มวลชีวภาพเหนือดิน และปริมาณธาตุอาหารในไม้อะเคเซียลูกผสมสายต้นต่างๆ ที่ปลูกในดินเสื่อมโทรม จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ฤกษ์พงษ์ โคตรมา
รุ่งเรือง พูลศิริ
มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์

บทคัดย่อ

มวลชีวภาพเหนือดิน และปริมาณธาตุอาหารในไม้อะเคเซียลูกผสมสายต้นต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่สวนป่าดอน
แสลบ-เลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (randomized
complete block design; RCBD) ในแปลงปลูกไม้อะเคเซียลูกผสม อายุ 4 ปี ที่มีระยะปลูก 3x3 เมตร จำนวน 4 บล็อก
บล็อกละ 6 สายต้น ในแต่ละสายต้นปลูกจำนวน 24 ต้น ได้แก่ สายต้น 1, 3, 5, 14, 18 และ 19 ผลการศึกษาพบว่า
การเติบโตทางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางชิดดิน และเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูง 1.30 เมตรเหนือดิน (DBH) มี
มากที่สุดในสายต้น 3 และการเติบโตทางความสูงมากที่สุดในสายต้น 18 ส่วนอัตราการรอดตายมีแนวโน้มใกล้เคียง
กัน โดยสายต้น 1 อัตราการรอดตายสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 87.50 และสายต้น 3 มีอัตราการรอดตายต่ำสุด คือ ร้อยละ
41.67 ขณะที่มวลชีวภาพเหนือดิน สายต้น 3 มีค่ามากที่สุด (25.14 ตันต่อเฮกแตร์) รองลงมาคือ สายต้น 18, 5, 19,
14 และ 1 มีค่าน้อยที่สุด (18.57 ตันต่อเฮกแตร์) นอกจากนี้ความเข้มข้นและการสะสมธาตุอาหารของแต่ละสายต้น
ส่วนใหญ่ พบว่า Ca > N > K > P > Mg ยกเว้น สายต้น 1 และ 14 ที่พบว่า N > Ca > K > P > Mg อย่างไรก็ตาม
ความเข้มข้นของธาตุอาหารในส่วนใบมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ กิ่ง และลำต้น ตามลำดับ ขณะที่การสะสมของ P, K
และ Ca ในส่วนลำต้นมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ กิ่ง และใบ ตามลำดับ ส่วนการสะสมของ N และ Mg ในส่วนใบมีค่า
สูงสุด รองลงมาคือ ลำต้น และกิ่ง ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2540. การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2558. สถิติปริมาณฝน ณ สถานีอุตุนิยมวิทยา พ.ศ. 2545-2557. สำนัก
สถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. ตำบลทุ่งกระบ่ำอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. แหล่งที่มา:
http://oss101.ldd.go.th/web_thaisoilinf/central/Kanchanaburi/kbr_map/kbr_map62/7110/711006_home.html#,
8 มิถุนายน 2558.
จิรนิติ เชิงสะอาด. 2558. การเติบโต มวลชีวภาพ และปริมาณสารอาหารของสายต้นอะเคเซียลูกผสมในจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฎิบัติการ การวิเคราะห์ดินและพืช. พิมพ์ครั้งที่ 7.
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 108 น.
ปริชาติ โรจนเมธากุล. 2541. ความผันแปรของการเจริญเติบโต ปริมาณไนโตรเจนในใบ และ Stomatal Conductance ของไม้กระถิน
ณรงค์จากต่างถิ่นกำเนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์ เกษม หฤทัยธนาสันติ์ เอกพงษ์ ธนะวัติ ศักดา พรมเลิศ และ เอกชัย บ่ายแสงจันทร์. 2553. ศักยภาพของ
กระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส กระถินเทพา และกระถินเทพณรงค์ ในการปลูกเป็นสวนป่าพืชพลังงาน. รายงานการประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 579-586.
วิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง สุรชัย ปราณศิลป์ พรศักดิ์ มีแก้ว และ คงศักดิ์ ภิญโญภูษาฤกษ์. 2543. ลักษณะสายพันธุ์รุ่นที่สองของการปรับปรุง
พันธุ์ไม้กระถินณรงค์. วารสารวิชาการป่าไม้ 2(1): 1-15.
ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน. 2553. กระถินเทพา. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 16 น.
สำนักงานเกษตรอำเภอเลาขวัญ. 2550. บรรยายสรุปอำเภอ. แหล่งที่มา: http://laokhwan.kanchanaburi.doae.go.th/pages/
banyay.html, 7 ตุลาคม 2557.
. ม.ป.ป. ปริมาณน้ำฝนรายวัน ปี 2553-2556. แหล่งที่มา: http://laokhwan.kanchanaburi.doae.go.th/pdf%2057/fonray%20
56.pdf, 12 สิงหาคม 2558.
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. 2545. บรรยายสรุปอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. จังหวัดกาญจนบุรี.
Atipanumpai, L. 1989. Acacia mangium: Studies on the genetic variation in ecological and physiological characteristics of
a fast-growing plantation tree species. Acta Forestalia Fennica 206: 1-92.
Baker, D.D. 1990. Actinomycorrhizal plants: trees and shrubs for forestry and agroforestry, pp. 328-334. In J. Burley, ed.
Proceedings of the XIX World Congress of IUFRO, Division 2. August 5-11, 1990. Montreal.
Chittachumnonk, P. and S. Sirilak. 1991. Performance of Acacia species in Thailand, pp. 153-158. In J.W. Turnbull, ed.
Advances in Tropical Acacia Research. Proceedings of an International workshop held in Bangkok, Thailand. 11-15
February 1991. ACIAR Proceedings No. 35. 234p.
Curlin, J.W. 1970. Nutrient as a factor in site productivity and forest fertilization, pp. 313-326. In C.T. Youngberg, and C.B.
Davey, eds. Tree Growth and Forest Soils. Proc. of the Third North Amer. For. Soil Conference. Oregon State University
Press, Oregon.
Jackson, M.L. 1958. Soil Chemical Analysis. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey. 521p.
Kira, T. and T. Shidei. 1967. Primary production and turnover of organic matter in difference forest ecosystems of the Western
Pacific. Jap. J. Ecol. 17: 70-87.
Kumar, R., K.K. Pandey, N. Chandrashekar and S. Mohan. 2011. Study of age and height wise variability on calorific value
and other fuel properties of Eucalyptus Hybrid, Acacia auriculiformis and Casuarina equisetifolia. Biomass and Bioenergy
35: 1339-1344.
Satoo, T. and M. Senda. 1958. Materials for the studies of growth in stand. IV. Amount of leaves and production of wood in
young plantation of Chameacyparis obtusa. Bull. Tokyo Univ. For. 54: 7-100.