ผลของการจุ่มจิบเบอเรลลินต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณของคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นซ์และคุณภาพของผลมะนาวพันธุ์แป้น ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง

Main Article Content

เรวัติ ชัยราช
พรมณี สมปาน

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังการเก็บเกี่ยวของเปลือกผลมีผลต่อลักษณะคุณภาพของผลมะนาว
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการจุ่มจิบเบอเรลลิน (Gibberellin; GA) ต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณคลอโรฟิลล์และแค
โรทีนอยด์ ค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นซ์ และคุณภาพของผลมะนาวพันธุ์แป้นระหว่างการเก็บเก็บรักษา โดยการจุ่ม
ผลมะนาวด้วย GA ที่ระดับความเข้มข้น 0 50 150 และ 300 ppm นาน 5 นาที แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25±2°C
และความชื้นสัมพัทธ์ 85±2% เป็นเวลา 21 วัน ผลการศึกษาพบว่าผลมะนาวที่จุ่ม GA ที่ความเข้มข้น 150 ppm
สามารถรักษาระดับปริมาณคลอโรฟิลล์เอ บี และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดในเปลือกผลได้สูงกว่าชุดควบคุมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ขณะที่ปริมาณแคโรทีนอยด์ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสิ่งทดลอง ส่วนการเปลี่ยนแปลง
ของค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นซ์ (ค่า Fm และค่า Fv/Fm) เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ
คลอโรฟิลล์ การจุ่ม GA ทุกความเข้มข้นยังช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงสีผิวผล (ค่า a และค่า b)
และรักษาคุณภาพของผิวผลได้ดีกว่าชุดควบคุม ความเข้มข้นของ GA ที่เหมาะสม คือ 50-150 ppm ซึ่งช่วยเก็บรักษา
ผลมะนาวที่อุณหภูมิ 25±2°C ได้ 18-21 วัน และค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นซ์สามารถใช้ในการประเมินการสูญเสีย
คุณภาพของผลมะนาวแบบไม่ทำลายตัวอย่างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพรัตน์ ทัดมาลา วาริช ศรีละออง สมัคร แก้วสุกแสง ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ และเฉลิมชัย วงษ์อารี. 2556. การสลายตัวของคลอโรฟิลล์
และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางกายภาพของมะนาวพันธุ์แป้นและพันธุ์ตาฮิติ. ว. วิทยา.กษ. 44:3 (พิเศษ): 89-92.
พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนและสารสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. ไดนามิกการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 น.
ภูวดล บุตรรัตน์. 2532. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดต่อการป้องกันผลร่วงของลองกอง. ใน รายงานการประชมุ
วิชาการครั้งที่ 27 สาขาพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 399-407 น.
วาสนา พิทักษ์พล เพ็ญโฉม พจนธารี และสมสุดา วรพันธุ์. 2558. การยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวด้วยสารเคลือบผิวคาร์บอกซีเมทิล
เซลลูโลสจากผักตบชวา และกรดจิบเบอเรลลิค. แก่นเกษตร. 43(1) พิเศษ: 881-887.
สายพร ดวงสา และ เรวัติ ชัยราช. 2558. การประเมินการสูญเสียคุณภาพของผักกาดขาวระหว่างการเก็บรักษาโดยใช้ค่าคลอโรฟิลล์ฟลู
ออเรสเซ็นซ์. ว. วิทย. กษ. 46(3/1): 219-222.
สมโภชน์ น้อยจินดา. 2540. การหายใจและการผลิตเอทิลีนของมะนาว. ว. วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 7(1): 27-31.
สมาน ภักดี ทำนอง แสงเขื่อนแก้ว อเนก บางข่า บุญแกม ถาคำฟู และ สุชีพ ชยันตราคม. 2516. การยืดอายุการเก็บเกี่ยวของส้มเขียน
หวานโดยใช้จิบเบอเรลลิน. รายงานกรมวิชาการเกษตร ปี 2516, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ. 364 น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้อมูลการปลูกมะนาว 2556-2558. แหล่งที่มา: https://aginfo.oae.go.th/ewtnews/MyPDF/
lemon.pdf สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2560.
อรจิรา พรหมทองรักษ์ และ ลดาวัลย์ เลิศเลอวงศ์. 2555. ผลของการใช้กรดจิบเบอร์เรลลิค แอสิดและเมทิลไซโคลโพรพีน ก่อนและหลัง
การเก็บเกี่ยวต่อวันที่เก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของผลมังคุด. ว. วิทยา. กษ. 43:3(พิเศษ): 392-395.
