ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเค้กปลาช่อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเค้กปลาช่อน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมมุติฐาน
ทางสถิติทำโดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม
ที่มีลักษณะ 1) เป็นเพศหญิง 2) มีอายุ 15-25 ปี 3) จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี 4) ประกอบอาชีพข้าราชการหรือ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 5) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 10,000 ถึง 19,999 บาท ในด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัย
ส่วนบุคคลทางด้านอายุ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลต่อการซื้อซ้ำและการบอกต่อแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคล
ทางด้านการศึกษา และรายได้ประจำ(ต่อเดือน)ที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อการบอกต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่
ระดับ 0.05 ส่วนด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(คุณลักษณะของเค้กปลาช่อน)มีอิทธิพล
ต่อการซื้อซ้ำและการบอกต่อ ส่วนปัจจัยด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อการบอกต่ออย่างมีนัย
สำคัญที่ระดับ 0.05
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ฉัตรศิริปิยะพิมลสิทธิ์. “การวิเคราะห์องค์ประกอบ” วารสารการวัดผลการศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, ฉบับที่ 20, พฤษภาคม 2541. หน้า58
ชูชัย สมิทธิไกร. 2554. แบบจำลองพฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สมภพ จรรยาวัฒนานนท์. 2548. “ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา.” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐธีร์ ศิวเดชเจริญวงษ์. 2555. “การตัดสินใจเลือกซื้อผักอินทรีย์จากมูลนิธิโครงการหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ระดับ
ปริญญาโท สาขาส่งการเกษตร คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. “ประวัติความเป็นมาของเค้กปลาช่อน.” ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://fishcake2u.blogspot.com/p/blog-page.
html. 2558
วิลาสินี วังทะพันธ์. 2547. “การศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร.”
การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์