การใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่รับน้ำจากคลองชลประทานในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

วันชนะ ประภาวิชา
เมธี แก้วเนิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้น้ำในการเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่รับน้ำจากคลองชลประทาน ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจในพื้นที่ อ. พานทอง จ. ชลบุรี จาก 6 บ่อตัวอย่างที่เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาว และ 6 บ่อตัวอย่างที่เลี้ยงปลาเบญจพรรณร่วมกับกุ้งขาว โดยรวบรวมข้อมูลการใช้น้ำต่อรอบการเลี้ยง นอกจากนี้ได้ทำการประเมินปริมาณน้ำที่ได้รับจากคลองชลประทานในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 และทำการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจำนวน
78 ราย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อศึกษารูปแบบการใช้น้ำ นอกจากนี้ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจาก
กรมประมง ผลการศึกษาพบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาว มีการใช้น้ำ 12,133,136.00 ลบ.ม. ต่อรอบการเลี้ยง และ
การเลี้ยงปลาเบญจพรรณร่วมกับกุ้งขาว มีการใช้น้ำ 2,022,006.33 ลบ.ม. ต่อรอบการเลี้ยง โดยพบว่ามีการใช้น้ำมากที่สุด
ในเดือนมกราคม และปริมาณน้ำที่ได้รับจากระบบชลประทาน 9,398,735.28 ลบ.ม. ต่อเดือน โดยเดือนเมษายนมีปริมาณน้ำ
ที่ได้รับมากที่สุด ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำในเดือนมกราคม สิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40.8, 47.2, 24.4 และ 60.4 ของปริมาณน้ำที่ได้รับตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้น้ำจากระบบชลประทานเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีสัดส่วนค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำที่ได้รับต่อรอบการเลี้ยงเพียงพอต่อการใช้น้ำของผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ศึกษา หากมีปัญหาการขาดแคลนน้ำผู้เลี้ยงสัตว์น้ำร้อยละ 55.1 จะลดการเติมน้ำในบ่อเลี้ยง ร้อยละ 32.1 มีการสลับกันสูบน้ำ และลดจำนวนบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ยังคงเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยความหนาแน่นเท่าเดิม (ร้อยละ 12.8)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. 2557ก. รายงานประจำปี 2557 เรื่อง ความต้องการน้ำ. https://www.rid.go.th/2009/_data/docs/AnnualRID57.pdf

(3 ธันวาคม 2560).

กรมชลประทาน. 2557ข. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. https://www.rid.go.th/royalproject/ (3 ธันวาคม 2560).

กรมชลประทาน. 2559. โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร. https://rachalothorn.blogspot.com/ (3 ธันวาคม 2560).

กรมประมง. 2559. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปลานิลแบบครบวงจรตามแผนการปรับโครงสร้างและพัฒนาสินค้าประมง ปีงบประมาณ 2558-2559. กรุงเทพฯ: กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2561. การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2561. https://www.tmd.go.th/programs//uploads/weatherclimate/ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อน2561.pdf (12 เมษายน 2562).

ปฏิพัทธ์ ตอพรหม. 2559. การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์ในอ่างเก็บน้ำละหานลูกนก จังหวัดชัยภูมิ.

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักนโยบายและวิธีสถิติ. มปป. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและประมาณค่า. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf (3 ธันวาคม 2560).

สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ. 2553. คู่มือการประมาณค่าการไหลของน้ำด้วยวิธี Mamning‘s formula. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานสารสนเทศและทรัพยากรน้ำส่วนอุทกวิทยา.

ผุสดี ศรีทรงราช. 2548. การจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม : กรณีศึกษา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.

สาขาวิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Boyd, C. E. 1982. Hydrology of small experimental fishponds at auburn, Alabama. Transactions of the American Fisheries Society.

: 638-644.

Boyd, C. E., and Gross, A. 2000. Water use and conservation for inland aquaculture ponds. Fisheries Management Ecology. 7: 55-63.

FAO. 2019. The importance of sustainable water management. https://www.fao.org/land-water/water/en/ (4 April 2019).

Graveline, N. 2019. Combining flexible regulatory and economic instruments for agriculture water demand control under climate change in Beauce. Water Resources and Economics. https://www.sciencedirect.com/journal/water-resources-and-economics/about/aims-and-scope.

Sharma, K. K., Mohapatra, B. C., Das, P. C., Sarkar, B., and Chand, S. 2013. Water budgets for freshwater aquaculture ponds with reference to effluent volume. Agricultural Sciences.4 (8): 353-359.