and carbon sequestration with long-term application of organic amendments. In Proc. the 19th World Congress of Soil Science. pp.146-149. Brisbane, Australia.

Granados, G., Kitbamroong, C., Tavarasook, C., Chatasiri, M., Grudloyma, P., Chotichun, S., and Boonpradab, S. 1994.

Winter maize in paddy fields research conducted in Thailand in 1992-1994. pp. 26.

Jackson, M. L. 1958. Soluble Salt Analysis for Soils and Water, Soil Chemical Analysis. New Jersey: Prentice Hall, Inc. Englewood Cliffs.

Jackson, M. L. 1965. Soil Chemical Analysis (Advanced Course). Wisconsin: Department of Soils, University of Wisconsin.

Matsumoto, N., Paisancharoen, K., Wongwiwatchai, C., and Chairoj, P. 2002. Nitrogen cycles and nutrient balance in agro-ecosystems in Northeast Thailand. In Development of sustainable agricultural system in Northeast Thailand through local resource utilization and technology improvement, JIRCAS Working Report No.30. Ito and N. Matsumoto, eds. pp. 49-53. Ibaraki: JIRCAS.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. In Soil Survey Investigation No. 42, Version 3. United States: Department of Agriculture, National Soil Survey Center.

Pratt, P. F. 1965. Potassium. In Methods of Soil Analysis, Part II. C. A. Black, ed. pp. 1022-1030. Wisconsin: Amer. Soc. of Agron, Inc.

Ripusudan, L. P., Gonzalo, G., Honor, R. L., and Alejandro, D. V. 2000. Tropical maize improvement and production.

FAO plant production and protection series No. 28.

Soil Survey Division Staff. 1993. Soil Survey Manual, United States Department of Agriculture Handbook No. 18.

Washington, DC.: United States Government Printing Office.

Soil Survey Staff. 2003. Key to Soil Taxonomy. Ninth Edition. Washington, DC.: Department of Agriculture, Natural Resources Conservation Survice.

Walkey, A., and Black, I. A. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chronic acid titration method. Soil Sci. 37: 29-38.

Xu, X., He, P., Qiu, S., Pampolino, M. F., Zhao, S., Johnston, A. M. and Zhou, W. 2014. Fertilizer recommendation for maize in China based on yield response and agronomic efficiency. Field Crop Res. 157: 27-34.