ผลของการพรางแสงต่อการเกิดรากและไรโซมในการปักชำแผ่นใบย่อยของต้นกวักมรกต

Main Article Content

สุภาพร สุกประเสริฐ
กฤษณา กฤษณพุกต์
ลพ ภวภูตานนท์

บทคัดย่อ

แสงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเกิดราก และพัฒนาการของรากของกิ่งปักชำ แต่แสงแดดในฤดูร้อน
ของประเทศไทยมีความเข้มแสงสูงซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเกิดรากของกิ่งปักชำได้ ศึกษาผลของการพรางแสง
ด้วยตาข่ายพรางแสงพลาสติกสีดำระหว่างการปักชำต่อการเกิดรากและไรโซมในการปักชำแผ่นใบย่อยของต้นกวัก
มรกตในพีทมอส ภายใต้สภาพโรงเรือนระแนงมีหลังคาพลาสติกใสกันฝนที่มีความเข้มแสงเฉลี่ยตอนกลางวัน
846.0 μ mol.m-2.s-1 การพรางแสงทำให้ความเข้มแสงเฉลี่ยลดลงเหลือ 473.2 μ mol.m-2.s-1 อุณหภูมิสูงสุดตอนกลาง
วันลดลง 5°C และความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนเพิ่มขึ้น 8 – 13% หลังการปักชำ 60 วัน พบว่าแผ่นใบย่อยทั้งหมดเกิด
ราก และเกิดไรโซมขนาดเล็ก 1 ไรโซมต่อแผ่นใบ การพรางแสงทำให้แผ่นใบปักชำมีจำนวนรากใหม่ต่อแผ่นใบน้อยกว่า
แต่ไม่มีผลต่อความยาวของรากและขนาดของไรโซมที่ได้ เมื่อย้ายแผ่นใบปักชำที่เกิดรากทั้งหมดไปปลูกในกระถาง
ขนาด 4 นิ้ว และจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันเพื่อติดตามการเกิดยอดใหม่ พบว่า หลังการย้ายปลูก 4 เดือน แผ่น
ใบที่ปักชำในสภาพแสงทั้ง 2 ระดับ มีการเกิดยอดใหม่ไม่แตกต่างกัน มีแผ่นใบที่เกิดยอดใหม่เพียง 20.0% ยอดใหม่ที่
ได้มีลักษณะผันแปร มีทั้งยอดสั้น มีใบย่อย 2 ใบต่อยอด และยอดยาว มีใบย่อย 4 – 6 ใบต่อยอด และพบว่าแผ่นใบที่
ปักชำในสภาพพรางแสงให้จำนวนใบย่อยต่อยอดน้อยกว่า หลังการย้ายปลูก 8 เดือน แผ่นใบที่ปักชำในสภาพแสง
ทั้ง 2 ระดับ มีการเกิดยอดใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 84.4% ยอดใหม่ที่ได้มีความยาว และจำนวนใบย่อยต่อยอดไม่แตกต่างกัน
ดังนั้นการพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสงพลาสติกสีดำระหว่างการปักชำแผ่นใบย่อยของต้นกวักมรกตในพีทมอส
ภายใต้สภาพโรงเรือนระแนงมีหลังคาพลาสติกใสกันฝนไม่ทำให้การเกิดรากและไรโซมที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รชต สินทนะโยธิน กฤษณา กฤษณพุกต์ และ ลพ ภวภูตานนท์. 2557. อิทธิพลของวัสดุปักช?ำต่อการเกิดรากและไรโซมในการปักช?ำแผ่น
ใบของกวักมรกต. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 3: 17 – 25.
Blanchard, M. G. and R.G. Lopez. 2007. ZZ plant is an easy choice for tough indoor use. Greenhouse Production and
Management Magazine (January): 50 – 56.
Chen, J. and R. J. Henny. 2003. ZZ: A unique tropical ornamental foliage plant. HortTech. 13: 458 – 462.
Chen, J., R. J. Henny and D. B. McConnell. 2004. Cultural guidelines for commercial production of interiorscape ZZ
(Zamioculcas zamiifolia). Document no. ENH997. Environmental Horticulture Department, Florida Cooperative
Extension Service, Institute of Food and Agricultural Sciences, University of Florida, 3 p.
Cutter, E.G. 1962. Regeneration in Zamioculcas: an experimental study. Annals Bot. 26: 55 – 70.
Elad, Y., Y. Messika, M. Brand, D . R. David and A. Sztejnberg. 2007. Effect of colored shade nets on pepper powdery
mildew (Leveillula taurica). Phytoparasitica 35: 285 – 299.
Healey, K. D., K. G. Rickert, G. L. Hammer and M. P. Bange. 1998. Radiation use efficiency increases when the diffuse
component of incident radiation is enhanced under shade. Aust. J. Agr. Res. 49: 665 – 672.
Lopez, R. G., M. G. Blanchard and E. S. Runkle. 2009. Propagation and production of Zamioculcas zamiifolia. Acta Hort.
813: 559 – 564.
Runkle, E. 2016. Managing light to improve rooting of cuttings. Greenhouse Production and Management Magazine
(September): 62.
Stamps, R. H. 2009. Use of colored shade netting in horticulture. HortSci. 44: 239 – 241.
Svenson, S. E. and F. T. Davies, Jr. 1990. Relation of photosynthesis, growth and rooting during poinsettia propagation.
Proc. Fla. State Hort. Soc. 103: 174 – 176.
Tombesi, S., A. Palliotti, S. Poni and D. Fallinelli. 2015. Influence of light and shoot development stage on leaf
photosynthesis and carbohydrate status during the adventitious root formation in cuttings of Corylus avellana L.Front.
Plant Sci. 6: 1 – 13.