ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ป่าระหาร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ป่าระหาร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัด
สุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากชนิดของไม้ต้นในป่าระหารและการนำไม้ต้นไปใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญา
ท้องถิ่น วิธีการสำรวจโดยกำหนดขนาดตัวอย่างแปลง 40 x 40 เมตร วิเคราะห์ความหนาแน่น ความหนาแน่นสัมพัทธ์
ความถี่ ความถี่สัมพัทธ์ ความเด่น ความเด่นสัมพัทธ์ ค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์ไม้ ค่าร้อยละของความสำคัญของ
พันธุ์ไม้ ค่าดัชนีความหลากหลาย และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพรรณไม้ และศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้ต้นใน
ท้องถิ่น โดยการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชนในตำบลเทนมีย์ และตำบลนอกเมือง
ผลการศึกษาพบไม้ต้น 536 ต้น มี 41 ชนิด 24 วงศ์ ไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) มากที่สุด คือ
ยางเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) รองลงมาคือ ลำดวน (Melodorum fruticosum Lour.)
พะยอม (Shorea roxburghii G. Don) เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) พอก (Parinari anamensis Hance)
มะกอกเลื่อม (Canarium subulatum Guillaumin) และเหมือดโลด (Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.) ตาม
ลำดับ มีค่าดัชนีความหลากชนิดเท่ากับ 2.87 และค่าดัชนีการกระจายตัวเท่ากับ 0.78 พบว่าไม้ต้นทุกชนิดนำไปใช้
ประโยชน์ในท้องถิ่นได้ โดยนำไปใช้ประโยชน์ด้านพืชสมุนไพรมากที่สุด รองลงมา นำไปใช้การก่อสร้างบ้านพัก อาหาร
เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องมือการเกษตร ไม้ย้อมสี เชื้อเพลิง ด้านอื่นๆ และเป็นไม้ประดับ ตามลำดับ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
community forest, Wapi Pathum district, Maha Sarakham province. Environment and Natural Resources Journal. J. 7
(1): 36 – 50.
Kiratiprayun, S. 2013. Forestry Ecology: Acquisition of Data and Preliminary Data Analysis. Department of Environmental
Science, Faculty of Science and Technology, Thammasat University, Rangsit Centre, Pathum Thani. (Mimeographed).
Kulsirisritrakul, N., P. Vinairuangrit, P. Chooprayoon and S. Deeto. 2013. The Diversity of species and utilization of plants
at the Baan Tah Tongdeang community forest, Nabot, Wangchao district, Tak province. RMUTP Research Journal
Special Issue: Energy and Environment. J. 98-105.
Kutintara, U. 1999. The basic ecological for forestry. Faculty of Forestry, Kasetsart University Bangkok.
Marod, D. 2013. Sampling Technique and Plant Community Analysis. Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart
University. Available source: http://bioff.forest.ku.ac.th/PDF_FILE/MAY_2011/DOKRAK_2011.pdf, August 10, 2013.
Petprom, J., P. Mankeb and T. Mekhora. 2013. Plant diversity, utilization and economic value in Don Yang community forest,
Lukmuang Sub-district, Kamalasai district, Kalasin province. King Mongkuts Agricultural Journal. 31 (2): 37- 46.
Prasopsin, S., N. Bhumpakphan and R. Chaiyarat. 2013. Diversity of food plants and food preference of Indochinese Gaur
(Bos gaurus laosiensis) at Khlong Pla Kang buffer zone of KhaoYai National Park, Nakhon Ratchasima province.
Thai Journal of Foresty. J. 32 (2): 1-13.
Smitinand, T. 2014. Thai Plant Names.The Forest Herbarium, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation,
Bangkok.
Sritram, S., V. Wongsuksaweang, C. Rungrueng and P. Sritram. 2014. Report Operating Results: The survey Collects Plant
Genetic in Surin Province Forest. Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan
Surin Campus, Surin.