ผลของการเสริมดอกทองกวาวผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อน จากประเทศอินเดีย บังกลาเทศ เนปาล
ศรีลังกา เมียนมาร์ ประเทศไทย และลาว ดอกของทองกวาวนิยมนำมาใช้เป็นสารสี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาผลของการเสริมดอกทองกวาวผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ วางแผนการทดลองแบบ
สุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) โดยใช้ไก่ไข่ สายพันธุ์ซีพี บราวน์ อายุ 48 สัปดาห์ จำนวน 105
ตัว แบ่งไก่ไข่ออกเป็น 5 กลุ่มๆละ 7 ซ้ำๆละ 3 ตัว ไก่ไข่รับอาหารทดลอง 5 สูตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 สูตรอาหารที่มี
ปลายข้าว กลุ่มทดลองที่ 2, 3 และ 4 ประกอบด้วยสูตรอาหารที่มีปลายข้าวเสริมดอกทองกวาวผงที่ระดับร้อยละ 0.05,
1.00 และ 1.50 ตามลำดับ และกลุ่มทดลองที่ 5 สูตรอาหารที่มีข้าวโพด ผลการทดลองพบว่าผลของดอกทองกวาวที่
เสริมในอาหารไก่ไข่ไม่มีผลต่อผลผลิตไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร มวลไข่ น้ำหนักไข่เฉลี่ย
ปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหล อัตราการตาย ดัชนีรูปทรงไข่ ดัชนีไข่ขาว ความถ่วงจำเพาะ เปอร์เซ็นต์ไข่แดง
เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ ค่า a* (สีเปลือกไข่) และค่า b* (สีเปลือกไข่) (P>0.05) กลุ่มทดลองที่ 2 และ 3
มีต้นทุนค่าอาหารต่อผลผลิตไข่ 1 โหล ต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) กลุ่มทดลองที่
1, 2 และ 4 มีน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดการทดลองต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ 3 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P<0.05) กลุ่มทดลองที่ 2, 3 และ 4 มีเปอร์เซ็นต์เกรดไข่เบอร์ 1 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P<0.05) กลุ่มทดลองที่ 3 มีเปอร์เซ็นต์เกรดไข่เบอร์ 2 น้อยที่สุด (P<0.05) กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าดัชนีไข่แดงต่ำกว่า
กลุ่มทดลองที่ 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าฮอฟ์ยูนิต ความหนาเปลือกไข่
และความแข็งเปลือกไข่สูงที่สุด กลุ่มทดลองที่ 5 มีค่าสีไข่แดงจากเครื่องวัดคุณภาพไข่และพัดสี a* (สีไข่แดง) b*
(สีไข่แดง) และ L* (สีเปลือกไข่) สูงที่สุด อย่างไรก็ตามการเสริมดอกทองกวาวผงที่ระดับร้อยละ 1.00 ในอาหารไก่ไข่
สามารถปรับปรุงสีของไข่แดงดีกว่าการเสริมดอกทองกวาวผงที่ระดับร้อยละ 0.05 และ 1.50
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กรุงเทพฯ.
กมลทิพย์ ประสมเพชร. 2554. คู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
บางเขน, กรุงเทพฯ.
กรมวิชาการเกษตร. 2552. พรรณไม้ในกรมวิชาการเกษตร เล่มที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง, กรุงเทพฯ.
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2539. หลักการอาหารสัตว์ เล่ม 2 : หลักโภชนาศาสตร์และการประยุกต์.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
ภูชงค์ วีรดิษฐกิจ และ ไพโชค ปัญจะ. ม.ป.ป. อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. ภาค
วิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี.
วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์ อุบล ตันสม อับดุลรอฮิม เปาะอีแต และ ฮานีย์ะ ปอเย๊าะ. 2554. ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในระดับที่ต่าง
กันต่อคุณภาพสีไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 6(1): 17-24.
วีระชัย ณ นคร. 2546. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด, กรุงเทพฯ.
สุวรรณ เกษตรสุวรรณ. 2529. ไข่และเนื้อไก่. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2550. ศูนย์สารสนเทศส?ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนักโภชนาการ. 2548. การบริโภคไข่. [online]. Available: http://www.nutrition.anamai.moph.go.th. [16 ธันวาคม 2558].
อัจฉรา นิยมเดชา และ มงคล คงเสน. 2556. เมทาบอลิซึมและคุณประโยชน์ของแคโรทีนอยด์ในการเพิ่มความเข้มสีไข่แดง. วารสาร
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ฉบับพิเศษ 2556: 112-121.
Choedon, T., S.K. Shukla and V. Kumar. 2010. Chemopreventive and anti-cancer properties of the aqueous extracts of
flowers of Butea monosperma. J. Ethnopharmacol. 129: 208-213.
Marusich, W.L., E.D. Ritter and J.C. Baueernfeind. 1960. Evaluation of carotenoid pigments for coloring egg yolk. Poult. Sci.
39: 1338-1345.
Marusich, W.L. and J.C. Bauernfeind. 1970. Oxycarotenoids in poultry pigmentation two broiler studies. Poult. Sci. 49:
1566-1579.
Olugbemi, T.S., S.K. Mutayoba and F.P. Lekule. 2010. Evaluation of Moringa oleifera leaf meal inclusion in cassava chip
based diets fed to laying birds. LRRD. 6: 118.
Orr, H.L. and D.B. Murray. 1977. Eggs and egg products. 5th ed. Canada Department of Agriculture, Ontario Canada. 59 p.
Pal, P. and S. Bose. 2011. Phytopharmacological and phytochemical review of Butea monosperma. J. Pharm. Biomed.
Sci. 2(3): 1374-1388.
Pino, J.A., S. Brambila and C. Mondoza. 1962. Pigment depletion and repletion rate in egg yolks from hens on different
rations. Poult. Sci. 41: 1672-1673.
Rana, F. and M. Avijit. 2012. Review Butea monosperma. IJRPC. 2(4): 1035-1039.
SAS. 2004. STAT User’s Guide. SAS Institute. North Carolina. 584 p.
Sivananda, S.S. 1997. Hindu Fasts & Festivals. A Divine Life Society Publication. India.
Somani, R., S. Kasture and A.K. Singhai. 2006. Antidiabetic potential; of Butea monosperma in rats. Fitoterapia. 77(2): 86-90.