อิทธิพลของการพ่นฮอร์โมนพืชและซูโครสก่อนการเก็บเกี่ยวต่อการพัฒนาสีผิวผล มะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์มหาชนก

Main Article Content

นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
อุบล ชินวัง

บทคัดย่อ

มะม่วงพันธุ์มหาชนก (Mangifera indica L. cv. Mahachanok; syn. Mahajanaka) เป็นมะม่วงสายพันธุ์
หนึ่งที่นิยมส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพราะมีลักษณะเด่นคือ ผิวผลมีพื้นที่แต้มสีแดง ซึ่งเป็นสารแอนโทไซยา
นินชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่พบในการผลิตมะม่วงพันธุ์นี้คือ ผิวผลมักมีพื้นที่แต้มสีแดงน้อยและไม่
สม่ำเสมอทั่วทั้งผล การจัดการคุณภาพเรื่องสีผิวผลระยะก่อนการเก็บเกี่ยวทำได้ยาก ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการพ่นฮอร์โมนพืชและซูโครสในระยะก่อนการเก็บเกี่ยวต่อการพัฒนาสีผิวผลมะม่วงพันธุ์
มหาชนกในฤดูการผลิตปี 2556 และ 2557 การพ่นสารละลาย methyl jasmonate (MJ) benzyl adenine (BA)
ความเข้มข้น 50 ppm และน้ำตาลซูโครส (Sucrose) ความเข้มข้น 10% บนผิวผลมะม่วง ดำเนินการจำนวน 2 ครั้ง
เมื่อผลมีอายุ 65 และ 80 วันหลังดอกบาน และเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีอายุ 110 วันหลังดอกบาน ผลการศึกษาพบว่า มะม่วง
ที่ติดผลอยู่ภายนอกทรงพุ่มเกิดแต้มสีแดงบนผิวผลมากกว่า (P≤0.05) ผลที่อยู่ภายในทรงพุ่ม 5.6 และ 6.0 เท่า
ในฤดูการผลิตปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ โดยผลที่อยู่ภายนอกทรงพุ่มมีความเข้มของแต้มสีแดง (+a*) และ
ปริมาณแอนโทไซยานินมากกว่าผลที่อยู่ภายในทรงพุ่ม 2.2 เท่า ทั้งสองฤดูการผลิต การพ่นสารละลาย MJ เพียงชนิด
เดียวและ MJ ร่วมกับ Sucrose เพิ่มพื้นที่แต้มสีแดงบนผิวผลที่อยู่ภายในทรงพุ่มได้ 2.6-2.8 เท่า และ 3.1-3.4 เท่า
ทั้งสองฤดูการผลิต ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่อยู่ภายในทรงพุ่มชุดควบคุม อย่างไรก็ตาม ผลภายในทรงพุ่ม
ที่ได้รับการพ่นด้วยสารละลาย BA และ Sucrose เพียงชนิดเดียว และ BA ร่วมกับ Sucrose ไม่สามารถเพิ่มการเกิด
พื้นที่แต้มสีแดงบนผิวผลได้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่อยู่ภายในทรงพุ่มชุดควบคุม ทั้งสองฤดูการผลิต ผลมะม่วงทั้งที่
ติดผลอยู่ภายนอกทรงพุ่มและภายในทรงพุ่มในระยะเก็บเกี่ยวมีน้ำหนักผล ความแน่นเนื้อ น้ำหนักแห้ง ปริมาณของแข็ง
ทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ปริมาณวิตามินซี และปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดในเนื้อผลไม่แตก
ต่างกัน (P>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนง อุทัยบุตร กอบเกียรติ แสงนิล และกานดา หวังชัย. 2551. การปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงพันธ์ุมหาชนกเพื่อการ
ส่งออก. รายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัย สำนักคณะกรรมการงานวิจัยแห่งชาติ.
ฉลองชัย แบบประเสริฐ. 2556. การตัดแต่งกิ่งช่วยเพิ่มสีผิวผลมะม่วง. จดหมายข่าวสมาคมสวนมะม่วงไทย. 4(8): 5-13.
ยุทธนา จันทร์ชารา. 2549. ผลของแสง เอทีฟอน และกรดแอบไซซิกต่อปริมาณแอนโทไซยานินและแอกทิวิตีของฟีนิลอะลานีนไลเอส
ในเปลือกผลมะม่วงพันธ์ุมหาชนกระหว่างการเจริญเติบโตของผล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฐพล เมืองแก้ว และพีระศักดิ์ ฉายประสาท. 2557. ผลของการฉีดพ่นสารละลายเมทิลจัสโมเนตและการปลิดใบต่อการเกิดสีแดง คุณภาพ
และอายุการเก็บรักษาของผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45: 3/1 (พิเศษ): 201-204.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2561. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกบั ต่างประเทศปี 2558. แหล่งที่มา: [https://www.oae.go.th/
download/journal/2559/thailandtradestat2558.pdf]. มกราคม2561.
อินทนนท์ ชันวิจิตร. 2553. ผลของเมทิลจัสโมเนทต่อการเปลี่ยนแปลงสีและคุณภาพของผลมะม่วงพันธ์ุมหาชนก. วิทยานิพนธ์ปริญญา
โทมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุบล ชินวัง และคณะ. 2554. การพฒั นาสีผิวผลในระยะก่อนการเก็บเกี่ยวและการใชค้ วามร้อนเพือ่ พฒั นาคณุ ภาพและอายกุ ารวาง
จำหน่ายของผลมะม่วงพันธ์ุมหาชนกเพื่อการส่งออก.รายงานฉบบั สมบรูณ์โครงการวิจัย. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว.
อุบล ชินวัง ทินน์ พรหมโชติ สาธิต พสุวิทยกุล และวนัสสันต์ นันทะบรรณ์. 2558. ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก
ในการผลิตนอกฤดู. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 33 (1): 72-83.
Cronje. P. J. R., G. H. Barry, and M. Huysamer. 2011. Fruiting position during development of ‘Nules Clementine’ mandarin
