ผลของการพ่นโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) ทางใบต่อปริมาณธาตุอาหาร การติดผล และคุณภาพผลของส้มโอ (Citrus grandis Obs.)

Main Article Content

พงษ์นาถ นาถวรานันต์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการพ่นสารโพแทสเซียมไนเทรต (KNO3) ทางใบต่อปริมาณธาตุอาหาร การติดผล
และคุณภาพผลของส้มโอ ทำการศึกษาในส้มโอพันธุ์ทองดี พื้นที่ปลูกอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยพ่นสาร
KNO3 ความเข้มข้น 0 (control), 2, 4 และ 6 % แก่ใบและช่อดอกส้มโอในกิ่งที่ทำการคัดเลือกไว้จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
ระยะหลังดอกบาน ผลมีอายุ 1 เดือน และผลมีอายุ 2 เดือน หลังการติดผล วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอค
สมบูรณ์ (Randomized complete block design, RCB) พบว่า การพ่นสาร KNO3 ไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การติดผล
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผล คุณภาพผล ความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรทสะสมในใบ และความเข้มข้นของธาตุ
ฟอสฟอรัสในใบสม้ โอ แต่การพ่นสาร KNO3 สามารถเพิ่ม ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมในใบอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ .05) โดยเริ่มพบความแตกต่างของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมในใบส้มโอเมื่อผลมีอายุ
ประมาณ 3 เดือนหลังติดผล โดยการใช้สาร KNO3 ความเข้มข้น 6 % มีผลให้มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน
และโพแทสเซียมสูงที่สุดคือ 3.55 และ 3.38 % ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ KNO3 ความเข้มข้น 4 % (3.25 และ 2.89 %)
และความเข้มข้น 2 % (3.20 และ 2.62 % ) และการไม่ใช้สาร (control) มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน
และโพแทสเซียมต่ำที่สุด (2.75 และ 2.35 %) ขณะที่ใบส้มโอที่เก็บเมื่อผลมีอายุ 7 เดือนหลังการติดผล พบว่า
การใช้สาร KNO3 ความเข้มข้น 6 % มีผลให้มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงที่สุดคือ 3.45 และ
3.85 % ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้สาร KNO3 ความเข้มข้น 4% (3.25 และ 3.52 %) และความเข้มข้น
2% (2.88 และ 3.30 %) และการไม่ใช้สาร (control) มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมต่ำที่สุด
(2.72 และ 2.68 %)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานวิจัยเคมีดิน. 2544. เอกสารวิชาการคู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. กองปฐพีวิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 164 น.
ทัศนีย์ อัตตะนันท์และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 108 น.
พงษ์นาถ นาถวรานันต์. 2553. วิธีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างใบส้มโอพันธุ์ทองดีสำหรับประเมินสถานะธาตุอาหารพืช. ว.วิทย.กษ.41
(3): 373-382.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ส้มโอ. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online.
แหล่งที่มา: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/fruit2/pomelo.pdf. 25 มิถุนายน 2561.
ส?ำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. 2560. ข้อมูลการส่งออก ผลไม้สด (รายชนิด) ไปต่างประเทศ ปี 2559.
แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/ard/FileUpload/export/5.4.2/FRUIT59.pdf. 23 มิถุนายน 2561.
Abd El-Fatah, D.M., S.A. Mohamed and O.M. Ismali. 2008. Effect of biostimulants, ethrel, boron and potassium nutrient
on fruit quality of “Costata” persimmon. Aus. J. Basic and Appli. Sci. 2(4): 1432-1437.
AOAC. 2007. Official methods of analysis, 18th edition. AOAC International, Gaithersburg, MD.
Boman, B.J. 2001. Foliar nutrient sprays influence yield and size of ‘valencia’ orange. Proc. Fla. State Hort. Soc. 114: 83-88.
Boman, B.J. 2002. KNO3 foliar application to ‘sunburst’ tangerine. Proc. Fla. State Hort. Soc. 115: 6-9.
Brosh, P., Y. Oren and M. Shani. 1975. Pre-harvest autumn drop of grapefruit in central area. Alon ha Notea 29: 506-509.
California Fertilizer Association. 1998. Western Fertilizer Handbook, second horticultural edition, Sacramento, CA. 362 p.
Chapman, H.D. 1968. The mineral nutrition of citrus. pp. 127-289. In W. Reuther, ed. The citrus industry vol II Revised edition,
Univeristy of California Press. Berkeley. CA, USA.
Davies, F.S. and L. G. Albrigo. 1994. Citrus. CAB International. Wallingford, UK. 254p.
El-otmani, M., A. Ait-oubahou, F. El-hassainate and A. Kaanane. 2004. Effect of gibberellic acid, urea and KNO3, on yield
and on composition and nutritional quality of Clementine Mandarin fruit juice. Acta Hort. 632: 149-157.
Erner, Y., Y. Kaplan, B. Artzi and M. Hamou. 1993. Increasing citrus fruit size using Auxins and potassium. Acta Hort. 329:
112-119.
Lenz, F. 2000. Effects of fruit load on the nutrient uptake and distribution in citrus trees. Acta Hort. 531: 115-120.
Malavolta, E. 1992. Leaf analysis in Brazil-present and perspectives. Proc. Soc. Citri. 2: 570-574.
Sanyal, D., B. Biswas and S. K. Mitra. 1996. Studies on irregular bearing of mango (Mangifera indica L.). South Ind. Hort. J.
44 (12): 1-4.
Soing, P. 1999. Fertilisation des vergers: Environnement et qualite. CTIFL, Paris. 86 p.
Thirugnanavel, A., R. Amutha, W. Baby Rani, K. Indira, P. Mareeswari, S. Muthulaksmi and S. Parthiban. 2007. Studies on
Regulation of Flowering in Acid Lime (Citrus aurantifolia swingle.). Res. J. Agric. Biol. Sci. 3(4): 239-241.
Vijay, R.P.S. Dalal, B.S. Beniwal and H. Saini. 2017. Effect of foliar application of potassium and its spray schedule on yield
and yield parameters of sweet orange (Citrus sinensis Osbeck) cv. Jaffa. J. Appl. Nat. Sci. 9(2): 786-790