ความต้องการความรู้การผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร พื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นฤมล แน่นหนา
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
พิชัย ทองดีเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ของเกษตรกร 3) การเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกร 4) เพื่อศึกษาความต้องการความรู้การผลิตข้าวหอม
มะลิตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร พื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตและพัฒนาข้าวหอมมะลิมาตรฐานในพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย
จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ผลการวิจัย พบว่า
เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.67 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือน
จำนวน 5-6 คน มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 14.93 ปี มีพื้นที่ในการปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 25.75
ไร่/ครัวเรือน ใช้แรงงานระหว่าง 6-32 คน โดยมีรายจ่ายจากการปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 2,106.65 บาท/ไร่/ฤดู รายได้
จากการปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 4,247.94 บาท/ไร่/ฤดู โดยการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกรผ่านสื่อ
บุคคลพบว่าเกษตรกรเปิดรับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมมากที่สุด ร้อยละ 57.5 รองลงมา คือ ผู้นำชุมชน
ร้อยละ 34.7 สื่อมวลชนเปิดรับข่าวสารจากโทรทัศน์ ร้อยละ 60.6 รองลงมา คือเอกสารวิชาการ ร้อยละ 18.1 และสื่อ
กิจกรรมเปิดรับข่าวสารจากการจัดประชุม ร้อยละ 37.8 รองลงมา คือฝึกอบรม ร้อยละ 29.0 และภาพรวมความต้อง
การความรู้ในการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย
ความต้องการความรู้ ด้านแหล่งน้ำด้านพื้นที่ปลูก ด้านการใชวั้ตถุอันตราย ด้านการจัดการคุณภาพก่อนการเก็บเกี่ยว
ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ด้านการขนย้าย การเก็บรักษาและการรวบรวมข้าวเปลือกอยู่ใน
ระดับปานกลาง และด้านการบันทึก การจัดเก็บข้อมูลอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2554. การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา.
ประถม ทองเซอร์. 2553. ความต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักตามการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรศูนย์พัฒนาโครงการ
หลวงทุ่งเริง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
นิพนธ์ พัวพงศกร, บุญจิต ฐิตาภิวัฒนกุล, ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์, อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ, และวารีรัตน์ เพชรสีม่วง. 2556. โครงการ
อุปสงค์บริโภคข้าวของไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2548. สถิติการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อปี 2556. [Online]. Available from
http://www.oae.go.th/download/prcai/DryCrop/majorrice.pdf /. 1 พฤศจิกายน 2557.
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. 2553. ข้อมูลพันธุ์ข้าว กรมการข้าว องค์ความรู้เรื่องข้าว. (Online). Available from http://brrd.in.th/.
1 กุมภาพันธ์ 2558.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. ข้อมูลสถิติข้าว. [Online]. Available from http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/
export.php/. 30 เมษายน 2558.
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. 2557ก. บรรยายสรุปจังหวัดนครราชสีมา. [Online]. Available from h t t p : / / 1 0 3 . 2 8 . 1 0 1 . 1 0 /
briefprovince/filedoc/30000000.pdf/. 10 เมษายน 2558.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. 2557ข. การจัดการพื้นที่ปลูกข้าวตามความเหมาะสมของพื้นที่ (Zoning ข้าว). [Online]. Available
from http://r03.ldd.go.th/nma01/web/doc/Zonning.pdf/ 10 เมษายน 2558.
โครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย. กิจกรรมผลิตและพัฒนาข้าวหอมมะลิมาตรฐาน.
ประจำปีงบประมาณ ปี 2558.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. 2558. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. [Online].
Available from http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/. 24 เมษายน 2558.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2557. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11.
(พ.ศ. 2555 – 2559).[Online]. Available from http://nesdb.go.th/. 1 เมษายน 2558.