การทำปุ๋ยหมักร่วมจากเศษผม จอก มูลสุกร และผลต่อการเจริญเติบโตของผักโขม

Main Article Content

ลักขณา เบ็ญจวรรณ์
ทัศนีย์ ชัยคงดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเศษผมมาใช้ในการทำปุ๋ยหมักร่วมกับจอกและมูลสุกร เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมัก
ที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง รวมถึงศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการนำปุ๋ยหมักนั้นไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษา
พบว่าการทำปุ๋ยหมักที่ใช้อัตราส่วนร่วมของเศษผม 1 ส่วน : จอกสด 8 ส่วน : มูลสุกรแห้ง 1 ส่วน : ใบไม้แห้ง 2 ส่วน โดย
น้ำหนัก ที่ระยะเวลาการหมัก 30 วัน ทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในช่วง 88.57-89.78%
มีปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 3.27-3.53% และ 3.26-3.64% ตามลำดับ และเมื่อนำปุ๋ยหมักนี้ในอัตรา
การใช้ที่แตกต่างกันไปทดสอบกับการปลูกผักโขม ผลการทดลองพบว่าอัตราการใช้ที่เหมาะสม คือ การใช้ปุ๋ยหมัก
1 ส่วน ผสมกับดิน 3 ส่วน หรือใช้ปุ๋ยหมักร้อยละ 25 ในการผสมกับดินปลูก โดยน้ำหนัก ส่งผลให้ผักโขมมีการเจริญ
เติบโตทั้งในด้านความสงู ความกว้างใบ และความยาวใบ มากกว่าอัตราส่วนอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้มี
การเจริญเติบโตเป็นสองเท่าของผักโขมในชุดควบคุม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปุ๋ยหมักนี้มีศักยภาพในการนำมาใช้
ประโยชน์ทางการเกษตร ทั้งในด้านการใช้เพื่อเสริมธาตุอาหารให้แก่พืช หรือใช้เป็นสารปรับปรุงดินในภาคการเกษตรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ วัชรพล ชยประเสริฐ เสกสรร สีหวงษ์ อุดม แก้วสุวรรณ์ และนิภาพรรณ กังสกุลนิติ. 2555. การพัฒนาต้นแบบระบบ
หมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศและอุปกรณ์ช่วยผสมอัตโนมัติสำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์,
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์ ทัศนีย์ ชัยคงดี และโยธกา รัตนวงศ์. 2558. การเปรียบเทียบลักษณะสมบัติและดัชนีการ
งอกของเมลด็ พชื ของปยุ๋ หมกั จากพืชน้ำ3 ชนิด . การประชุม วิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนครั้ง
ที่ 12, วันที่ 8-9 ธันวาคม 2558, อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม หน้า 1,793-1,804.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2548. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ปุ๋ยหมัก). มกอช. 9503-2548.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 22 ตอนที่ 114 ง ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2548.
Asha, G., A. Mahalakshmi, A. Suresh and S. Rajendran. 2016. Utilization of Tannery Hair as Liquid Fertilizer and to study
their effects on Vigna radiata and Vigna mungo. Life Science Archievs (LSA). 2(1): 376-384.
Benjawan, L., S. Sihawong, W. Chayaprasert and W. Liamlaem. 2015. Composting of Household Biodegradable Organic
Waste in a Semi-Continuous Composter. Compost Science and Utilization. 23(1): 11-17.
Gupta, A. 2014. Human Hair “Waste” and its Utilization: Gaps and Possibilities. Journal of Waste Management. Volume
2014, Article ID 498018, 17 pages.
Rahman Mominur Md., K. B. Kabir, Md. Masudur Rahman and Z. Ferdous. 2016. Quick Release Nitrogenous Fertilizer from
Human Hair. British Journal of Applied Science & Technology. 14(2): 1-11.
Sharma, M, M.Sharma,and V.M.Rao,“Invitrobiodegradation of keratin by dermatophytes and some soil keratinophiles,
”African Journal of Biochemistry Research, vol. 5, no. 1, pp. 1-6, 2011.
The National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS). 2005. Thai agricultural commodity and food
standard (Compost). TACFS 9503–2005. Published in the Royal Government Gazette, Gen.Vers, Vol. 22, Spec.Pt.114
Gnor, dated Dec.8th, 2005
Zheljazkov, V.D., J. L. Silva, M. Patel, J. Stojanovic, Y. Lu, T. Kim, and T. Horgan. 2008. Human Hair as a Nutrient Source
for Horticultural Crops. HortTechnology. 18(4): 592-596.