การศึกษาเปรียบเทียบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักที่ปลูกแบบปกติและปลูกแบบอินทรีย์ ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณและชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักที่ปลูกในระบบปกติและ
แบบอินทรีย์ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม โดยวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต
ไพรีทรอยด์ และออร์กาโนคลอรีน จากตัวอย่างผักจากแปลงจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้งจีน บวบ ขึ้นฉ่าย ผักชีไทย ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง และผักกาดขาว จากแปลงที่ปลูกแบบอินทรีย์ จำนวน 2 แปลง และปลูกแบบปกติที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 5 แปลง โดยแปลงที่เลือกทั้งสองระบบเป็นแปลงขนาดเล็กและปลูกแบบหมุนเวียน จากการวิเคราะห์พบว่า
ในระบบการปลูกแบบอินทรีย์มีผักเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ขึ้นฉ่าย และผักชีฝรั่ง ที่ตรวจพบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งได้แก่ chlorpyrifos ส่วนระบบการปลูกแบบปกติมีผัก 4 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักชีไทย ขึ้นฉ่าย และผักชีฝรั่ง ที่มีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ chlorpyrifos, diazinon, carbofuran-3OH, carbofuran, carbosulfan, methomyl และ bifenthrin แสดงให้เห็นว่าระบบการปลูกแบบอินทรีย์มีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างต่ำกว่าระบบการปลูกแบบปกติอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองพบว่าผักในระบบเกษตรอินทรีย์ตรวจพบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ถึงแม้ว่าเกษตรกรไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเลย ส่วนในระบบปกติก็มีบางตัวอย่างที่ตรวจไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
คณะกรรมการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. 2559. ปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตออร์แกนิก ที่ตรวจรับรองโดย มกท.
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. https://actorganic-cert.or.th/th/ปัญหาสารเคมีตกค้างในผล/ (7 กันยายน 2562).
คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร. 2556. ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. http://www.acfs.go.th/standard/download/MAXIMUM_RESIDUE_LIMITS_new.pdf (20 มิถุนายน 2561).
คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. วิธีชักตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. http://www.acfs.go.th/standard/download/pesticide_residues.pdf (8 พฤษภาคม 2562).
จารุพงศ์ ประสพสุข และชุลีมาศ บุญไทย อิวาย. 2556. การติดตามสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและ
นํ้าหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 32: 154-160.
จารุพงศ์ ประสพสุข, ปรียานุช สายสุพรรณ์ และวัชราพร ศรีสว่างวงศ์. 2557.การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้เพื่อการรับรอง
ระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. แก่นเกษตร 42 (พิเศษ 2): 430-439.
จารุพงศ์ ประสพสุข. 2560. การสุ่มเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืช เพื่อวิเคราะห์สารพิษตกค้าง. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. http://oard3.doa.go.th/pdf/jarupong2.pdf (8 พฤษภาคม 2562).
จิราพร ใจเกลี้ยง, ศิริพร จันทร์มณี และอรพรรณ หนูแก้ว. 2555. การตรวจหายาฆ่าแมลงตกค้างในผักจากตลาดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. น. 263-271. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชนิดา เกิดสรรทัศน์ และฐิติยา แซ่ปัง. 2558. ปริมาณสารตกค้างของคลอร์ไพริฟอสในผักชีหลังฉีดพ่น 3 อัตรา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558. น. 119-127. มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ.
ฐิตาภรณ์ เพ็ชร์ช้อย และฐิติยา แซ่ปัง. 2560. ผลของอัตราการฉีดพ่นคลอร์ไพรีฟอสและ Dimethoate ปริมาณสารตกค้างในต้นหอม
(Allium cepa var. aggregatum). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 48(1): 108-117.
ฐิติยา แซ่ปัง และกรรณิการ์ อ่อนชัย. 2549. ปริมาณสารตกค้างของคลอร์ไพริฟอสและคลอร์เฟนนาเพอร์ที่ฉีดพ่น 3 อัตราในผักคะน้า.
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 37(6): 509-516.
ต้นกล้า. 2557. สารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกษตรอินทรีย์: บทเรียนจากเบลเยียม. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์.
http://oain.info/index.php /ข่าวเด่น/413 (16 พฤษภาคม 2562).
ไทยรีฟอร์ม. 2561. เปิดบทสรุปอนุกรรมการเฉพาะกิจ ส่วนใหญ่เห็นด้วย “จำกัดการใช้พาราควอต”. สำนักข่าวอิศรา.https://www.isranews.org/isranews-article/66215-paraquat-66215.html (25 มีนาคม 2561).
ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล และมาลี สปันตี. 2559. ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชกรรมไทย 8(2): 399-409.
ฝ่ายข้อมูล-ไทยแพน. 2559. รายงานผลการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ครั้งที่ 2/2559. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN). http://www.thaipan.org/node/831 (18 สิงหาคม 2561).
พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน และศรมน สุทิน. 2559. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 5(1): 22-30.
มะลิวัลย์ แซ่ลิ้ม, สุรชาติ พิมพา และฐิติยา แซ่ปัง. 2558. การลดลงของสารฆ่าแมลงคลอร์ไพรินอสในใบโหระพา (Ocimum basilicum Linn)
หลังการฉีดพ่น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46(3): 287-296.
รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง, มลิสา เวชยานนท์, พรชนก ชโลปกรณ์ และปภัสรา คุณเลิศ. 2558. การศึกษาการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชสู่สิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10(2): 22-37.
อังคณา สุวรรณกูฏ. 2559. สารเคมีทางการเกษตรกับระบบการควบคุม. จดหมายข่าวผลิใบ กรมวิชาการเกษตร.http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n19/v_6-july/ceaksong.html (11 มิถุนายน 2561).
Anastassiades, M., Lehotay, S. J., Stajnbaher, D., and Schenck, F. 2003. Fast and easy multiresidue method employing acetonitrile extraction/partitioning and dispersive solid-phase extraction for the determination of pesticide residues in produce.
Journal of AOAC International 86(2): 412-431.
Committee of Health and Food Safety Department. 2016. EU Pesticides database. The European Commission. http://ec.europa.eu/
food/plant/pesticides/eu-pesticides-database/public/?event=pesticide.residue.selection&language=EN (15 July 2017).
Committee of Residue Limits of Agricultural Chemicals. 2016. Maximum residue limits (MRLs) List of agricultural chemicals in foods. The Japan Food Chemical Research Foundation. http://db.ffcr.or.jp/front/ (15 July 2017).
Hanson, B., Bond, C., Buhl, K., and Stone, D. 2015. Pesticide half-life fact sheet; National Pesticide Information Center of Oregon State University. http://npic.orst.edu/factsheets/half-life.html (14 May 2019).
Romyen, S. 2006. Utilization of biomass as sorbent material to prevent organophosphate pesticides contaminate to soil.
Doctor of Philosophy, Environmental Management, Graduate School, Chulalongkorn University.
Sapbamrer, R., and Hongsibsong, S. 2014. Organophosphorus pesticide residues in vegetables from farms, markets, and a supermarket around Kwan Phayao lake of northern, Thailand. Archives of Environmental Contamination and Toxicology 67(1): 60-67.
Siebers, J., and Mattusch, P. 1996. Determination of airborne residues in greenhouse after application of pesticide.
Chemosphere 33(8): 1597-1607.
Wanwimolruk, S., Kanchanamayoon, O., Phopin, K., and Prachayasittikul, V. 2015. Food safety in Thailand 2: pesticide residue found in Chinese kale (Brassica oleracea), a commonly consumed vegetable in Asian countries. Science of the Total Environment 532: 447-455.