ผลของการให้สารละลาย Salicylic acid ต่อผลผลิตและคุณภาพในขมิ้นชัน

Main Article Content

สมพร ช่วยแต้ม
นาตยา มนตรี

บทคัดย่อ

จากการศึกษาผลของการให้สารละลาย salicylic acid (SA) ต่อผลผลิตและคุณภาพในขมิ้นชัน โดยวางแผน
การทดลองแบบ 3x2 factorial in randomized complete block design (RCBD) ทำการทดลองโดยการฉีดพ่น
สารละลาย salicylic (SA) ความเข้มข้น 0 500 1,000 และ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ก่อนการเก็บเกี่ยวเป็นเวลา 30 และ
60 วัน เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 9 และ10 เดือน บดแง่งเป็นผงละเอียด จากนั้นสกัดสารสำคัญด้วย ethanol 95 เปอร์เซ็นต์
และวิเคราะห์ปริมาณสาร curcumin total phenolics และ total flavonoids พบว่า การฉีดพ่นสารละลาย SA ความ
เข้มข้นต่างๆ ในระยะเวลาก่อนการเก็บเกี่ยว 30 และ 60 วัน ไม่มีผลต่อผลผลิตและค่าสีของขมิ้นชัน โดยขมิ้นชันใน
ทุกระดับความเข้มข้นมีสีเหลืองส้ม ส่วนการสะสมสารสำคัญต่างๆ พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ
ยิ่ง โดยที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ก่อนการเก็บเกี่ยว 30 และ 60 วัน มีปริมาณสาร total phenolics
และ curcumin มากที่สุด 108.80 มิลลิกรัม GAE ต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ 143.04 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง
ตามลำดับ ในขณะที่การฉีดพ่นสารละลาย SA ความเข้มข้น 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ก่อนการเก็บเกี่ยว 60 วัน มีปริมาณ
สาร total flavonoids มากที่สุด 292.50 มิลลิกรัม QUE ต่อกรัมน้ำหนักแห้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เต็ม สมิตินันทน์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). กรุงเทพฯ: ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้สำนักวิชาการ
ป่าไม้ กรมป่าไม้
ยุวดี มานะเกษม และศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล. 2553. สารออกฤทธิ์สำคัญและผลของสารสำคัญในกวาวเครือขาว. รายงานการวิจัยสำนัก
วิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นาตยา มนตรี และมานิตา คำแป้น. 2560. ผลของสารละลายกรดซาลิซิลิกต่อการเจริญเติบโต และการสะสมสาร stemona alkaloids
ในรากหนอนตายหยากในระยะก่อนการเก็บเกี่ยว. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(2) : 129 – 136.
บหุ รนั พนั ธ์สุ วรรค์. 2556. อนมุ ูลอสิ ระสารต้านอนมุ ลู อิสระ และการวเิ คราะห์ฤทธติ์ ้านอนมุ ูลอิสระ. วารสารวทิ ยาศาสตรkและเทคโนโลย.ี
21(3): 275-286.
พิรดา สุมานนท์ และวิษุวัต สงนวล. 2554. ผลกระทบของกรดซาลิซิลิกต่อปริมาณสารทุติยภูมิในพืชวงศ์ขิงสองชนิดนิทรรศการโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ครั้งที่12 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Baskar, R., S. Shrisakthi, B. Sathyapriya, R. Sathyapriya, R. Nithya and P. Poongodi. 2011.Antioxidants
Potential of peel extracts of banana varieties (Musa sapientum). Food and Nutrition Sciences 2:1128 -1133.
Singh, G. and M. Kaur. (1980). Effects of growth regulators on podding and yield of mungbean (Vigna radiata (L.) Wilczek).
Indian J Plant Physiol. 23: 366-370.
Shian, T., A. Abdullah, K. H. Musa, M.Y. Maskat and M. A. Ghani. 2012. Antioxidant properties of three banana cultivars
(Musa acuminata Berangan’, ‘Mas’ and ‘Raja’) extracts. Sains Malaysiana. 41: 319 - 324.
Sun, B., H. Yan, F. Zhang and Q. Wang. 2012. Effects of Plant Hormones on Main Health-Promoting Compounds and Antioxidant
Capacity of Chinese kale, Food Research International, 48: 359-366.
Wei, Y., Z. Liu, Y. Su, D. Liu and X. Ye. 2011. Effect of salicylic acid treatment on postharvest quality, antioxidant activities
and free polyamines of asparagus. J. Food Sci. 76(2): 126-132.
Zhang, Y., K. Chen, S. Zhang and I. Ferguson. 2003. The role of salicylic acid in postharvest ripening of kiwifruit. Postharvest
Biol. Technol. 28: 67-74.
Zhao, J., T. Lawrence, C. Davis and R. Verpoorte. 2005. Elicitor signal transduction leading to production of plant secondary
metabolites. Biotechnology Advances. 23: 283–333.