การแก้การพักตัวของเมล็ดเท้ายายม่อม

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ คำมะปะนา
ศิริพร มุลาลินน์
สุภาวดี ตั้งธีระวัฒนะ

บทคัดย่อ

การพักตัวของเมล็ดเท้ายายม่อม เป็นปัญหาที่สำคัญในการเพาะปลูก ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา
วิธีแก้การพักตัวและกระตุ้นการงอกของเมล็ดเท้ายายม่อม โดยทำการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2561 วางแผนการทดลองแบบส่มุ สมบูรณ์ (Completely Randomized Design;
CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยมีวิธีการทดลอง 4 วิธีการ ประกอบด้วย 1) เมล็ดควบคุม 2) การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่สภาพ
อุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง 3) การเก็บรักษาเมล็ดที่สภาพอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส นาน 14 วัน (prechill) และ
4) ล้างเมล็ดด้วยน้ำสะอาด จากผลการทดลองพบว่าวิธีแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์เท้ายายม่อมทุกวิธีการ ทำให้เมล็ด
เท้ายายม่อมมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และค่า days to emergence มีค่ามากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัย
สำคัญยิ่ง โดยการแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่สภาพอุณหภูมิห้อง นาน 24 ชั่วโมง ทำให้เมล็ดมีอัตราการเจริญเติบโตของต้น
กล้าดีที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ แต่มีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และ
ค่า days to emergence ไมแ่ ตกต่างจากการเก็บรักษาเมล็ดที่สภาพอุณหภูมิ 10 องศา-เซลเซียส นาน 14 วัน (prechill)
และการล้างเมล็ดด้วยน้ำสะอาด อย่างไรก็ตามจากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่สภาพ
อุณหภูมิห้อง นาน 24 ชั่วโมง มีแนวโน้มทำให้เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และค่า days to emergence
มีค่ามากกว่าวิธีแก้การพักตัวของเมล็ดเท้ายายม่อมวิธีการอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถุงเงิน. 2555. หลากหลายสรรพคุณกับสมุนไพรไทย. หนังสือพิมพ์กสิกร. 85 (4) : 58-59.
ณกัญญา พลเสน ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย อภิรดี อุทัยรัตกิจ และพนิดา บุญฤทธิ์ธงไชย. 2553. การปรับปรุงการงอกเมล็ดพันธุ์แฟงที่พักตัว
ด้วยวิธี Scarification. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 (3/1): 549-552.
ลัดดาวัลย์ คำมะปะนา ทักษอร บุญชู และทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย. 2550. การกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ฟักเขียวโดยใช้เอทธิฟอน.
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38 (6): 283-286.
วสุ อมฤตสุทธิ์. 2546. การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธ์ุ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.อุบลราชธานี. 124 น.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธ์ุพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.276 น.
Chaves, I.S., Silva, N.C.Q. and Ribeiro, D. M. 2017. Effect of the seed coat on dormancy and germination in Stylosanthes
humilis H. B. K. seed. Journal of Seed Science, 39: 114-122.
Golmohammadzadeh, S., Zaefarian, F. and Rezvani, M. 2015. Effect of some chemical factors, prechilling treatment and
interactions on the seed dormancy-breaking of two Papaver species. Weed Biology and Management, 15: 11-19.
ISTA. 2007. International Rules for Seed Testing, International Seed Testing Association, Bassersdorf, Switzerland. 21 p.
Jackson, M.B. 1994. Root-to-shoot communication in flooded plants, involvement of abscisic acid, ethylene and 1-aminocy
clopropane-1-carboxylic acid. Agronomy Journal, 86(5): 775-781.
Keshtkar, A.R., Keshtkar, H.R., Razavi, S.M. and Dalfardi, S. 2008. Methods to break seed dormancy of Astragalus
cyclophyllon. African Journal of Biotechnology, 7 (21) : 3874-3877.
Tiwari, R. K. S., Chandra, K. K. and Dubey, S. 2018. Techniques for breaking seed dormancy and its efficacy on seed
germination of six important medicinal plant species. International Journal of Agriculture, Environment and Biotechnology,
11(2): 293-301.
Travios, I.S., Economou, G. and Karamanos, A.I. 2007. Germination and emergence of the hard seed coated Tylosema
esculentum (Burch) L. Schreib in response to different pre-sowing seed treatments. Arid Environments, 68: 501-507.