affects the concentration of K, Mg and Ca in the Flavedo. Scientia Horticulturae. 130: 829-837.
Das, P. K., D. H. Shin, S. B. Choi, S. D. Yoo, G. Choi, and Y. I. Park. 2012. Cytokinins enhance sugar-Induced anthocyanin
biosynthesis in Arabidopsis. Journal of Molecules and Cells. 34: 93-101.
Honda, C., N. Kotoda, M. Wada, S. Konda, S. Kobayashi, J. Soejima, Z. Zhang, T. Tsuda and T2002.
Anthocyanin biosynthetic genes are coordinately expressed during red coloration in apple skin. Plant Physiology and
Biochemistry. 40: 955 – 962.
Hamadziripi, E. T., 2012. The effect of canopy position on the fruit quality and consumer preference of apples. Master
Thesis, Faculty of Agriculture (Horticultural Science), Stellenbosch University.
Jakopic, J., F. Stampar and R. Veberic. 2009. The influence of exposure to light on the phenolic content of ‘Fuji’ apple.
Scientia Horticulturae. 123: 234–239.
Jiang, Y., Y.L. Yung, S.P. Sander and L.D. Travis. 2004. Modeling of atmospheric radiative transfer with polarization and
its application to the remote sensing of tropospheric ozone, Journal of Quantitative Spectroscopy &Radiative
Transfer. 84: 169-179.
Juan J.H., A. Araki and G. Okamoto. 2005. Influence of fruit bagging on aroma volatiles and skin coloration of ‘Hakuho’
peach (PrunuspersicaBatsch).Postharvest Biology and Technology. 35: 61–68.
Liu, Y., F. Che, L. Wang, R. Meng, X. Zhang and Z. Zhao. 2013. Fruit coloration and anthocyanin biosynthesis after bag
removal in non-red and red apples (Malus×domesticaBorkh.). Molecules. 18: 1549-1563.
Lueangprasert, K., J. Uthaibutra, and K. Saengnil. 2010. The Effects of sugar application on the concentrations
of Anthocyanin and Flavonol of ‘Mahajanaka’ mango (Mangiferaindica Linn.Cv. Mahajanaka) fruit. Chiang Mai Journal
of Science. 37 (2): 355-362.
Muengkaew, R.,P. Chaiprasart and I. Warrington. 2016.Changing of physiochemical properties and color development
of mango fruit sprayed methyl Jasmonate. Scientia Horticulturae. 198: 70-77.
Padda, M. S., do Amarante, C. V. T., Garcia, R. M. and Slaughter, D. C. 2011. Methods to analyze physico-chemical
changes during mango ripening: A multivariate approach. Postharvest Biology and Technology. 62: 267-274.
Puech, A. A., Rebeiz, C. A. and Crane, J. C. 1976.“Pigment changes associated with application of ethephon (2-Chloroethyl
phosphonic acid) to fig (Ficuscarica L.) fruits”, Plant Physiology. 57: 504-509.
Rangana, S. 1977. Manuals of Analysis of Fruit and Vegetable Products. Tata McGraw-Hill Publishing Co Ltd., New Delhi.
Ranganna, S. 1999. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products. Second edition. Tata
Mc-Graw Hill Publishing Company Limited, New Delhi.
Roy, S. K. 1973. Simple and rapid methods for the estimation of total carotenoids pigments in mango. The Journal of Food
Science and Technology. 10: 45-46.
Saengnil, K., K. Luaengprasert and J. Uthaibutra. 2011. Sunlight-stimulated phenylalanine ammonia-lyase (PAL) activity and
anthocyanin accumulation in exocarp of ‘Mahajanaka’ mango. Maejo International Journal of Science Technology.
5 (03): 365-373.
Shahak, Y., M. A. Flaishman,E. E. Gussakovsky, Y. E. Giller, K. Ratner, M. Zilberstaine and L. Winer. 2001. Reflective
mulches improve the red coloration of Keitt mango fruits. AlonHanotea. 55: 489-494.
Vandenbussche, F., Y. Habricot, A. S. Condiff, R. Maldiney, D. V. D. Straeten and M. Ahmad. 2007. HY5 is a point of
convergence betweencryptochrome and cytokininsignalling pathways in Arabidopsis thaliana. The Plant Journal.
49: 428–441.
Wind, J., S. Smeekensand J. Hanson. 2010. Sucrose: Metabolite and signaling molecule. Phytochemistry. 71: 1610–1614.
Yamaki, S. 2010. Metabolism and accumulation of sugars translocated to fruit and their regulation. The Japanese Society
for Horticultural Science. 79 (1): 1-15.
Zhang, X., L. X. Wang, Y. L. Liu, X. X. Chen, Y. Z. Yang and Z. Y. Zhao. 2011. Differential Gene Expression Analysis
of Yunnan Red Pear, PyrusPyrifolia, During Fruit Skin Coloration. Plant Molecular Biology Reporter. 29: 305-314.