การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการ
ทรัพยากรน้ำและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกร กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นเกษตรกรจำนวน 223 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่าการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการทรัพยากร
น้ำของเกษตรกรโดยรวมมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.73 ± 0.75) ระยะทางจากที่พักอาศัยถึงแม่น้ำลี้
(0.10 - 10.00 กิโลเมตร) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกรอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.001) ส่วนการใช้ประโยชน์แม่น้ำลี้ด้านการเกษตรและการใช้ประโยชน์แม่น้ำลี้ด้าน
วัฒนธรรมชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p – value = 0.003 และ 0.000 ) ทั้งนี้ผลกระทบจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแม่น้ำลี้ การ
รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายชุมชน และการฟื้นฟูกิจกรรมตามแนวทางนิเวศวัฒนธรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำมีส่วน
สนับสนุนต่อการเข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงการสร้างความเข้าใจ
ต่อสภาพปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในแม่น้ำลี้อันจะส่งผลต่อการวางแผนการสร้างเสริมกิจกรรมและแหล่งเรียน
รู้ในชุมชนภายใต้ข้อกำหนดของชุมชน
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
บุญชม ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น
พิชยา ชูมก ทัตพร คุณประดิษฐ์ และยุวดี พีรพรพิศาล. 2557. “ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอน
สัตว์และไดอะตอมพื้นท้องน้ำและการใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในแม่น้ำลี้ จังหวัดลำพูน”.วารสารพิฆเนศวร์สาร. ปีที่ 10
(ฉบับที่ 2): 81 - 97.
สมเกียรติ มีธรรม. 2558. ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อปฏิรูปการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :https://www.orphya.
org/index.php/th/features [1 กรกฏาคม 2560]
สามารถ ใจเตี้ย ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์ ถาวร มาต้น พีรญา อึ้งอุดรภักดี. 2558. คุณภาพชีวิตและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดผล
กระทบต่อคุณภาพชีวิตจากความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 11 (ฉบับที่ 1) : 38 -51.
วิทญา ตันอารีย์ และสามารถ ใจเตี้ย. 2554.การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่
เขตเทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Caruso, B. 2017. Women and girls are responsible for providing their households with water. [Online]. Available :https://www.
weforum.org/agenda/2017/08/women-and-girls-are-still-carrying-the-bulk-of-the-worlds-water. [6 October 2017].
Juergen, G. 2011. Integrative freshwater ecology and biodiversity conservation. Ecological Indicators. 11(6): 1507 – 1516.
U.S. Geological Survey. (2011 ). Summary of the Water Cycle. [Online]. Available:https://ga.water.usgs.gov/edu/
watercyclesummary.html . [6 May 2017].