การพัฒนาวิธีการระบุเพศมะละกอในระยะต้นกล้าต้นทุนต่ำ

Main Article Content

ภัทราภรณ์ ทรัพย์อุดมมาก
นงลักษณ์ คงศิริ
อลิษา ภู่ประเสริฐ
เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์
ราตรี บุญเรืองรอด

บทคัดย่อ

มะละกอเป็นพืชที่มีดอกแยกเพศ ต่างต้น 3 เพศ คือ ต้นเพศผู้ ต้นเพศเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ ซึ่งเกษตรกรที่
ปลูกมะละกอในเชิงการค้าต้องการเฉพาะต้นสมบูรณ์เพศ แต่ต้องใช้ระยะเวลานานประมาณ 3-4 เดือนมะละกอเริ่ม
ออกดอก จึงสามารถระบุเพศของมะละกอได้ ในขณะที่การตรวจสอบเพศมะละกอในระดับโมเลกุลสามารถดำเนินการ
ได้ในระยะต้นกล้าแต่มีต้นทุนที่สูงการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลาในการระบุเพศมะละกอ
ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SCARs ที่จำเพาะเจาะจงต่อเพศมะละกอ แบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลอง คือ การ
ทดลองที่ 1 ทดสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอโดยนำตัวอย่างสดใบมะละกอจากต้นเพศผู้ เพศเมีย และสมบูรณ์เพศ มาสกัด
ดีเอ็นเอด้วยวิธี CTAB แล้วตรวจสอบเพศด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ T1 และ W11 และการทดลองที่ 2 เปรียบเทียบต้นทุน
ระยะเวลาที่ใช้ และผลการระบุเพศของมะละกอด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ T1 และ W11 เมื่อใช้การสกัดดีเอ็นเอ 2 วิธี คือ
CTAB และ NaOH โดยใช้ มะละกอ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์แขกนวล พันธุ์แขกดำ และพันธุ์ปลักไม้ลาย จำนวนพันธุ์ละ 16 ต้น
ในระยะต้นกล้า จากการทดลอง พบว่าไพรเมอร์ T1 และ W11 สามารถระบุความแตกต่างของเพศมะละกอได้โดยสามารถ
แยกมะละกอเพศผู้และสมบูรณ์เพศออกจากเพศเมียได้และการสกัดดีเอ็นเอโดยใช้สารละลาย NaOH ใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า
ใช้เวลาน้อยกว่า และผลการระบุเพศมะละกอจากทั้งสองวิธีให้ผลไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สิริกุล วะสี. 2557. มะละกอ พืชความหวังใหม่ของเกษตรกร. ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. น.5.
Deputy, J.C., R. Ming, H. Ma, Z. Liu, M.M. Fitch, M. Wang, R. Manshardt and J.I. Stiles. 2002. Molecular markers for sex
determination in papaya (Carica papaya L.). Theor. Appl. Genet. 106: 107-111.
Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochem Bull
19:11-15.
He, Y. H., G. Ning, Y. L. Sun, Y. C. QI and M. Z. BAO. 2009. Identification of a SCAR marker linked to a recessive male
sterile gene (Tems) and its application in breeding of marigold (Tagetes erecta). Plant Breeding. 128: 92-96.
Urasaki, N., M. Tokumoto, K. Tarora, Y. Ban, T. Kayano. H. Tanaka. H. Oku, I. Chinen and R. Rerauchi. 2002. A male and
hermaphrodite specific RAPD marker for papaya (Caricapapaya L.). Theor. Appl. Genet. 104: 281-285.