ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักสูตรอบรมการส่งเสริมการ ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอละงู จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ รัฐบาลจึงได้มีการส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อ
สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคใต้ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูก การศึกษานี้
มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริม
การปลูกปาล์มน้ำมัน 2) ระดับความรู้และการยอมรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ
การจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักสูตรอบรมในโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรในการ
ศึกษาจำนวน 140 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาเพื่อศึกษา
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติไคสแควร์ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ผลการศึกษา
พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54.0) ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถม
ศึกษา (ร้อยละ 68.6) มีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 100,000 บาท (ร้อยละ 70.1) และเกือบทั้งหมดมีประสบการณ์ในการ
ปลูกปาล์มน้ำมันน้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 97.2) เกษตรกรประเมินความรู้ของตนเองในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
ในระดับปานกลาง และค่าเฉลี่ยของการยอมรับการจัดการสวนปาล์มตามหลักสูตรอบรมคือ ร้อยละ 67.76 จาก
การวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < 0.05) คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ย ประเภทเอกสารสิทธิ์ และประสบการณ์ในการปลูกปาล์ม
น้ำมัน จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะคือ ในการอบรมครั้งต่อไปเจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่มี
การศึกษาน้อยและเกษตรกรที่สูงอายุเพื่อให้เกษตรกรเข้าใจและยอมรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันได้มากขึ้น
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
เกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ปาล์มน้ำมัน ปี 2555-59. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งที่มา:
https://www.agriinfo.doae.go.th/5year/price/market_price/55-59/palm.pdf สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561.
จิตต์ อวะภาค. 2541. ปัจจัยทีมี่ความสัมพันธ์กับการยอมรับวิทยาการสำหรับปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยในอำเภอควนกาหลง
จังหวัดสตูล. เอกสารเชิงวิชาการ ปัญหาพิเศษทางการพัฒนาการเกษตร สาขาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นฤชิต มณีโชติ. 2549. ปัจจยั ทีมี่ผลต่อการยอมรับโครงการปลูกปาล์มน้ำมนั ทดแทนพลงั งานปี 2549 ของเกษตรกร จงั หวดั สงขลา.
สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นัทธ์หทัย ศิริวิริยะสมบูรณ์ ธำรงค์ เมฆโหรา และทิพวรรณ ลิมังกูร. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
ของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 30(2): 59-67.
บัวทอง แก้วหล้า และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร
ในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วารสารเกษตร 29(3): 267-275.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจยั ทางพฤติกรรมศาสตร์และสงั คมศาสตร์. สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
รัฐพงษ์ จันทคณานุรักษ์ ศุภพร ไทยภักดี และ พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. 2558. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรกับการพัฒนาการเกษตรใน
เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn
University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 8(3): 314-328.
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. 2556. วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารี ช้วนรักธรรม. 2548. นวัตกรรม “น้ำมันปาล์ม” จากอุตสาหกรรมอาหารสู่แหล่งพลังงานทดแทนของไทย. วารสาร Engineering Today.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 36. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.technologymedia.co.th/articledetail.asp?arid=3143&pid=308 สืบค้น
เมื่อ 10 มีนาคม 2559.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2553. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุดรธานี:อักษรศิลป์การพิมพ์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล. 2553. สรุปผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันปี 2553. สตูล . กรมส่งเสริมการเกษตร. (อัดสำเนา).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร (ปาล์มน้ำมัน). แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/download/prcai/
farmcrop/palm.pdf สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559.
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 สงขลา. 2552. คู่มือวิทยากรปาล์มน้ำมัน. กรมส่งเสริมการเกษตร.
Rogers, E. M. 1995. Diffusion of innovations. 4th edition. New York, NY: The Free Press.