ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วย Rhodamine B ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเรืองแสง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสงเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างเอกลักษณ์ และป้องกันการปลอม
แปลงให้กับเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าสูง การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลของการเคลือบสารเรืองแสง
rhodamine B บนเมล็ดพันธุ์ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามะเขือเทศ ทำการทดลอง
ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และตรวจการเรืองแสง
ของเมล็ดพันธุ์ ณ ห้อง ปฏิบัติการกลาง คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมสูตรสารเคลือบเมล็ดพันธุ์โดย
ใช้ Polyvinylpyrrolidone (K30) ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นพอลิเมอร์ จากนั้นเติม rhodamine B ความเข้มข้น
แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ อัตรา 0.125, 0.150, 0.175 และ 0.200 เปอร์เซ็นต์ ต่อสารละลายพอลิเมอร์ 100 มิลลิลิตร
จากนั้นนำสารเคลือบมาเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วยเครื่องเคลือบระบบจานหมุน รุ่น SKK 10 หลังการเคลือบ
แบ่งเมล็ดพันธุ์ออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 นำไปตรวจสอบการเรืองแสงบนผิวของเมล็ดพันธุ์ และต้นกล้ามะเขือเทศ
ที่อายุ 14 วันหลังปลูก โดยใช้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลต Model SPECTRA-300 ที่ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
และ เครื่อง Spectrophotometer ส่วนที่ 2 นำไปตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ผลการทดสอบด้วยเครื่องฉายแสง
อัลตราไวโอเลตพบว่า เมล็ดที่เคลือบด้วย rhodamine B มีการเรืองแสงเป็นสีส้มบนผิวของเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามะเขือ
เทศที่อายุ 14 วัน นอกจากนี้ พบว่าสาร rhodamine B ที่ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์ไม่มีผลต่อความงอกและความแข็งแรง
ของเมล็ดพันธุ์ ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง ผลจากการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า rhodamine
B สามารถใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศได้ และยังสามารถตรวจพบการเรือง
แสงของ rhodamine B ในระยะต้นกล้าได้อีกด้วย
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
พันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 1.
บุญมี ศิริ และพรทิวา สิมมะคร. 2556. ศึกษาการสร้างสารเคลือบร่วมกับสารเรืองแสงต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. การประชุมวิชาการ
เมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10 หน้า 111-117 วันที่ 20-24 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรม Hansa JB Hotel, จังหวัดสงขลา.
พจนา สีขาว, พัฒนา ธีรพรชัยสิทธิ์ และบุญมี ศิริ. 255. การเคลือบเมล็ดด้วยไรโบฟลาวินต่อเอกลักษณ์และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา
ลูกผสม. การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10 หน้า 46-54.
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย. 2555. ชูยุทธศาสตร์บูมการค้าอุตสาหรรมเมล็ดพันธุ์ปี 2554 สู่ฮักเมล็ดพันธุ์เอเชีย. สืบค้นข้อมูลเมื่อ
4 มกราคม 2557 จาก http://www.thannews.th.com/index.phpoption=com_content&view=article&id=51753:2554-&
catid=171:pr&Itemid=512.
Almeida, C de., Rocha, C.D.R. and Razera, L.F. 2005. Polymer coating, germination and vigor of broccoli seed. [Online].
Available at: http://www.scielo.br/scielo.php. cited Dec 15,2005.
Cai, Y.L. 2009. Several new anti-counterfeiting technologies for packaging. Shanghai Packaging 2: 40–41.
Gao, H. and Zhou, R. 2005. The development trend of seed anti-counterfeiting packaging. Seed World 9: 6–7.
Guan, Y., Hu, J., Li, Y., Ma, W. and Zheng, Y. 2011. A new anti-counterfeiting method: fluorescent labeling by safranine T
in tobacco seed. Acta Phys. Plant 33: 1271–1276.
Guan, Y., Wang, J., Hu, J., Li, Y., Ma, W., Hu, W. and Zhu, S. 2013. Pathway to keep seedsecurity: the application of fluorescent
to identify true and fake pelleted seed in tobacco. Ind. Crop Prod. 45, 367–372.
Hapner, S.J.and Hapner, K.D. 1978. Rhosamine immune his to fluorescence applied to plant tissue. J Histochem Cytochem
26:478-482.
Remya, N.A.C., Poulose Y.N., Yasuhiko, Y.T.M.D. and Sakthi, K. 2011. Uptake of FITC labeled silica nanoparticles and quantum
dots by rice seedlings: Effects on seed germination and their potential as biolabels for plants J. Fluoresc. 21: 2057–2068.
Sellei, J. 194. Further growth experiments with fluorescent dyes. Growth 5: 27–52.
Shi, Y.X., Hareland, G.A. and Appolonia, B.L.D. 2001. The use of fluorescent dye to study the movement of water into wheat
kernels. J Zhengzhou Institute of Technol 22:17–20
Tian, Y., Wang, Q., Hu, J., Wang J. and Guan Y. 2013. Application of fluorescent dyes for falsification-preventing of pea
seeds (Pisum sativum L). Australian Journal of Crop Science 7(1): 147-151.
Tian Y.B., Zhan, L., Fei, H., Yajing, G., Shuijin, Z. and Jin, H. (2014) A novel anti-counterfeiting method: Application and
decompositionof RB for broad bean seeds (Vicia faba L.) Industrial Crops and Products 61: 278–283
Wang, Z.H. 2009. Anti-counterfeiting technologies grow by leaps and bounds in the market. Print Today 2: 76–79.
Waser, N.M. and Price, M.V.1982. A comparison of pollen and fluorescent dye carryover by natural pollinators of Ipomopsis
aggregata (Polemoniaceae). Ecology 63: 1168–1172
Wu, F.S. 1987. Localization of mitochondria in plant cells by vital staining with rhodamine 123. Planta 171: 346–357.
Wu, P., Song, C.H.and Zheng, X.Y. 2007. An advanced seed anti-counterfeiting technology and its application prospects.
Vegetables 11: 34–35.
Zhang, YM., Sun, WY. and Xu, M. 2007. The application of anticounterfeiting packaging to seed industry. China Seed Ind