ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ และผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ

Main Article Content

นุชจรี ทัดเศษ
การันต์ ผึ่งบรรหาร
ลลิดา อุดธา

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของ BA (6-benzyladenine) และ NAA (1-Naphthaleneacetic acid) ต่อการเจริญเติบโตและ
การพัฒนาของกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อและผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อ สูตรอาหารที่ใช้ในการชักนำการเกิดยอด ชักนำการเกิดราก และวัสดุปลูกที่
เหมาะสมในการย้ายปลูกในสภาพธรรมชาติ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized
Design : CRD) จากผลการศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อบริเวณปลายยอดของกล้วยหินด้วยสารละลายโซเดียม
ไฮโปคลอไรท์ จำนวน 3 วิธี เพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ พบว่า การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายโซเดียม
ไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 10 นาที มีอัตราการรอดชีวิตสูงสุดเท่ากับ 100.00±0.00 เปอร์เซ็นต์
(p>0.05) เมื่อนำต้นกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อที่มีอายุ 1 เดือน มาชักนำให้เกิดยอด เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร
MS ที่เติม BA ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน 6 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นระยะ
เวลา 20 สัปดาห์ พบว่า อาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดเท่ากับ
41.67±4.17 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) เกิดรากเท่ากับ 16.67±4.17 เปอร์เซ็นต์ (p>0.05) และทำให้จำนวนใบสูงสุดเท่ากับ
1.33±0.17 ใบ (p<0.05) สำหรับการชักนำการเกิดรากของกล้วยหินที่มีอายุ 6 เดือน เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร
MS ที่เติม NAA ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน 4 ระดับ ได้แก่ 0, 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์
พบว่า อาหารแข็งสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุดเท่ากับ
71.43±18.44 เปอร์เซ็นต์ (p>0.05) สำหรับการย้ายออกปลูกในสภาพธรรมชาติ ทำการทดสอบในวัสดุปลูกแตกต่างกัน
3 ชนิด ได้แก่ พีทมอส ทราย และทรายผสมขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 เพาะปลูกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า
วัสดุปลูกพีทมอสมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุดเท่ากับ 83.33±16.67 เปอร์เซ็นต์ (p>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร.2544. กล้วย. แหล่งที่มา:http://www.doae.go.th/lobrary/html/detail/ banana/ index1.html,
14 มิถุนายน 2560.
เจนจิรา ชุมภูคำ, นนทกร พรธนะวัฒน์, ณัฐพงค์ จันจุฬา, ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์, เบ็ญจารัชด ทองยืน และมาริษา สุขปานแก้ว.
2559. วิธีการฟอกฆ่าเชื้อ การงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของมัลเบอร์รี่ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย. 5(3): 265-272.
นิพิจ พินิจผล และพีระศักดิ์ ฉายประสาท. 2551. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 39(3)
(พิเศษ): 116-119.
เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2558. กล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 512 น.
ยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ และอัญชลี จาละ. 2557. อิทธิพลของ BA และ NAA ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนยอดต้นพรมมิโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 3(1): 7-14.
เยาวพา จิระเกียรติกุล และขวัญจิตต์ บุญหา. 2552. การเพิ่มจำนวนต้นและชักนำการเกิดรากในสภาพปลอดเชื้อของต้นสร้อยสายเพชร.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 17(3): 61-67.
ราฮีมา วาแมดีซา และ สะมะแอ ดือราแม. 2554. การเพิม่ จำนวนกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารมหาวิทยาลยั นราธิวาสราชนครินทร์.
3(3): 47-59.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2558. สถานการณ์การปลูกกลว้ ยหิน ปี 2558. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร. http://production,doae.go.th/, 28 เมษายน 2558.
สุมิตรา สุปินราช และ อิศร์ สุปินราช. 2557. ศึกษาผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าเอื้องผึ้งในสภาพปลอดเชื้อ.
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 19(2): 85-92.
สุมิตรา สุปินราช และอิศร์ สุปินราช. 2557. ผลของ IBA และ NAA ต่อการชักน?ำให้เกิดรากของต้นอ่อนกล้วยไม้ช้างการ์ตูนในสภาพ
ปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22(4): 507-514.
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2524. ไม้ดอกกระถาง. อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ.
อรุณี ม่วงแก้วงาม. 2557. การขยายพันธุ์กล้วยหินด้วยวิธีการเพาะลี้ยงเนื้อเยื่อปลายยอด. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 1(3): 24-27.
อุบล สมทรง, วรรณา กอวัฒนาวรานนท์ และไสว แจ่มแจง้ . 2556. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันเสา. วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลยั
ราชภัฏเพชรบุรี. 30-39.
อรพนิ เสละคร. 2557. ผลของ BA และ IBA ตอ่ การเพิม่ ปรมิ าณหนอ่ และการออกรากของผกั หวานปา่ ในสภาพปลอดเชือ้ . ราชภฏั เพชรบูรณ์สาร.
16(1): 86-93.
อรพิน เสละคร. 2559. การขยายพันธุ์กล้วยน?้ำว้ามะลิอ่องด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, น. 193-198. ใน การประชุมวิชาการงานเกษตร
นเรศวร ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
Cha-um, S., C. Kirdmanee, P. X. Huyen, and T. Vathany. 2007. Disease-free production and preservation of in vitro banana
(Musa spp.). Acta Horticulturae. 760: 233-240.
Hassan, N. S. 2004. Storage of in vitro banana shoot cultures at low temperature or under mineral oil layer. International
Journal of Agriculture and Biology 6(2): 303-306.
Rahman, Md. M., Md. G. Rabbani, M. A. Rahman, and Md. F Uddin. 2002. In vitro shoot multiplication and rooting of banana
cv Sabri. Pakistan Journal of Biological Science. 5(2): 161-164.
Singh, H.P., S. Selvarajan, R. Uma., and J. L. Karihaloo. 2011. Micropropagation for production of quality banana planting
material in Asia-Pacific. Asia-Pacific Consortium on Agricultural Biotechnology (APCoAB), New Delhi, India. p. 92.
Tokoporo, G. L., A. A. Elhassan, and M. A. Ali. 2013. Effect of nutrient medium concentration and temperature on short-term
in vitro conservation of shoot-tip explants of banana. JONARES. 1: 37-40.