สถานภาพการผลิตหมากแห้งของเกษตรกรในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

พลากร สัตย์ซื่อ
ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสำรวจเรื่องนี้มุ่งหมายที่จะศึกษาสถานภาพการผลิตหมากแห้ง ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจของ
เกษตรกรในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐ
สังคม การผลิตและการขายหมากแห้งของเกษตรกร และประการที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผล
ต่อการผลิตหมากแห้งของเกษตรกร โดยทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การสังเกต
แบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนาตามธรรมชาติ และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูก
หมากจำนวน 135 ครัวเรือน ซึ่งทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์
เนื้อหา และการวิเคราะห์สวอท ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสตรี มีประสบการณ์การผลิตหมากแห้ง 18.05
ปี ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก การผลิตหมากแห้งใช้วิธีการแบบดั้งเดิม คือ การผ่าผลหมากด้วยพร้า และตากแดด
ให้เป็นหมากแห้ง การขายหมากแห้งเป็นการขายส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง คือ ความรู้และความ
ชำนาญในการผลิตหมากแห้งของเกษตรกร ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน คือ ข้อมูลข่าวสารทางการตลาด ปัจจัยที่เป็นโอกาส
คือ ความต้องการหมากแห้งในตลาด และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ นโยบายของภาครัฐ ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มศักยภาพ
การผลิตหมากแห้งของเกษตรกร คือ การส่งเสริมการผลิตหมากแห้งเพื่อเป็นอาชีพเสริม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
หมากแห้ง ตลอดจนการสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหมากแห้งที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. สถิติการขึ้นทะเบียนเกษตรกร. แหล่งที่มา : http://www.doae.go.th/stat_farmer/stat.html, 10 ตุลาคม 2558.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยง
สัตวแหล่งที่มา : http://www.moac.go.th/download/zoning/zoning_plant.pdf, 10 ตุลาคม 2558.
จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี. 2539. บทบาทของหมากในสังคมไทย : ศึกษากรณีหม่บู ้านโคก ตำบลอ่ทู อง อำเภออ่ทู อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
นฤบดี ศรีสังข์ กิตติชัย ชูสิง วศิน สมกาญจนา และ อภิสิทธิ์ ศรีไสยเพร็ช. 2557. เครื่องอบแห้งและกะเทาะหมาก. วารสารวิทยาศาสตร์
เกษตร. 45: 489-492.
นฤมล บุญกระจ่าง. 2555. เครื่องกะเทาะหมากแห้งแบบล้อหมุนในแนวระดับ. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
วิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
นิรนาม. 2549. วัฒนธรรมใหม่ ส่งหมากไทย พืชเศรษฐกิจ. ผู้ส่งออก. 19: 44-47.
ปรรณกิต เลิศพยับ. 2553. การออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบอบแห้งเนื้อหมากแว่นสด. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ปิยวัฒน์ ธินะ. 2549. การคงอยู่ของอาชีพการทำหมากในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พรรณนีย์ วิชชาชู. 2546. หมากยังมีคนเคี้ยว. กสิกร. 76: 58-69.
พิสมัย พึ่งวิกรัย และ พิมพ์ใจ พัฒนศิริพงศ์. 2543. การปลูกหมากเพื่อการค้า. กลุ่มไม้ยืนต้นอุตสาหกรรม กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่ง
เสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ 54 น.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ศิริพร ขัมภลิขิต และ ทัศนีย์ นะแส. 2532. วิจัยทางการพยาบาล: หลักการและกระบวนการ. เทมการพิมพ์.
สงขลา. 488 น.
วนิดา รัตนมณี และสมชาย ชูโฉม. 2550. การออกแบบและสร้างเครื่องหั่นหมากต้นแบบ. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 81 น.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. 2559. ตลาดส่งออกหมาก 15 อันดับแรกของไทยรายประเทศ.
แหล่งที่มา : http://www.ops3.moc.go.th/infor/MenuComTH/stru1_export/export_topn_re/report.asp, 11 มีนาคม 2559.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2558. ข้อมูลทางการเกษตรเกี่ยวกับหมาก. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
องค์การสวนยาง. 2558. การปลูกหมากในพื้นที่ว่างเปล่า. แหล่งที่มา : http://www.reothai.co.th/image/KM/km08.pdf, 14 ตุลาคม 2558.
อำมร พันธนียะ. 2544. วัฒนธรรมการใช้หมากของชาวบ้านในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
Norton, S.A. 1998. Betel: consumption and consequences. Journal of the American Academy of Dermatology. 37: 81-88.