ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโต ของเอื้องช้างน้าวในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

นุชจรี สิงห์พันธ์
แพรวพรรณ จันเงิน

บทคัดย่อ

ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อการเจริญเติบโตของเอื้องช้างน้าวในสภาพปลอดเชื้อ เพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 84 วัน หลังจากเมล็ดงอก วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จากผลการทดลองพบว่า ต้นอ่อนเอื้องช้างน้าวเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งทั้ง 5 สูตรให้เปอร์เซ็นต์การเกิดยอด จำนวนยอด จำนวนใบ และความสูงต้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่การเพาะเลี้ยงเอื้องช้างน้าวบนอาหารแข็งสูตร VW ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์การเกิดยอดและจำนวนยอดสูงสุด ส่วนอาหารแข็งสูตร VW ที่เติม Kinetin ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ความสูงต้น  จำนวนราก  และเปอร์เซ็นต์การเกิดรากสูงสุด จากนั้นศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต NAA ต่อการชักนำการเกิดราก พบว่า ต้นอ่อนเอื้องช้างน้าวเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร VW ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจำนวนรากและเปอร์เซ็นต์การเกิดรากสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตราพรรณ พิลึก. 2536. การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 82 น.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. เอื้องช้างน้าว. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book, 10 พฤศจิกายน 2561.
พันธิตรา กมล อุรัสยาน์ บูลย์ประมุข และ อนุพันธุ์ กงบังเกิด. 2555. ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงขมิ้นขาว (Curcuma manga Valeton & Zijp.). วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 4 (ฉบับพิเศษ): 87-92.
ยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ และ อัญชลี จาละ. 2557. อิทธิพลของ BA และ NAA ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนยอดต้นพรมมิโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. แหล่งที่มา: https://www.tci-thaijo.arg/index.php, 8 พฤศจิกายน 2561.
_________. 2558. อิทธิพลของ BA, IAA, 2,4-D และ Kinetin ต่อการขยายพันธุ์ต้นแก้วมังกรจากไฮโปรคอทิลและใบจริงในสภาพปลอดเชื้อ. แหล่งที่มา: https://www.tci-thaijo.arg/index.php, 8 พฤศจิกายน 2561.
วิวัฒ วุฒพันธ์ไชย. 2529. ผลของอายุฝัก การเติมมันฝรั่ง น้ำมะพร้าวอ่อน และถ่านในอาหารสำหรับการเพาะเมล็ดกล้วยไม้เหลืองปราจีน. ปัญหาพิเศษปริญญาโท ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วุฒิชัย ฤทธิ, บุญสนอง ช่วยแก้ว และ จารุวรรณ สุวรรณวงค์. 2560. ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อการเจริญของต้นอ่อนเอื้องกาบดอก. วารสารวิทยาศาสตร์บรูพา. 22: 55-63.
สกุณา พาแก้ว. 2538. การศึกษาอายุฝักและสูตรอาหารสำหรับเพาะเมล็ดรองเท้านารีเหลืองปราจีน. วิทยานิพนธุ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุภาวดี รามสูตร, ปรีดา บุญเวศน์ และ วริยา นวลนุช. 2558. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิดในหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 2(4): 11-14.
อาซีเยาะห์ คาเรง นูรียานี ยามา และสุภาวดี รามสูตร. 2557. ประสิทธิภาพของ BA และ NAA ต่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้หางช้างในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 1(2), X1-X4 In press.
อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ธีรภรณ์ ตุ้มน้อย ปรัชญา เตวิยะ และ วิทยา แก้วศรี. 2558. การขยายพันธุ์เอื้องช้างน้าวด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. แหล่งที่มา: http://www.crdc.kmutt.ac.th, 6 พฤศจิกายน 2561.
Hossain, M.M., Sharma, M, da Silva, J.A.T., Pathak, P. 2010. Seed germination and tissue culture of Cymbidium giganteum Wall. ex Lindl. Scientia Horticulturae, 123, 479-487.
Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. PhysiologiaPlantarum 15: 473-497.
Razdan, M.K. 2002. Introduction to plant tissue culture. (2nd ed.) USA: Science Publishers.
Richard, A.D. and R.A. Gonzales. 1994. Plant Cell Culture. IRL University Press. USA.
Vacin, E. F. and F. W. Went. 1949. Some pH changes in nutrient solutions. Bot. Gaz. 110 : 605-613.