อินทิรา ลิจันทร์พร เบญจมาพร มธุลาภรังสรรค์ นันทิพา เอี่ยมสกุล และศิริชัย กัลป์ยาณรัตน์. 2553. ผลของกรดจิบเบอเรลลิต่อการหลุด
ร่วง และการผลิตเอทิลีนในช่อผลลองกองหลังการเก็บเกี่ยว. ว.วิทย กษ. 41(1) พิเศษ: 79-82.
Awad, M.A. and A.D. Al-Qurashi. 2012. Gibberellic acid spray and bunch bagging increase bunch weight and improve
fruit quality of ‘Barhee’ date palm cultivar under hot arid conditions. Sci. Hortic. 138: 96 –100.
Canli, F.A. and H. Orhan. 2009. Effects of preharvest gibberellic acid applications on fruit quality of ‘0900 Ziraat’ sweet
cherry. Hort. Technology 19: 127–129.
Edge, R., McGarvey, D. J., and Truscott, T. G. 1997. The carotenoids as anti-oxidants-a review. J. of Photochem. and
Photobiol. 41(3): 189-200.
Fuchs, Y., R. Barkai-Golan and N. Aharoni. 1983. Postharvest studies with fresh market tomatoes intended for export. Plant
Growth Regul.: Abstr. 7:554.
Gholami, M., A. Sedighi, A. Ershadi and H. Sarikhami. 2010. Effect of pre- and postharvest treatments of salicylic acid and
gibberellic on ripening and some physicochemical properties of ‘Mashhad’ sweet cherry fruit. Acta Hortic. 884 : 257–264.
Ghoochani, R., Riasat, M., Rahimi, S. and Rahmani, A. 2015. Biochemical and physiological characteristic changes of wheat
cultivars under arbuscular mycorrhizal symbiosis and salinity stress. Biol. Forum – An International
Journal. 7(2): 9 p.
Gorbe, E., and Calatayud, A. 2012. Applications of chlorophyll fluorescence imaging technique in horticultural research:
a review. Scientia Horticulturae: 138: 24-35.
Kaewsuksaeng, S., Urano, Y., Aiamla-or, S., Shigyo, M. and Yamauchi, N. 2011. Effect of UV-B irradiation on
chlorophyll-degrading enzyme activities and postharvest quality in stored lime (Citrus latifolia Tan.) fruit. Postharvest
Biology and Technology. 61(2-3): 124-130.
Kaewsuksaeng, S., Tatmala, N., Srilaong, V., and Pongprasert, N. 2015. Postharvest heat treatment delays chlorophyll
degradation and maintains quality in Thai lime (Citrus aurantifolia Swingle cv. Paan) fruit. Postharvest Biology and
Technology. 100: 1-7.
Lichtenthaler, H. K. and. Buschmann, C. 2001. Chlorophylls and carotenoids: measurement and characterization
by UV-VIS Spectroscopy. Current Protocols in Food Analytical Chem. : F4.3.1 - F4.3.8.
Mekwatanakarn, W. and Chairat, R. 2008. Chlorophyll Fluorescence as a Nondestructive Tool for Detection of Deterioration
of Mango in Modified Atmosphere Packaging. Acta Hort. 837: pp. 279-284.
Mekwatanakarn, W. and Chairat, R. 2009. Chlorophyll Fluorescence and Fruit Quality during Storage of Mango Fruit in
Modified Atmosphere Packaging. Acta Hort. 876: 179-182.
Opio, P., Jitareerat, P., Pongprasert, N., Wongs-Aree, C., Suzuki, Y., and Srilaong, V. 2017. Efficacy of hot water immersion
on lime (Citrus auranifolia, Swingle cv. Paan) fruit packed with ethanol vapor in delaying chlorophyll catabolism.
Scientia Horticulturae. 224: 258-264.
Porat, R., X. Feng, M. Huberman, D. Galili, R. Goren and E. E. Goldschmidt. 2001. Gibberellic acid slows postharvest
degreening of ‘Oroblanco’ citrus fruits. HortSci. 36(5):937–940.
Srilaong, V., Aiamla-Or, S., Soontornwat, A., Shigyo, M., and Yamauchi, N. 2011. UV-B irradiation retards chlorophyll
degradation in lime (Citrus latifolia Tan.) fruit. Postharvest Biol. and Technol. 59(1): 110-112.
Taiz, L. and Zeiger, E. 2002. Plan physiology. 3rd ed. Sinauer Associates, Sunderland, Massachusetts.
Win, T. O., Srilaong, V., Heyes, J., Kyu, K. L. and Kanlayanarat, S. 2006. Effects of different concentrations of 1-MCP on the
yellowing of West Indian lime (Citrus aurantifolia, Swingle) fruit. Postharvest Biol. and Technol. 42(1): 23-30.