การผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula rubra MJU11 บนฝุ่นข้าวโพด แบบการหมักแห้ง

Main Article Content

ณัฐพร จันทร์ฉาย
ศันศนีย์ บุญเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula rubra MJU11 บนฝุ่นข้าวโพด
เพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสัตว์เพื่อให้ได้การเจริญเติบโตที่ดี เพิ่มผลผลิตและลดปริมาณ
ของเสียจากทางเกษตรและลดปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ฝุ่นข้าวโพดของเกษตรกร โดยสภาวะเริ่มต้น
ที่ใช้ในการหมักที่ ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเท่ากับ 7 พบ
ว่าการเจริญและผลได้ปริมาณแคโรทีนอยด์สูงสุดในชั่วโมงที่ 48 ของการหมัก โดยมีผลได้ปริมาณเซลล์เท่ากับ 17.98
กรัมต่อกรัมฝุ่นข้าวโพด และมีผลได้ปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ 22.4 ไมโครกรัมต่อกรัมฝุ่นข้าวโพดแห้ง และจากการ
ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญ และการผลิตแคโรทีนอยด์ โดยการออกแบบการทดสอบแบบ Central
Composite Design (CCD) พบว่าสภาวะที่เหมาะสม คือ ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 ความชื้นเริ่มต้น 50
เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตเจนเท่ากับ 8 ต่อ 1 โดยมีการเจริญเท่ากับ 82.09 กรัมต่อกรัมฝุ่นข้าวโพด
และผลได้ปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ 72.01 ไมโครกรัมต่อกรัมฝุ่นข้าวโพดแห้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา คลังทรัพย์. (2551). สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแคโรทีนอยด์โดยยีสต์ Rhodotorula rubra. ปัญหาพิเศษบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย
แม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. 56 หน้า.
พจนีย์ มณีโชติ และดวงพร คันธโชติ. (2529). การเจริญของยีสต์ Rhodotorula rubra TISTR 5127 ในน้ำข้าวฟ่างหวานเพื่อเป็นแหล่ง
อาหารโปรตีน และแคโรทีนอยด์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
มนัสนันท์ โรจนกมลสันต์, ชาลี มะลิซ้อน และ วรพจน์ สุนทรสุข. (2548). การผลิตแคโรทีนอยด์จากยีสต์ Rhodotorula glutinis DM28
บนรำข้าว. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
วรรณภา ทาบโลกา. (2529). ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการผลิตสีของโมแนสคัส ที่เจริญบนอาหารแป้งมันสำปะหลังในสภาพหมักเปียก.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สาวิตรี ลิ่มทอง. (2549). ยีสต์ : ความหลากหลาย และเทคโนโลยีชีวภาพ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุมารี สุขเถียร์. (2552). สภาวะที่เหมาะสมบางประการสำหรับการผลิตแคโรทีนอยด์จากเชื้อ Rhodotorula rubra. ปัญหาพิเศษบัณฑิต
ศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. 68 หน้า.
สุรีลักษณ์ รอดทอง. (2531). การผลิตเบต้า-แคโรทีน โดยยีสต์ (Rhodotorula pallida). [Online]. แหล่งที่มา http://www.geocities.ws/
asa chai/cas2.htm. วัน 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่สืบค้นข้อมูล.
Chanchay, N. (2013). Optimal Condition for Growth of Rhodotorula rubra and Antioxidation Characteristics of Its Carotenoids.
PhD Thesis. : Chiang Mai University.135 p.
Foss, P., Storebakken,T., Schiedt, K., Liaaen-Jensen, S., Austreng, E. and Streiff, K. (1984). Carotenoids in diets for
salmonids I: Pigmentation of rainbow trout with the individual optical isomers of astaxanthin in comparison with
canthaxanthin. Aquaculture., 41: 213-226
Tinoia, J., Rakariyathama, N. and Deming, R.L. (2004). Simplex optimization of carotenoid production by Rhodotorula glutinis
using hydrolyzed mung bean waste flour as substrate. Pro. Biochem., 40 : 2551–2557.