การพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตของต้นกล้า และอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ

Main Article Content

สุริยา ตราชู
นิวัต เหลืองชัยศรี
บุญมี ศิริ

บทคัดย่อ

ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดพันธ์ขุ นาดเล็กมาก ทำให้เมล็ดพันธ์งุ อกไมสม่ำเสมอ ต้นกล้ามีขนาด
เล็กและมีการพัฒนาช้ามาก การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขนาดของเมล็ดพันธุ์ยาสูบโดยการพอกร่วมกับธาตุ
อาหารพืช และศึกษาผลของการพอกต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตของต้นกล้า และอายุการเก็บรักษาเมล็ด
พันธุ์ยาสูบ ทำการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนำเมล็ดพันธุ์ยาสูบมาพอกด้วยวัสดุพอก 2 ชนิด คือ talcum และ pumice อัตรา 60 และ
150 กรัม ตามลำดับ และใช้ hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ปริมาณ
40 มิลลิลิตร เป็นวัสดุประสาน พอกเมล็ดร่วมกับธาตุอาหารพืช 3 อัตรา คือ 1, 2 และ 3 เท่า ต่อเมล็ดพันธุ์ยาสูบ 3
กรัม โดยใช้เครื่องพอกเมล็ดพันธุ์รุ่น SKK11 หลังการพอกนำมาตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตใน
ระยะกล้าของยาสูบบางลักษณะ ผลการตรวจสอบคุณภาพในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า เมล็ดพันธุ์ยาสูบที่ผ่านการ
พอกร่วมกับธาตุอาหารพืชมีเปอร์เซ็นต์ความงอกและความเร็วในการงอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอกและมีความแตก
ต่างกันทางสถิติ ส่วนในสภาพเรือนทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์ยาสูบที่พอกร่วมกับธาตุอาหารพืชอัตรา 1 เท่า มีเปอร์เซ็นต์
ความงอกและความเร็วในการงอกดีที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอก และหลังจากการเก็บ
รักษาเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าเมลด็ พันธ์ยาสูบที่พอกร่วมกับธาตุอาหารพืชอัตรา 1 เทายังคงมีคุณภาพดีที่สุด และ
สูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอก แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการพอกร่วมกับธาตุอาหารพืชอัตรา 2 เท่า นอกจากนี้ยัง
พบว่าต้นกล้ายาสูบที่เกิดจากการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชทุกอัตรามีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าต้นกล้าที่เกิด
จากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอกและพอกโดยไม่ใส่ธาตุอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2557. อิทธิของการพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อราต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเมล็ด
พันธุ์ยาสูบ. วารสารแก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 1: 110-116.
ธรรมนูญ ฤทธิ์มณี. 2526. ยาสูบ. กรุงสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 202 หน้า.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. 239 หน้า.
ภาณี เตมีศักดิ์ กนิษฐา สังคะหะ นันทนา ชื่นอิ่ม บุญพล สายัมพล วุฒิชัย ทองดอนแอ และญาณี มั่นอ้น. 2539. การเคลือบและการพอก
เมล็ดพันธุ์พืช และการใช้ประโยชน์. รายงานโครงการวิจัย KIP 60.39. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและ
พัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 12 หน้า.
ภาณี ทองพำนัก วุฒิชัย ทองดอนแอ ประภาส ประเสริฐสูงเนิน กนิษฐา สังคะหะ และญาณี มั่นอ้น. 2540. การเคลือบและการพอกเมล็ด
พันธุ์พืชและการใช้ประโยชน์. รายงานผลการวิจัยประจำปี ทุนอุดหนุนวิจัยปี 2540. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 38 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2552. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 529 หน้า.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 2558. การเพาะกล้ายาสูบ. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=15&chap=3&page=t15-3-infodetail03.html. (20
เมษายน 2558).
สุริยา ตราชู และบุญมี ศิริ. 2557. ผลของการพอกเมล็ดร่วมกับแมกนีเซียมซัลเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ยาสูบ.
การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ณ โรงแรมแกรนด์ จอมเทียน พาเลซ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. ระหว่างวัน
ที่ 20-23 พฤษภาคม 2557: 1-8.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถิติการส่งออก-นำเข้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th (6 พฤษภาคม 2558).
Balamarugan, P., V. Balasubramani and K. Sundaralingam. 2003. Nutrient coating and foliar application on seed yield and
quality in sesame. ICAR Short Course on Seed Hardening and Pelleting Technologies for Rainfed/Garden Land
Ecosystems, May 27-June 5, Tamil Nadu Agricultural University, Coimbatore. 192 P.
Fortnum, B. A., F.P.F. Reay-Jones and D.T. Gooden. 2008. Tobacco pest management. Pee Dee Research and Education
Center. 2(1): 1-3.
ISTA. 2010. International Rules for Seed testing. Seed Science and technology. Glattbrugg, Switzerland.
Kiran, S.P., R. Paramesh, G.K. Nishanth, B.C. Channakeshava and K.B. Niranjana. 2014. Influence of seed pelleting on seed
quality of sunflower hybrid seed production of KBSH-53 (Helianthus annus L.). International Journal of Advances in
Pharmacy, Biology and Chemistry 3(2): 2277-4688.
Konstantinov, G. 1983. Transplantless growing of cv. Drouzhba tomatoes using pelleted seeds. Gradinarska I Lozarska
Nauka. 20 (4): 53-57.
Kumar, S., B. Gowda and S.P. Shekhar. 2008. Influence of storage containers and seed pelleting on seed quality in brinjal
(Solanum melongena L.) during storage. Journal of Horticultural Sciences 3(2): 146-149.
Peek D.R., T.D. Reed, C.S. Johnson, P.J. Semtner and C.A. Wilkinson. 2008. Burley Tobacco Production Guide. Virginia
Cooperative Extension, Virginia State University, Virginia. 104 P.
Shashibhaskar, M.S., S.N. Vasudevan, N. Bhushan and V. Ramanjinappa. 2011. Effect of seed pelleting treatment on growth,
seed yield and quality of tomato (Lycopersicum esculentum Mill.) cv.PKM-1. Plant Archives 11(1): 443-445.