ศักยภาพของดิน และความเหมาะสมของที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่น้ำมังเมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

Main Article Content

วีคำ เมฆตระกูล
เสาวนุช ถาวรพฤกษ์
ณัฐพล จิตมาตย์
เอิบ เขียวรื่นรมณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพของดิน และความเหมาะสมของที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่น้ำมัง เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ (ส.ป.ป.ลาว) ทําโดยเก็บตัวอย่างดินตัวแทนของดินทั้งหมดในบริเวณเขตการศึกษาจำนวน 12 บริเวณ วิธีการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาในภาคสนาม ทำการวิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และแร่วิทยา ตามวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ และความเหมาะสมของที่ดินต่อการปลูกพืชในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ดินเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มดิน Plinthaquult, Plinthudult, kandiaquult, Paleaquults, Paleudult, Endoaqualf และ Hapludalf ผลวิเคราะห์ทางเคมี พบว่า ดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุตํ่ามากถึงสูงมาก ปริมาณไนโตรเจนรวมต่ำมากถึงปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ต่ำมากถึงสูงมาก ปริมาณความจุแลก เปลี่ยนแคตไอออน ปริมาณด่างรวมที่สกัดได้ ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ ต่ำมากถึงปานกลาง ค่าร้อยละความอิ่มตัวงเบสต่ำถึงปานกลาง  และค่าร้อยละความอิ่มตัวอะลูมินัม พบว่า มีค่าอยู่ในพิสัยร้อยละ (3.22-91.52%) ผลการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน พบว่า ดินบนส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ยกเว้นพีดอน 9 มีความอุดมสมบูรณ์สูง ผลการประเมินสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินจำแนกเป็น Lgakem, Lgkem, Cge, Cgke, Lakem, Lake, Lkem, Lke, Lem, L และ LCr+ke ดินส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องความเป็นพิษจากอะลูมินัม (a) ดินมีการขังน้ำ (g) ขาดโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (K) ดินมีโอกาสสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยกระบวนการชะละลายได้ง่าย (e) และดินมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำมาก (m) ผลการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ พบว่า ดินส่วนใหญ่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่ และไม้ยืนต้นในระดับปานกลาง (S2)  มีบางบริเวณที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเล็กน้อย (S3) ในพีดอน 3 และ 5 ไม่เหมาะสม (N) สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจใดเนื่องด้วยมีข้อจำกัดในเรื่องการขังน้ำ ยกเว้นการปลูกข้าวมีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) สรุปผลการศึกษา พบว่า ลักษณะดินในพื้นที่โดยส่วนใหญ่มีศักยภาพต่ำถึงปานกลางในการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืช โดยมีข้อจำกัด คือ ความเสียหายจากน้ำท่วม (f) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o)  ในพื้นที่ลุ่ม และด้านความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) ในพื้นที่ดอน นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน (s)  และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) ต่ำ มีบางบริเวณพบข้อจำกัดด้านการหยั่งลึกของรากพืช (r)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวางแผนการใช้ที่ดิน. 2535. คู่มือการวิเคราะห์การใช้ที่ดิน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กองสำรวจดิน. 2523. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการเล่มที่ 28. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัณฑิต ตันศิริ และคํารณ ไทรฟัก. 2542. การประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

แผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงบริคำไซ. 2559. บทสรุปการจัดตั้งปฏิบัติแผนพัฒนากสิกรรม และ ป่าไม้ ประจำปี 2015-2016

และทิศทางแผนการประจำปี 2016-2017. ปากชัน: แผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงบริคำไซ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้. (ภาษาลาว).

ศูนย์ค้นคว้าที่ดินกสิกรรม. 2551. ผลการสำรวจ กำหนดแบ่งเขตการผลิตกะสิกำ และป่าไม้เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ ถึง ปี 2563.

เมืองท่าพระบาท: ห้องการกสิกรรมและป่าไม้เมืองท่าพระบาท แผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงบริคำไซ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้. (ภาษาลาว).

ศูนย์สำรวจและแบ่งเขตดินกสิกรรม. 2536. การสำรวจและแบ่งเขตดินกสิกรรม แขวงบอลิคำไซ. กรมปลูกฝัง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้.

(ภาษาลาว).

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2552. คู่มือปฏิบัติการ การสำรวจดิน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bloom, P. R. 2000. Soil pH and pH buffering. In Handbook of Soil Science, M. E. Sumner, ed. pp. B333-B352.

Florida: CRC Press LLC.

Bray, R. H., and Kurtz, L. T. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45.

Buol, S. W., Southard, R. J., Graham, R. C., and McDaniel, P. A. 2011. Soil Genesis and Classification, 6th ed.

Chichester: John Wiley & Sons.

Chapman, H. D. 1965. Cation-exchange capacity. In Methods of Soil Analysis. Part II Chemical and Microbiological Properties, Agronomy No.9., C. A. Black, ed. pp 891-901. Madison, Wisconsin: America Society of Agronomy.

Food and Agriculture Organization. 1984. Guidelines: land evaluation for forestry. Forestry Paper 48.

Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Gee, G. W. and Bauder, J. W. 1986. Particle-sized analysis. In Methods of Soil Analysis. Part I Physical and Mineralogical Methods, Agronomy No.9, 2nd Edition, A. Klute, ed. pp. 383-411. Madison, Wisconsin: America Society of Agronomy.

Havlin, J. L., Beaton, J. D., Tisdale, S. L., and Nelson, W. L. 2005. Soil fertility and fertilizer: an introduction to nutrient management. 7th ed. New Jersey: Pearson Educational.

National Soil Survey Center. 1996. Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0.

Washington, D.C.: United States Department of Agriculture, United States Government Printing Office.

Pratt, P. F. 1965. Potassium. In Methods of Soil Analysis. Part II Chemical and Microbiological Properties, Agronomy No.9.,

C. A. Black, ed. pp 1022-1030. Madison, Wisconsin: America Society of Agronomy.

Sanchez, P. A. 1976. Properties and management of soil in the tropics. New York: John Wiley & Sons.

Sanchez, P. A., Palm, C. A., and Buol, S. W. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma 114: 157-185.

Sanchez, P. A., and Salinas, J. G. 1981. Low-input technology for managing Oxisols and Ultisols in Tropical America.

Advances in Agronomy 34: 279-406.

Soil Science Division Staff. 2017. Soil survey manual, agriculture handbook No. 18. Washington, D.C.: Government Printing Office.

Soil Survey Staff. 2014. Keys to soil taxonomy, 12th ed. Washington, D.C.: Government Printing Office.

Thomas, G. W. 1982. Exchange cations. In Methods of Soil Analysis. Part II, Agronomy No.9, 2nd Edition, A. L. Page, ed.

pp. 159-165. Madison, Wisconsin: America Society of Agronomy.

Virgo, K. J., and Holmes, D. A. 1977. Soils and landform features of mountainous terrain in South Thailand. Geoderma 18(3): 207-225.

Weil, R. R., and Brady, N. C. 2017. The nature and properties of soils. 15th ed. New Jersey: Pearson Education.