คุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของไบโอแคลเซียมจากก้างปลาทูน่าโดยวิธีการสกัด

Main Article Content

ภาวิตา จินตนานฤมิตร
ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร
พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์

บทคัดย่อ

    ก้างปลาทูน่า คือ ผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการนำก้างปลาทูน่ามาสกัดเป็นผงไบโอแคลเซียมโดยใช้วิธีอัลคาไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์จากก้างปลาทูน่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณโปรตีนและไขมันในผงไบโอแคลเซียมลดลง ปริมาณเถ้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการที่มีปริมาณไขมันต่ำจะช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นหืน และส่งผลต่ออายุการเก็บรักษา ผงไบโอแคลเซียมควรมีสีขาว และปราศจากกลิ่นคาว งานวิจัยนี้ได้มีการนำก้างปลาทูน่ามาสกัดเป็นผงไบโอ-แคลเซียมโดยวิธีการสกัด 4 วิธี ได้แก่ 1) วิธีอัลคาไลน์ 2) วิธีอัลคาไลน์ร่วมกับความร้อน 3) วิธีอัลคาไลน์ร่วมกับความร้อน และมีการกำจัดไขมันและการฟอกสีเป็นกระบวนการเสริม และ 4) วิธีอัลคาไลน์และมีการกำจัดไขมันเป็นกระบวนการเสริม ผลการวิจัยพบว่าผงไบโอแคลเซียมอุดมไปด้วยแคลเซียม (18.74%-21.45%) และฟอสฟอรัส (9.46%-10.28%) องค์ประกอบทางเคมีและค่าสีของผงไบโอแคลเซียมพบว่า วิธีอัลคาไลน์และมีการกำจัดไขมันเป็นกระบวนการเสริมมีค่าโปรตีนสูงที่สุด (29.94%) ค่าไขมันต่ำที่สุด (0.84%) ค่า b* ต่ำที่สุด (12.48%) และค่า L* ต่ำกว่าวิธีอัลคาไลน์ร่วมกับความร้อนและมีการกำจัดไขมันและการฟอกสีเป็นกระบวนการเสริมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) จากผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะทางกายภาพ เคมี และคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของผงไบโอแคลเซียมที่ยอมรับได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. 2561. สินค้าออกสำคัญ 10 อันดับแรก. การค้าไทย. http://www2.ops3.moc.go.th/ (5 กรกฎาคม 2561).

ผกาวดี ภู่จันทร์. 2559. ผลของการเสริมแคลเซียมจากกระดูกปลาสลาดต่อการยอมรับของผลิตภัณฑ์คุกกี้. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences 17(1): 54-61.

Abbey, L., Amengor, M. G., Atikpo, M. O., Atter, A., and Toppe, J. 2017. Nutrient content of fish powder from low value fish and

fish byproduct. Food Science and Nutrition 5(3): 374-379.

Association of Official Chemists (AOAC). 2016. Official methods of analysis of Association of Official Analytical Chemists. 20th ed. Rockville, Maryland: Association of Official Analytical Chemists International.

Benjakul, S., and Karnjanapratum, S. 2018. Characteristics and nutritional value of whole wheat cracker fortified with tuna bone

bio-calcium powder. Food Chemistry 259: 181-187.

Benjakul, S., Mad-Ali, S., and Sookchoo, P. 2017. Characteristics of bio-calcium powders from pre-cooked tongol (Thunnus tonggol) and yellowfin (Thunnus albacores) tuna bones. Food Biophysics 12: 412-421.

Beto, J. A. 2015. The role of calcium in human aging. Clinical Nutrition Research 4: 1-8.

Nemati, M., Huda, N., and Ariffin, F. 2017. Development of calcium supplement from fish bone wastes of yellowfin tuna

(Thunnus albacares) and characterization of nutritional quality. International Food Research Journal 24(6): 2419-2426.

Sayana, K. S., and Sirajudheen, T. K. 2017. By-product from tuna processing wastes-an economic approach to coastal waste management. In Proceedings of the International Seminar on Coastal Biodiversity Assessment. pp. 411-420.

Talib, A., Suuprayitno, E., Aulani, A. M., and Hardoko. 2014. Physico-chemical properties of Madidihang (Thunnus albacares Bonnaterre) fish bone flour in Ternate, North Moluccas. International Journal of Biosciences 4(10): 22-30.