ปริมาณคาร์บอนสะสมในดินในพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำชีตอนกลาง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณคาร์บอนในดินในพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ปริมาณคาร์บอนในดินในพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์บอนกับสมบัติ
ดินบางประการ ทำการเลือกและเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน 4 ประเภท ในลุ่มน้ำชีตอนกลาง จังหวัด
มหาสารคามได้แก่ พื้นที่ปลูกอ้อย (SU) พื้นที่นาข้าว (PF) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง (CA) และพื้นที่ปลูกมันแกว (YB)
ตัวอย่างดินทั้งหมดถูกเก็บด้วยวิธีรบกวนและไม่รบกวนโครงสร้างดิน ที่ระดับความลึก 0-25 เซนติเมตร เพื่อนำมาศึกษา
สมบัติดินทางกายภาพและทางเคมี ได้แก่ ความหนาแน่นรวมของดิน เนื้อดิน ค่าปฏิกิริยาดิน ค่าความสามารถในการ
แลกเปลี่ยนประจุบวก ไนโตรเจนทั้งหมดในดิน และคาร์บอนอินทรีย์ในดิน ผลการศึกษาพบว่าเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดิน
ร่วนปนทรายและทรายปนร่วน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง คาร์บอนในดินของพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน
ทางการเกษตรมีปริมาณแตกต่างกัน โดยพื้นที่นาข้าวมีปริมาณคาร์บอนในดินสูงที่สุด เท่ากับ 16.69±10.80 ตันต่อ
เฮกตาร์ รองลงมาได้แก่ พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกมันแกว และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งมีปริมาณเท่ากับ 9.46±3.57,
7.82±2.84 และ 7.39±2,85 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์บอนกับสมบัติ
ดิน พบว่าค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ไนโตรเจนทั้งหมดในดิน อนุภาคทราย ทรายแป้ง และดิน
เหนียว มีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ซึ่งมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ
0.794, 0.530, -0.723, 0.677 และ 0.621 ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยระหว่างคาร์บอนในดินและสมบัติดิน
ในพื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่นาข้าว พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และพื้นที่ปลูกมันแกว มีสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจ (R2) เท่ากับ
0.391, 0.748, 0.491 และ 0.443 ตามลำดับ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
luse1/pdf/thailand51_52.pdf, 25 พฤษภาคม 2556.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2556. ผลสำเร็จงานวิชาการกรมพัฒนาที่ดินในรอบกึ่งศตวรรษ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. 2554. ลุ่มน้ำชี. แหล่งที่มา: http://www.haii.or.th/wiki/index.php, 25 พฤษภาคม 2556
เพ็ญนภา คงรัตนโชค. 2548. ปริมาณการสะสมคาร์บอนในมันสำปะหลังและยางพารา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล
พจนีย์ มอญเจริญ และทวีศักดิ์ เวียรศิลป์. 2544. คาร์บอนในดินของประเทศไทย. กรุงเทพฯ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อำนาจ ชิดไธสง และนัฐพล ลิไชยกุล. 2548. การกักเก็บและปลดปล่อยคาร์บอนในดินป่าดิบแล้ง ดินป่าปลูก และดินทำการเกษตร. รายงาน
การประชุมวิชาการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทางด้านป่าไม้ "ศักยภาพการสนับสนุนพิธีสารเกียวโต". โรงแรมมารวย การ์เดน
กรุงเทพฯ. หน้า 95-105.
Batjes, N.H. 1996. Total carbon and nitrogen in the soils of the world. European Journal of Soil Science. 47: 151-163
Blake, G.R. and K.H. Hartage. 1986. Bulk Density. pp. 363-375. In A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis part I Physical and
Mineralogical Methods: Agronomy Monograph no. 9.
Bremner, J.M. 1965. Total nitrogen, pp. 1149-1237. In C.A. Black, ed. “Method of soil Analysis, part 2”. Agrofrorestry No. 9
Am. Soc. Agron. Medison, Wisconsin, USA.
Chapman, H. D. 1965. Cation-exchange capacity. Methods of soil analysis. Part 2. Chemical and microbiological properties,
(methodsofsoilanb). 891-901.
Chen, Z.D., S.B. Dikgwatlhe, J.F. Xue, H.L. Zhang, F. Chen and X.P. Xiao. 2015. Tillage impacts on net carbon flux in paddy
soil of the Southern China. Journal of Cleaner Production. 103: 70-76.
Food and Agricultural Organization of the United Nations. 2013. The State of Food and Agriculture 2013. Available Source:
http://www.fao.org/publications/sofa/2013/en, 3 July 2015.
Galdos, M.V., C.C. Cerri and C.E.P. Cerri. 2009. Soil carbon contents under burned and unburned sugarcane in Brazil.
Geoderma. 153: 347-352.
Hao, Q., B. Cheng and C. Jiang 2013. Long-term tillage effect on soil organic carbon and dissolved organic carbon in a
purple paddy soil of southwest China. Acta Ecologica Sinica. 33: 260-265
Intergovernmental Panel on Climate Change. 2007. Climate change 2007 – the physical science basis. United Kingdom.
Cambridge University Press.
Korkanç, S.Y. 2014. Effects of afforestation on soil organic carbon and other soil properties. CATENA. 123: 62-69.
Lal, R. 2004. Soil carbon sequestation impact on global climate change and food security. Science. 304:1623-1627.
Ogle, S.M., F.J. Breidt, and K. Paustian. 2005. Agricultural management impacts on soil organic carbon storage under moist
and dry climatic condition of temperate and tropical region. Biogeochemistry. 72: 87-121.