การใช้นํ้ามันกานพลูในการควบคุมระดับการสลบเพื่อการขนส่งลูกปลาดุกแอฟริกา

Main Article Content

ดุสิต เอื้ออำนวย
อารีวรรณ สังข์เพ็ชร
อัจฉริยา สันติประเสริฐ
รุ่งตะวัน ยมหล้า

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้สารละลายน้ำมันกานพลูเพื่อควบคุมการสลบในการขนส่งลูกปลาดุกแอฟริกา (Clarias
gariepinus) (น้ำหนักเฉลี่ย 2.85±0.29 กรัม) จากการทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันกานพลูโดยใช้วิธีชีววิเคราะห์
แบบน้ำนิ่ง พบว่าค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน LC50 ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง (24-hr LC50) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95
เปอร์เซ็นต์ มีค่าเท่ากับ 17.37 (15.12-19.61) มิลลิกรัมต่อลิตร และความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ควบคุมให้ลูกปลาดุก
แอฟริกาสลบอยู่ในระยะแรก (sedation) มีค่าความเข้มข้นเท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งลูกปลาดุกจะแสดงอาการ
สลบระยะแรกภายในเวลา 37.44±3.7 นาที และมีระยะเวลาในการฟื้นตัวจากการสลบภายในเวลา 1.27±0.43 นาที
ตลอดทดลองระยะเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า ค่าอุณหภูมิและค่าความเป็นกรดเป็นด่างของก่อนและหลังในแต่ละการ
ทดลองมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ โดยมีค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 22 ถึง 23 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างอยู่ในช่วง 7.12 ถึง 7.16 และเมื่อนำลูกปลาดุกมาจำลองการขนส่ง เป็นเวลา 16 ชั่วโมง พบว่าอัตรารอดในกลุ่ม
ควบคุม และกลุ่มที่ใช้สารละลายน้ำมันกานพลูความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ใน
ขณะที่ปริมาณแอมโมเนียในกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มที่ใช้น้ำมันกานพลู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากข้อมูลขั้นต้น
สามารถแสดงถึงความเป็นไปได้ในการนำน้ำมันกานพลูที่ระดับความเข้มข้นดังกล่าวมาใช้เป็นยาสลบสำหรับการ
ควบคุมระดับการสลบในลูกปลาดุกแอฟริกาเพื่อสวัสดิภาพของสัตว์ที่ดี รวมทั้งสามารถช่วยลดการขับถ่ายของเสียใน
รูปของแอมโมเนียของลูกปลาในระหว่างการขนส่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. มปป. การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย. เอกสารและคำแนะนำ. กรุงเทพฯ: กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ฝ่ายเผยแพร่ กองส่งเสริมการ
ประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดนัย สมใจ อรอุมา พาลเสือ และสมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ. 2551. ความเป็นพิษและประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูในการสลบปลา
กัดจีน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม: 31-38.
ประวิทย์ สุรณีรนาถ 2522. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. คณะประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพฯ. 144 น.
ส่งศรี มหาสวัสดิ์. 2532. การใช้เกลือแกงและยาสลบ MS-222 ในการขนส่งปลากัดขนาดวัยรุ่น. วารสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์
23: 349-357.
AHPA. (1995). Standard method for the examination of water and wastewater 19th ed. American Public Health Association,
Washington, D.C.
Akar, A. M. A. 2011. Effects of clove oil on the response of blue tilapia (Oreochromis aureus) by transportation stress.
Journal of the Arabian Aquaculture Society 6(1): 77-86.
Akbari, S., M.J. Khoshnod, H. Rajaian and M. Afsharnasab. 2010. The use of eugenol as an anesthetic in transportation of
with Indian shrimp (Fenneropenaeus indicus) post larvae. Turkish Journal of Fisheries and Aquatic Sciences10: 423-429.
Hajek, G. J., B. Klyszejko and R. Dziaman. 2006. The anesthetic effect of clove oil on common carp, Cyprinus carpio L. Acta
Ichthyologica et Piscatoria 36(2): 93-97.
Hamackova, J., J. Kouril, P. Kozak and Z. Stupka. 2006. Clove oil as an anesthetic for different freshwater fish species.
Bulgarian Journal of Agricultural Science 12: 185-194.
Hermanini and B. Tangendaja. 1988. Analisis mutu minyak nilam dan minyak cengkeh secara kromatogrfi. Media Penelitian
Sukamandi, 6: 57-65 (Indonesian).
Iversen, M., B. Finstad, R. S. McKinley and R. A. Eliassen. 2003. The efficacy of metomidate, clove oil, Aqui-S™ and
Benzoak® as anaesthetics in Atlantic salmon (Salmo salar L.) smolts, and their potential stress-reducing capacity.
Aquaculture 221 (1-4): 549–566.
Kamble, A. D., V. P. Saini, M. L. Ojha. 2014. The efficacy of clove oil as anesthetic in common carp (Cyprinus carpio) and
its potential metabolism reducing capacity. International Journal of Fauna and Biological Studies 1 (6): 1-6.
LitchfieldI J. T. J. R. and F. Wilcoxon. 1949. A simplified method of evaluating dose-effect experiments. The American
Society for Pharmacology and Experimental Therapeutics 96 (2): 99-113.
Ögretmen, F. and K. Gökçek. 2013. Comparative efficacy of three anesthetic agents on juvenile african catfish, Clarias
gariepinus (Burchell,1822). Turkish Journal of Fisheries and Aquatic Sciences13: 51-56.
Pattanasiri, T., P. Suppakul and W. Tapahudee. (n.d.). Antianxiety activity of clove oil and its principal constituent, and
possible application in active packaging for transportation of Siamese fighting fish. Kasetsart University, Bangkok.
Perdikaris, C., C. Nathanailides, E. Gouva, U.U. Gabriel, K. Bitchava, F. Athanasopoulou, A. Paschou and I. Paschos. 2010.
Size-relative effectiveness of clove oil as an anaesthetic for rainbow trout (Oncorhynchus mykiss Walbaum, 1792) and
goldfish (Carassius auratus Linnaeus, 1758). ACTA VET. BRNO 79: 481–490.
Raymond, M. 1987. Probit analysis program. Institute des Sciences de L’ Evolution. Montpellier Cedex, France.
Stoskopf, M. 1993. Anaesthesia. In: Aquaculture for Veterinarians Fish Husbandry and Medicine. 1st ed., edited by L. Brown.
Pergamon press, Exteter : UK. p. 161 - 168.
Theinpoint, D. and C. J. E. Niemegeers. 1965. 7464- a new potenet anesthetics in fish. International Zoo. Year Book, 5: 202-205
Velisek, J., Z. Svobodova, V. Piackova, L. Groch and L. Nepejchalava. 2005. Effects of clove oil an aesthesia on common
carp (Cyprinus carpio L.). Vet. Med. – Czech 50: 269–275.
Weber, R. A., J. B. Peleteiro, L.O. García Martín and M. Aldegunde. 2009. The efficacy of 2-phenoxyethanol, metomidate,
clove oil and MS-222 as anaesthetic agents in the Senegalese sole (Solea senegalensis Kaup 1858). Aquaculture 288:
147-150.