สิ่งจูงใจต่อการปลูกยางพาราในพื้นที่นาของเกษตรกรตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พลากร สัตย์ซื่อ
ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสำรวจเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐสังคมและการผลิตยางพาราของเกษตรกร
รวมถึงศึกษาสิ่งจูงใจต่อการปลูกยางพาราในพื้นที่นาของเกษตรกรตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย
ทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม กลุ่ม
ตัวอย่าง คือ ครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่นาจำนวน 108 ครัวเรือน ซึ่งทำการสุ่มแบบง่ายและเลือกแบบเจาะจง
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และ
การวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54 ปี ยางพาราที่ปลูก
เป็นพันธุ์ RRIM 600 มีระยะปลูก 7×3 เมตร และใช้ระบบกรีด 3 วัน เว้น 1 วัน ผลผลิตเนื้อยางแห้งของเกษตรกรมีความ
แตกต่างกันตามอายุของต้นยางพารา ระบบกรีดยางพารา และการปลูกพืชแซมยางพารา สิ่งจูงใจสำคัญต่อการปลูก
ยางพาราในพื้นที่นาของเกษตรกร คือ พื้นที่รอบข้างมีการปลูกยางพารา ราคายางพารา และความมั่นคงทางรายได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประกอบการกำหนดแผนพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ คงเหล่า. 2551. การปรับปรุงระบบกรีดเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางของยางพารา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
พืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์. แหล่งที่มา : http://www.moac.go.th/download/zoning/zoning_plant.pdf, 1 ตุลาคม 2558.
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำพื้นที่พืชไร่. 2548. ยางพารา. กรมพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ. 127 น.
กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร1, กรมการค้าภายใน. 2558. ราคายางพาราภายในประเทศและต่างประเทศ. แหล่งที่มา : http://agri.dit.
go.th/web _dit_sec6/admin/uploadfiles/multi_files/ราคายาง%20ปี%2053-58%20(ก.ค.58).pdf, 1 ตุลาคม 2558.
เกรียงศักดิ์ รองเดช. 2551. สิ่งจูงใจต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
คติวิช กันธา. 2548. การแพร่กระจายและการยอมรับการเพาะปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ชฎารัตน์ เครื่องสนุก. 2556. ความคิดเห็นของราษฎรผู้ปลูกที่มีต่อธุรกิจการปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธงชัย คำโคตร และ นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์. 2554. การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร
ยางพารา. 32: 9-14.
ดอกอ้อ ขวัญนิน. 2555. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามาลงทุนปลูกสวนยางพาราของนายทุนภาคใต้ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์.
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์. 48 น.
นุชนารถ กังพิศดาร. 2551.การจัดการดินและน้ำ. วารสารยางพารา. 29: 6-15.
นุชนารถ กังพิศดาร. 2554. ปุ๋ยอินทรีย์กับการเพิ่มอินทรียวัตถุในสวนยาง. วารสารยางพารา. 32: 2-8.
นุชนารถ กังพิศดาร และ อรวรรณ ทองเนื้องาม. 2550. ศักยภาพการผลิตยางของไทย. วารสารยางพารา. 28: 42-52.
นุชนารถ กังพิศดาร กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข พิศมัย จันทุมา พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ และ ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. 2556. การจัดการสวนยางอย่าง
ยั่งยืน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 139 น.
นุชนารถ กังพิศดาร พิชิต สพโชค พนัส แพชนะ พิศมัย จันทุมา ดารุณี โกศัยเสวี กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข และ พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์. 2554.
คำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางปี 2554. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 36น.
พนัส แพชนะ บุญปิยธิดา คล่องแคล่ว และ สุพินยา จันทร์มี. 2554. การเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง. วารสารยางพารา. 32: 23-29.
พิชิต สพโชค พิศมัย จันทุมา และ พนัส แพชนะ. 2550. การกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 39 น.
พิรัฐ สุทธิโยค และ ศักดิ์ศิลป์ โชติสกุล. 2555. กรีดยางต้นเล็กที่ไม่ได้ขนาด: ได้ไม่คุ้มเสีย. แหล่งที่มา : http://www.agriman.doae.go.
th/home/ news3/news3_1/Plam/0039_KC(18.05.12).pdf, 1 ตุลาคม 2558.
พิศมัย จันทุมา. 2551. ผลกระทบต่อผลผลิตเมื่อเปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดต่ำกว่ามาตรฐาน. วารสารยางพารา. 29: 32-47.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ศิริพร ขัมภลิขิต และ ทัศนีย์ นะแส. 2532. วิจัยทางการพยาบาล: หลักการและกระบวนการ. เทมการพิมพ์.
สงขลา. 488 น.
เลิศ ประจันพล. 2543. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. 2550. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 19. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 265 น.
วิจิตร อาวะกุล. 2535. หลักการส่งเสริมการเกษตร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 310 น.
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าข้าม. 2553. แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล (ปี 2553-2555).
(เอกสารไม่ตีพิมพ์).
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. ราคาน้ำยางสดที่เกษตรกรขายได้. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
สำนักงานเกษตรอำเภอหาดใหญ่. 2558. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเกษตรตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม. 2557. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม (พ.ศ.2558-2562). แหล่งที่มา :
http://www. thakham.go.th/files/com_content/2014-10/2014-10_8e7a4d2d48c2ba9.PDF, 1 ตุลาคม 2558.
อเนก กุณาละสิริ และ พัชรินทร์ ศรีวารินทร์. 2550. ต้นทุนการผลิตยางระดับชาวสวน. วารสารยางพารา. 28: 8-16.
อร จุนถิระพงศ์. 2543. ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อุดมสิทธิ์ สุวรรณเกษม. 2542. แรงจูงใจในการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณใี นเขตปฏริ ปู ทดี่ นิ อำเภอ
นายูงและอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. สารนิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เอกพงษ์ หนูพลับ. 2545. ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์
เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
Cronbach, L.J. 1990. Essentials of Psychological Testing. 5th edition. HarperCollins Publishers, New York. 726 p.
Nunnally, J.C. and I.H. Bernstein, I. H. 1994. Psychometric Theory. 3rd edition. McGraw-Hill, New York. 752 p.
Pakianathan, S.W. 1977. Some factors affecting yield response to stimulation with 2-chloroethylphosphonic acid. Journal of
the Rubber Research Institute of Malaysia. 25: 50-60.
Rao, G.G., P.S. Rao, R. Rajagopal, A.S. Devakumar, K.R. Vijayakumar and M.R. Sethuraj. 1990. Influence of soil, plant and
meteorological factors on water relations and yield in Hevea brasiliensis. International Journal of Biometeorology.
34: 175-180.
Rao, P.S., C.K. Saraswathyamma and M.R. Sethuraj. 1998. Studies on the relationship between yield and meteorological
parameters of para rubber (Hevea brasiliensis). Agricultural and Forest Meteorology. 90: 235-245.
Watson, G.A. 1989. Climate and soil, pp. 125-164. In C.C. Webster and W.J. Baulkwill, ed. Rubber. Longman Scientific &
Technical. New York. 614 p.