การเปรียบเทียบผลผลิตในหลายพื้นที่ของสายพันธุ์ข้าวเหนียวต้นเตี้ยและไม่ไวต่อช่วงแสง ในฤดูนาปรังปี พ.ศ. 2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรของสายพันธข้าวเหนียวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงที่ได้จาก
การปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จำนวน 3 สายพันธุ์ ร่วมกับพันธุ์
เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ คือ สันป่าตอง 1 และ กข14 ทำการทดสอบใน 2 พื้นที่ คือ อำเภอแม่สาย และอำเภอพาน จังหวัด
เชียงราย ใช้แผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (randomized complete block design) จำนวน 4 ซ้ำโดยทำการ
ตกกล้าวันที่ 11 มกราคม 2557 และปักดำที่อำเภอแม่สาย และอำเภอพานวันที่ 15 และ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ตาม
ลำดับ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวม (combined analysis of variance) พบว่าสภาพแวดล้อม (environment)
มีอิทธิพลต่อผลผลิต อายุวันออกดอก ความสูง ความยาว และความหนาเมล็ดข้าวกล้อง แต่ไม่มีผลต่อจำนวนรวง/กอ
และความกว้างเมล็ดข้าวกล้อง และพบว่าพันธุกรรม (genotype) หรือพันธุ์มีผลต่อผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร
ในทุกลักษณะ (p<0.01) นอกจากนี้พบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม (G x E interaction) มี
อิทธิพลต่ออายุวันออกดอก ความกว้าง และความหนาเมล็ดข้าวกล้อง แต่ไม่มีผลต่อผลผลิต ความสูง จำนวนรวง/กอ
และความยาวเมล็ดข้าวกล้อง ทั้งนี้พบว่าข้าวเหนียวทั้ง 5 สายพันธุ์ให้ผลผลิตที่อำเภอแม่สายสูงกว่าที่อำเภอพาน คือ
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,084 และ 780 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และพบว่าข้าวเหนียวสายพันธุ์ MJUG04002-927 ให้
ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1,018 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างจากพันธุ์สันป่าตอง 1 และ กข14 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย
1,014 และ 962 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
content.php&id=2.htm, 15 มีนาคม 2558.
กรมการข้าว. 2558 องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งที่มา (Available Source) : http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php.htm,
10 กันยายน 2558.
กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2558 พันธุ์ข้าวรับรอง ปี 2558 (7พันธุ์) แหล่งที่มา (Available Source) : http://www.brrd.in.th/main/index.
php?option=com_content&view=article&id=1412:-2558-7&catid=70:certification&Itemid=65, 10 กันยายน 2558.
ประวิตร พุทธานนท์. 2548. ไบโอเมตริกส์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วราภรณ์ แสงทอง, ประวิตร พุทธานนท์, ยุพเยาว์ คบพิมาย, ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์ และ ศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์. 2552. รายงานผลการ
วิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้เรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ให้ต้นเตี้ย โดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุล
เครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก. 75 น.
วราภรณ์ แสงทอง, ประวิตร พุทธานนท และ สุภักตร์ ปัญญา. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าด้วยวิธีผสมกลับโดย
ใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย แม่โจ้. 55 น.
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2551. การส่งออกข้าว. แหล่งที่มา (Available Source) : http://www.rice exporter.or.th/production.htm,
30 สิงหาคม 2558.
สมใจ สาลีโท ณราวุฒิ ปิยโชติ สกุลชัย อัฒพล สุวรรณวงศ์ สุขวิทยา ภาโสภะ ชนะ ศรีสมภาร รณชัย ช่างศรี วีระศักดิ์ หอมสมบัติ
ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ และ เอกสิทธิ์ สกุลคู. 2552. เสถียรภาพผลผลิตของข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้. 11 น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ รายจังหวัดนาปรัง-นาปี 2555. สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.