ผลของ KNO3 และ GA3 ต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกระชับ (Xanthium strumarium L.)

Main Article Content

กานต์ติมา ธีรางกูร
พิจิตรา แก้วสอน
ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิธีทำลายการพักตัวของเมล็ดพันธุ์กระชับด้วยสารละลาย KNO3 และ GA3
ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อทำให้เมล็ดมีความงอกสูงขึ้น โดยทดสอบความงอกในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการเพาะเมล็ดระหว่างกระดาษชื้นที่มีน้ำหรือสารละลายชนิดต่าง ๆ เป็นวัสดุที่ให้ความชื้น เป็นเวลา 21 วัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์
มี 5 ทรีตเมนต์ จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 25 เมล็ด ได้แก่ น้ำ reverse osmosis (RO) (ชุดควบคุม) สารละลาย KNO3 ความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และสารละลาย GA3 ความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ และ 0.05 เปอร์เซ็นต์ บันทึกข้อมูลที่ 21 วันหลังทดสอบ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความงอก จำนวนวันที่เมล็ดมีรากงอก และเวลาเฉลี่ยในการงอก ผลการทดลองพบว่าเมล็ดที่เพาะระหว่างกระดาษชื้นด้วยสารละลาย KNO3 ความเข้มข้น 0.2 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และสารละลาย GA3 ความเข้มข้น 0.02
และ 0.05 เปอร์เซ็นต์ มีความงอกสูงที่สุดและไม่แตกต่างทางสถิติ (86.00-96.00 เปอร์เซ็นต์) ส่วนการเพาะเมล็ดบนกระดาษชื้นด้วยน้ำ RO (ชุดควบคุม) มีความงอกต่ำที่สุด (74.00 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ การเพาะเมล็ดระหว่างกระดาษชื้นด้วยสารละลายที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ไม่มีผลต่อจำนวนวันที่เมล็ดมีรากงอกและเวลาเฉลี่ยในการงอกเมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเมล็ดบนกระดาษชื้นด้วยน้ำ RO (ชุดควบคุม) ดังนั้น สารละลาย KNO3 ความเข้มข้น 0.2 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และสารละลาย GA3
ความเข้มข้น 0.02 และ 0.05 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำลายการพักตัวของเมล็ดกระชับได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา สวัสดี. 2559. ผลของการกระตุ้นความงอกด้วยสารเคมีต่อคุณภาพของเมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์สามเดือน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี.

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เดลินิวส์. 2561. วิจัยและพัฒนา การปลูกกระชับ. https://www.dailynews.co.th/agriculture/643928 (16 พฤษภาคม 2562).

นพดล แสงวิลัย. 2556. ผักกระชับเมืองแกลง กิโลละสองร้อย. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/content/344699 (16 พฤษภาคม 2562).

พิจิตรา แก้วสอน, สุรศักดิ์ เกษมสิริสวัสดิ์, ปริยานุช จุลกะ และจำนอง โสมกุล. 2556. การกระตุ้นความงอกของเมล็ดพันธุ์มะตาด

(Dillenia indica L.) ด้วยน้ำ, GA3 และ KNO3. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 44(2): 85-88.

ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา. 2547. กระชับ. ใน ราชบัณฑิตยสถาน, หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. น. 26-27.

กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.

รณรงค์ อยู่เกตุ, ภัทรพล บุตรฉิ้ว และวิไลลักษณ์ ชินะจิตร. 2557. ผลของวัสดุเพาะกล้าและการแช่เมล็ดพันธุ์ที่มีต่อการผลิตทานตะวันงอก.

แก่นเกษตร 42(3): 926-930.

วัชรพล ประทุมทอง, พิจิตรา แก้วสอน และทัศไนย จารุวัฒนพันธ์. 2561. การกระตุ้นความงอกของเมล็ดพันธุ์สนดำญี่ปุ่น (Pinus thunbergii Parl.) ด้วยสารละลายกรดจิบเบอเรลลิก. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 (สาขาพืช). น. 9-16. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิสูตร ช่างเหล็ก. 2556. ผักกระชับจากผักพื้นบ้านสู่ธุรกิจชุมชน. วารสาร “เพื่อน” SCG Chemicals 3(15): 4-4.

สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2518. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานหอพรรณไม้. 2561. กระชับ. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้. www.dnp.go.th/botany (10 พฤษภาคม 2562).

สุคุณวัต สุขแก้ว. 2559. ผลของการกระตุ้นความงอกด้วยสารเคมีต่อคุณภาพของเมล็ดมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี.

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาริตา วจีสุนทร. 2559. ผลของการกระตุ้นความงอกด้วยสารเคมีต่อคุณภาพของเมล็ดมะเขือพวงพันธุ์พวงหยก. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี.

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Chopra, R. N., Nayar, S. L., and Chopra, I. C. 1956. Glossary of Indian medicinal plants. New Delhi: CSIR.

Copeland, L. O., and McDonald, M. B. 1995. Principles of seed science and technology. New York: Springer Science & Business Media.

Dhillon, N. P. S. 1995. Seed priming of male sterile muskmelon (Cucumis melo L.) for low temperature germination. Seed Science and Technology 23: 881-884.

Ellis, R. H., and Roberts, E. H. 1980. Improved equation for the prediction of seed longevity. Annals of Botany 45(1): 13-30.

Esashi, Y., and Leopold, A. C. 1968. Physical forces in dormancy and germination of Xanthium seeds. Plant Physiology 43: 871-876.

Esashi, Y., and Katoh, H. 1977. Dormancy and impotency of cocklebur seeds IV. effects of gibberellic acid, benzyladenine, thiourea and potassium nitrate on growth of embryonic axis and cotyledon segments. Plant Physiology 59: 117-121.

Esashi, Y., Katoh, H., Hata, Y., and Goto, N. 1976. Dormancy and impotency of cocklebur seeds: VII. inability of dormant cotyledons to form chlorophyll. Plant Physiology 59: 122-125.

Foroughi, A., Gherekhloo, J., and Ghaderi-Far, F. 2014. Effect of plant density and seed position on mother plant on physiological characteristic of cocklebur (Xanthium strumarium) seeds. Planta Daninha 32(1): 61-68.

Hayati, N. E., Sukprakarn, S., and Juntakool, S. 2005. Seed germination enhancement in Solanum stramonifolium and

Solanum torvum. Kasetsart Journal (Natural Science) 39: 368-376.

Hilton, J. R., and Thomas, J. A. 1986. Regulation of pregerminative rates of respiration in seeds of various weed species by potassium nitrate. Journal of Experimental Botany 37: 1516-1524.

ISTA. 2018. International rules for seed testing. International Seed Testing Association (ISTA). Switzerland: Basserdorf.

Karimmojeni, H., Zareh, A., Keshtkar, E., Mashhadi, H. R., and Alizadeh, H. M. 2010. Dormancy breaking of cocklebur

(Xanthium strumarium L.) seeds. Iranian Journal of Field Crop Science 41(3): 503-511.

Kingsbury, J. M. 1964. Poisonous plants of the United States and Canada. USA: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs, N. J.

Perry, L. M., and Metzger, J. 1980. Medicinal plants of east and southeast Asia. England: The MIT Press, Cambridge (Mass.).

Saric, M., Bozic, D., Pavlovic, D., Elezovic, I., and Vrbnicanin, S. 2012. Temperature effects on common cocklebur

(Xanthium strumarium L.) seed germination. Romanian Agricultural Research 29: 389-393.