ผลของอาหารเสริมสมุนไพรต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพด้านเนื้อสัมผัสของไก่กระทง

Main Article Content

ปริเยศ สิทธิสรวง

บทคัดย่อ

การทดลองได้ดำเนินการในโรงเรือนเปิด ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางในปี พ.ศ.2557 เพื่อศึกษาผลของการ
เสริมสมุนไพรในอาหาร (อัตราร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก) ต่อการเจริญเติบโต คุณภาพด้านเนื้อสัมผัส และความชอบของ
ผู้บริโภคในด้านความนุ่มของเนื้อไก่กระทง ใช้ไก่สายพันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์อายุ 1 วัน จำนวน 180 ตัว แบ่งออกเป็น 5
กลุ่มการทดลอง ประกอบด้วย กลุ่มควบคุมที่ไม่เสริมสมุนไพรในอาหาร และอีก 4 กลุ่มที่ มีการเสริมอาหารด้วย มะระ
ขี้นก ขี้เหล็ก มะตูม และบอระเพ็ด ในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (randomized complete block design)
จำนวน 6 ซ้ำๆละ 6 ตัว ไก่ทั้งหมดได้รับน้ำและอาหารแบบกินเต็มที่ (ad libitum) จนถึงอายุ 5 สัปดาห์ ผลการทดลอง
พบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่ 5 อัตราการเจริญเติบโตต่อวันและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวใน
แต่ละสัปดาห์ การเลี้ยงรอด และน้ำหนักของไก่เมื่ออายุ 5 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติระหว่างกลุ่มการ
ทดลอง อย่างไรก็ตาม คุณภาพด้านเนื้อสัมผัสในบางลักษณะ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05)
การเสรมิ ขี้เหล็กและบอระเพ็ดในอาหาร มีผลทำให้น่องดิบมีค่าการยึดติด (adhesiveness) เพิ่มขึ้นในขณะที่การเสริม
ด้วยมะตูมทำให้ความยืดหยุ่น (springiness) ลดลงเล็กน้อย แต่มีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในกรณี
ของไก่สุก อาหารที่เสริมด้วยมะตูมและบอระเพ็ด ทำให้การยึดเกาะกัน (cohesiveness) ของเนื้อน่องเพิ่มขึ้น นอกจาก
นั้น การเสริมอาหารด้วยบอระเพ็ด มีผลทำให้เนื้อสุกส่วนสะโพก มีการยึดเกาะกันเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จึงส่งผลทำให้
ความชอบในด้านความนุ่มของเนื้อสะโพกสุกด้วยวิธีการทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. 2557. สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์. กันยายน 2557. แหล่งที่มา:http://www.dft.go.th/Portals/0/
ContentManagement/Document_Mod908/สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ปี2557_01_06@25570909-1020155253.pdf,
1 กันยายน 2557.
กิติมา จินดามงคล. 2547. ผลของสารสกัดสมุนไพรขมิ้นชัน ย่านพาโหม และบอระเพ็ดต่อภูมิคุ้มกันโรคภาวะเครียด และคุณลักษณะของ
การเจริญเติบโตของไก่กระทง. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กุศล คำเพราะ, วรรณพร คำเพราะและเจตนา หนูพันธ์. 2545. การใช้สมุนไพรผักคราดหัวแหวน ต่อสมรรถภาพทางการผลิตและภูมิคุ้มกัน
โรคของไก่เนื้อและไก่บ้าน. น. 200-215. ใน:การประชุมวิชาการสมุนไพรไทย ครั้งที่ 1 เรื่องโอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรม
การผลิตสัตว์. 24-25 ตุลาตม 2545. ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น, กรุงเทพฯ.
ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก, อภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร, พีรธรรม เทียมเทียบรัตน์, สิริกาญจน์ ธนอริยโรจน์, ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง และณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์.
2558. การหาปริมาณ Imperatorin ในผลมะตูมด้วยวิธี ultra performance liquid chromatography (UPLC). ว กรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ 2558 ; 57(4) : 327–340.
