อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชและการแตกยอดใหม่ของต้นลำไย

Main Article Content

ณัฐพงค์ หงษ์ทอง
ธีรนุช เจริญกิจ

บทคัดย่อ

ศึกษาอิทธิพลของวัสดุคลุมแปลงต่อการควบคุมวัชพืชในแปลงลำไยและการแตกยอดใหม่ของต้นลำไย โดยทดสอบกับต้นลำไยอายุประมาณ 10 ปี ในแปลงปฏิบัติงานสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบไปด้วย 4 กรรมวิธี ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 1 ต้น ได้แก่ 1) ไม่คลุมดิน (control) 2) คลุมด้วยแกลบดิบ 3) คลุมด้วยฟางข้าว และ 4) คลุมด้วยพลาสติกคลุมวัชพืช (anti-root) เริ่มทำการทดลองโดยเลือกต้นลำไยที่มีขนาดทรงพุ่มใกล้เคียงกัน และตัดวัชพืชก่อนเริ่มทำการทดลอง หลังจากนั้นดำเนินการคลุมวัชพืชตามสิ่งทดลอง ในพื้นที่ 16 ตารางเมตร (กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร) รอบทรงพุ่ม เป็นระยะเวลา 7 เดือน ทำการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณวัชพืช คุณสมบัติทางเคมี ทางกายภาพต่าง ๆ ของดิน และการแตกยอดของลำไย พบว่า การคลุมดินด้วย anti-root ไม่มีการงอกของวัชพืชเลย ในขณะที่การคลุมดินด้วยวิธีอื่น มีปริมาณน้ำหนักแห้งของวัชพืชสะสมอยู่ระหว่าง 874.9-1,227.0 ก./ตร.ม. ซึ่งไม่แตกต่างกับการไม่คลุมดิน ในขณะที่อุณหภูมิผิวดินพบว่าการคลุมดินด้วย anti-root ส่งผลให้
มีค่าอุณหภูมิผิวดินเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งแตกต่างกับการไม่คลุมและการคลุมดินด้วยแกลบดิบ และฟางข้าว ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 25.4-32.3 องศาเซลเซียส ส่วนคุณสมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ อินทรียวัตถุ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และ
ธาตุอาหารโดยรวม ก่อนคลุมดินแต่ละกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาคลุมดินแล้ว พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียม ของการคลุมดินแต่ละวิธีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การคลุมดินด้วยฟางข้าวทำให้ปริมาณของฟอสฟอรัสในดินมีค่าสูงที่สุด คือ 214 มก./กก. แตกต่างกับการไม่คลุมดิน หรือการคลุมดินด้วยวิธีอื่น ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 39-91 มก./กก. ในขณะที่การคลุมด้วย
anti-root ทำให้มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่าชุดควบคุม และการคลุมด้วยฟางข้าว แต่ไม่แตกต่างจากการคลุมดินด้วยแกลบดิบ การคลุมดินไม่มีอิทธิพลต่อการแตกยอดของลำไย โดยพบว่าเปอร์เซ็นต์การแตกยอดของลำไยอยู่ระหว่าง 90-100 เปอร์เซ็นต์ และอัตราเร็วในการแตกยอดไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 25-30 วันหลังตัดแต่งกิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ เจริญจำรัสชีพ และรสมาลิน ณ ระนอง. 2542. คู่มือการใช้วัสดุปูนเพื่อการเกษตรเพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

เบญจพรรณ เอกะสิงห์, กมล งามสมสุข, ธันยา พรหมบุรมย์ และฑีฆา โยธาภักดี. 2547. ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตลำไยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8(1-2): 17-44.

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. กรุงเทพฯ: รั้วเขียว.

เพ็ญศรี นันทสมสราญ และจรัญ ดิษฐไชยวงศ์. 2553. ศึกษาวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการควบคุมวัชพืชในกวาวเครือขาว. http://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=1110 (27 กันยายน 2560).

วุฒิดา รัตนพิไชย. 2550. อิทธิพลของวัสดุคลุมดินชนิดต่าง ๆ ต่อการใช้น้ำ และการเจริญเติบโตของผักคะน้า และการเปลี่ยนแปลงสมบัติ

ทางกายภาพและเคมีของดิน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการส่งออกลำไยสด. http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2561&E

_YEAR=2561&PRODUCT_GROUP=5252&PRODUCT_ID=4990&wf_search=&WF_SEARCH=Y (27 มิถุนายน 2562).

โองการ วณิชาชีวะ. 2556. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อการงอกของเมล็ดวัชพืชต่างถิ่นสกุลผักเผ็ดแม้วในประเทศไทย. แก่นเกษตร 41(3): 317-326.

Abouziena, H., Hafez, O., El-Metwally, I., Sharma, S., and Singh, M. 2008. Comparison of weed suppression and mandarin fruit yield and quality obtained with organic mulches, synthetic mulches, cultivation, and glyphosate. HortScience 43(3): 795-799.

Mahajan, G., Sharda, R., Kumar, A., and Singh, K. 2007. Effect of plastic mulch on economizing irrigation water and weed control in baby corn sown by different methods. African Journal of Agricultural Research 2(1): 19-26.

Mulumba, L. N., and Lal, R. 2008. Mulching effects on selected soil physical properties. Soil & Tillage Research 98(1): 106-111.

Thankamani, C. K., Kandiannan, K., Hamza, S., and Saji, K. V. 2016. Effect of mulches on weed suppression and yield of ginger (Zingiber officinale Roscoe). Scientia Horticulturae 207: 125-130.

Vleeschauwer, D. D., Lal, R., and Marafa, R. 1980. Effect of amounts of surface mulch on physical and chemical properties of

an Alfisol from Nigeria. Journal of the Science of Food and Agriculture 31(7): 730-738.

Wu, Y., Huang, F., Jia, Z., Ren, X., and Cai, T. 2017. Response of soil water, temperature, and maize (Zea may L.) production to different plastic film mulching patterns in semi-arid areas of northwest China. Soil & Tillage Research 166: 113-121.