ตัวชี้วัดผลผลิตการทำประมงจากการพบเห็นโลมาหลังโหนกบริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

โชติกา พลทองพัท
ศิริพร ประดิษฐ์
สุวัฒน์ จุฑาพฤทธิ์

บทคัดย่อ

ปากแม่น้ำดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นพื้นที่ตั้งท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งและท่องเที่ยว มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์
ทำให้เกิดอาชีพประมงท้องถิ่น ซึ่งผู้มาทำประมงคุ้นเคยกับการพบเห็นโลมาหลังโหนก (Sousa chinensis) ระหว่างทำการประมงบ่อยครั้ง งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการสำรวจบริเวณท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (ท่าเรือแหลมทวด) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงทอดแหต่อการพบเห็นโลมาหลังโหนก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึง ตุลาคม 2560 โดยบันทึกข้อมูลการพบเห็นโลมา การทำประมงปลากระบอก วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักปลากระบอก (กิโลกรัม/ชั่วโมง) ในช่วงเวลาที่มีและไม่มีโลมา โดยใช้สถิติ chi-square และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโลมา (ตัว) ต่อน้ำหนักปลากระบอก (กิโลกรัม) โดยการวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักของปลากระบอกที่จับได้สัมพันธ์กับช่วงเวลาที่พบเห็นโลมา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโลมาต่อน้ำหนักปลากระบอกแสดงให้เห็นว่าชาวประมงจับปลากระบอกได้มากขึ้นเมื่อพบโลมา ซึ่งจำนวนโลมาไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักปลากระบอกที่จับได้ของชาวประมง ดังนั้นการพบโลมาหลังโหนกสามารถเป็นตัวชี้วัดปริมาณของปลากระบอกและบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อีกทั้งข้อมูลที่ได้ยังเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอันมีส่วนช่วยสนับสนุนและวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2559. สร้างบ้านปลาเพิ่มความสมบูรณ์สู่ทะเลดอนสัก. http://dmcr.go.th/home.php/dmcr2014

(15 กรกฎาคม 2559).

ธเนศ ศรีถกล และธิดารัตน์ คงชัย. 2554. ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลากระบอกดำ (Liza subviridis) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช.

กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง.

พงษ์ศธร วงทอง. 2559. การแพร่กระจายของโลมาหลังโหนกในบริเวณชายฝั่งอ่าวดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพื้นที่ใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2558. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. 2560. ภูมิอากาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา.

อติชาต อินทองคำ และพีรศักดิ์ พิทักษ์วาที. 2555. พื้นที่การแพร่กระจาย และประชากรโลมาหลังโหนก (Sousa chinensis) บริเวณอ่าวดอนสัก

จ. สุราษฎร์ธานี และพื้นที่ใกล้เคียง. ชุมพร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง.

อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์, สุกัญญา ไหมเครือแก้ว, ชลิดา เลื่อมใสสุข และสุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง. 2552. การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารจากทะเล

ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2(1): 88-102.

Barros, N. B., Jefferson, T. A., and Parsons, E. C. M. 2004. Feeding habits of Indo-Pacific humpback dolphins (Sousa chinensis) stranded in Hong Kong. Aquatic Mammals 30(1): 179-188.

Biju, K. A., Raj, S., and Sathasivam, K. 2012. Dolphin-assisted cast net fishery in the Ashtamudi Estuary, south-west coast of India.

Indian Fish 59(3): 143-148.

Daura-Jorge, F. G., Cantor, M., Ingram, S. N., Lusseau, D., and Simões-Lopes, P. C. 2012. The structure of a bottlenose dolphin society is coupled to a unique foraging cooperation with artisanal fishermen. Biology Letters 8: 702-705.

Gregory, P. R., and Roden, A. A. 2001. Behaviour patterns of bottlenose dolphins (Tursiops truncatus) relative to tidal state,

time-of-day, and boat traffic in Cardigan Bay, West Wales. Aquatic Mammals 27(2): 105-113.

Jutapruet, S., Huang, S. L., Li, S., Lin, M., Kittiwattanawong, K., and Pradit, S. 2015. Population size and habitat characteristics of

the Indo-Pacific humpback dolphin (Sousa chinensis) off Donsak, Surat Thani, Thailand. Aquatic Mammals 41(2): 129-142.

Jutapruet, S., Intongcome, A., Wang, X., Kittiwattanawong, K., and Huang, S. L. 2017. Distribution of three sympatric cetacean species off the coast of the central-western Gulf of Thailand. Aquatic Mammals 43(5): 465-473.

Karczmarski, L., Huang, S. L., Wong, W. H., Chang, W. L., Chan, S. C., and Keith, M. 2017. Distribution of a coastal delphinid under the impact of long-term habitat loss: Indo-Pacific humpback dolphins off Taiwan’s west coast. Estuaries and Coasts 40(2): 594-603.

Kumar, A. B., Raj, S., and Sathasivam, K. 2012. Dolphin-assisted cast net fishery in the Ashtamudi Estuary, south-west coast of India. Indian Journal of Fisheries 59(3): 143-148.

Smith, B. D., Tun, M. T., Chit, A. M., Win, H., and Moe, T. 2009. Catch composition and conservation management of a human- dolphin cooperative cast-net fishery in the Ayeyarwady River, Myanmar. Biological Conservation 142: 1042-1049.

Wu, H., Xu, Y., Peng, C., Liao, Y., Wang, X., Jefferson, T. A., Huang, H., and Huang, S. L. 2017. Long-term habitat loss in a lightly-disturbed population of the Indo-Pacific humpback dolphin (Sousa chinensis). Aquatic Conservation: Marine and Freshwater Ecosystems 27(6): 1198-1208.

Xianyan, W., Jutaprauet, S., Huang, S. L., Turvrey, S., Fuxing, W., and Qian, Z. 2018. External injuries of Indo-Pacific humpback dolphins (Sousa chinensis) in Xiamen, China, and its adjacent waters as an indicator of potential fishery interactions. Aquatic Mammals 44(3): 285-292.