ดุจดาว คนยัง, ณัฐพร จันทร์ฉาย และวิวัฒน์ หาญธงชัย. 2553. การใช้สมุนไพรไทยในการเพิ่มสมรรถภาพการเจริญเติบโต และควบคุม
โรคบิดในไก่เนื้อ. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. 2542.น. 570–578.ใน : สมุนไพรไม้พื้นบ้าน.เล่ม 3. คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
นันทิยา แซ่เตียว และศรีสกุล วรจันทรา. 2547. ผลของการเสริมสมุนไพรบอระเพ็ดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตระดับภูมิคุ้มกันและ
คุณภาพซากของไก่เนื้อ. น. 37-43. ใน:การประชุมวิชาการสมุนไพรไทย ครั้งที่ 2 เรื่องโอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการ
ผลิตสัตว์. 15-16 มกราคม 2547. ณ โรงแรมสยามซิตี้, กรุงเทพฯ”
บงกช นพผล, เสรี แข็งแอ, วสันต์ จันทรสนิทและพิทักษ์ น้อยเมล์. 2546. การเสริมตะไคร้ผงลงในอาหารต่อการเจริญเติบโตของไก่พื้น
เมืองลูกผสม. วารสารสมุนไพร. 10(1):19-23.
บงกช นพผล, เสรี แข็งแอ, วสันต์ จันทรสนิทและพิทักษ์ น้อยเมล์.2547. อัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสมที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม
ตะไคร้ผง.น. 24-27 ใน:การประชุมวิชาการสมุนไพรไทย ครั้งที่ 2 เรื่องโอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์. 15-16
มกราคม 2547. ณ โรงแรมสยามซิตี้, กรุงเทพฯ.
ปริเยศ สิทธิสรวง. 2556. การศึกษาคุณภาพของเนื้อไก่กระทงที่เสริมด้วยสมุนไพรต้นขี้หนอน. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ลำปาง, ลำปาง
รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์. 2543. ผลของการเสริมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่กระทงและไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สัญชัย จตุรสิทธา, ศุภฤกษ์ สายทอง, อังคณา ผ่องแผ้ว, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2546. คุณภาพซากเนื้อไก่
พื้นเมืองและสายพันธุ์ลูกผสม 4 สายพันธุ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สุนทรีพร ดวนใหญ่, ดำรงชัย โสกัณทัต, สรรเพชญ โสภณ, วรรณวิภา สุทธิไกรและวิชชุกร ชุมแสง. 2551. ผลของการเสริมผักหนาม
(Lasia spinosa Thw.) ทดแทนสารปฏิชีวนะในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของไก่เนื้อและไก่ไข่. รายงาน
วิจัยฉบับสมบูรณ์.สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อรุณี อภิชาติสรางกูร. 2552. การใช้กากเหลือจากการสกัดน้ำบัวบกในการผลิตอาหารไก่เนื้อเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ. รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abu, M.N., S. Samat , N. Kamarapani, F.N. Hussein, W.I.W. Ismail, and H.F. Hassan. 2015. Tinospora crispa ameliorates
insulin resistance induced by high fat diet in Wistar rats. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine,
Volume 2015, Article ID 985042, 6 pages. http: //dx.doi.org/10.1155/2015 /985042.
Bourne, M.C.1978. Texture profile analysis. Food Sci. 32:62-67.
Damsawang, K.,C. Wattanachant, S. Wattanasit, and A. Itharat. 2010. Effect of crude turmeric extract (Curcuma longaLinn.)
supplementation on meat quality of broilers. J. Sci. Technol. MSU. 29(3):308-315.
Pongjunla, S., T.Suttinon, A. Molee, and J. Yongsawatdigul. 2014. Comparative study on meat quality of Korat chicken and
commercial broiler. P.81-89. In: Proceedings of the 5th Meat Science and Technology. 25-26 July 2014. Fac. Agri.
Technol., KMITL.
Wattanachan, S., S.Benjakul, and D.A. Ledward. 2004. Composition, color, and texture of thai indigenous and broiler
chicken muscles. Poult. Sci. 83:123-128.