การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจรถรับจ้างดำนาในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อภิวัฒน์ เฟื่องถี่
ปัญญา หมั่นเก็บ
สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปุระสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจรถรับจ้างดำนาในจังหวัด
อุตรดิตถ์ และ 2) ศึกษาความพึงใจต่อการใช้บริการธุรกิจรถรับจ้างดำนา โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการรถดำนารับจ้าง จำนวน 7 ราย และเกษตรกรผู้ใช้บริการรถรับจ้าง
ดำนา จำนวน 33 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินประกอบด้วย ระยะเวลาคืนทุนคิดลด (DPB) มูลค่าปัจจุบัน
(NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) ผลการศึกษา
พบว่า 1) เมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน โดยกำหนดระยะเวลาโครงการ 5 ปี ผู้ประกอบการจะมีระยะเวลา
คืนทุน 2 ปี 8 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 785,261.57 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย เท่ากับ 1.2
และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ เท่ากับ 31% กล่าวคือการลงทุนในธุรกิจรถดำนารับจ้างมีคุ้มค่ากับการลงทุน
และ 2) ความพึงพอใจต่อการใช้บริการธุรกิจรถรับจ้างดำนา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06) เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการให้บริการ ด้านพันธุ์ข้าว และด้านสภาพรถ
( = 4.22, 4.21 และ 3.75 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิทย์ ตันศรี.2556.แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรไทย.[Online]. Available:https://www.bot.or.th/Thai/
MonetaryPolicy /NorthEastern/DocLib_Research/.pdf. [access on 27/03/2561].
คูโบต้า. 2557. รถดำนา. [Online]. Available : https://www.kubota.com/th. [access on 10/10/2558].
จันทร์ฉาย สุขนวล ให้สัมภาษณ์, 15 ธันวาคม 2560. อภิวัฒน์ เฟื่องถี่ ผู้สัมภาษณ์. ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้บริการธุรกิจ
รถดำนารับจ้าง. เกษตรกร บ้านเลขที่ 162/1 หมู่ที่ 8 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์.
จามรา ปฐมโพธิ์. 2545. การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อเครื่องดำนาในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลิตา บัณฑุวงศ์. 2556. ข้าวและชาวนาไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง. ในคน ข้าว นา ควายในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. 2544. เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไทยรัฐ.2561.ชี้ภาคเกษตร-ปศุสัตว์พึ่งแรงงานต่างด้าวมากที่สุด เสี่ยงรับผลกระทบ.30 มีนาคม 2561.[Online].Available :
https://www.thairath.co.th/content/452731 [access on 30/03/2561].
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.2554.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้. [Online]. Available: https://www.baac.or.th/ contentrate.
php?content_group=0009&content_group_sub [access on 10/7/2561]
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. 2545. การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปรารถนา ม่วงงาม. 2555. ธุรกิจบริการเกี่ยวข้าวในจังหวดั สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต, สาขาธุรกิจการเกษตร
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รสรินทร์ แก้วเกิด. 2557. ความพึงพอใจต่อการบริการของผู้ใช้บริการรถรับส่งของห้างหุ้นส่วนจำกดั ภูเก็ต สควีนโรสทรานสปอร์ต
จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนตรี ทาสันเทียะ และ ชัยยันต์ จันทร์ศิริ. 2559. การพัฒนาเครื่องปลูกข้าวแบบหยอดเมล็ดที่ทำการติดตั้งในรถแทรกเตอร์สี่ล้อ.
ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติระดับชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2559
ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศักดิ์ เพียบพร้อม. 2531. เอกสารประกอบการสอน วิชาการจัดการฟาร์ม.ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. 2560. ภาคเกษตรไทยกระอัก 2.5 พันล้านบาท หลังรัฐฯ จัดระเบียบต่างด้าว. 25 กรกฎาคม 2560. [Online].
Available:https://www.efinancethai.com/Advertorial/AdvertorialMain.aspx?name=ad_201707251554
&postdate=2017-07-25. [access on 27/03/2561].
สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร. 2557. การศึกษาปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร กรณีศึกษาภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ. [Online].
Available : https://www.oae.go.th/download/journal/2557/Shortageofagriculturalworkers.pdf. [access on 27/03/2561].
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2559. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559.[online]. Available:https://www.oae.go.th
[access on 27/03/2561].
สุภาวดี บุญเจือ. 2550. การเปลีย่ นแปลงระบบการผลิตข้าวของชมุ ชนในอีสาน: กรณีศึกษาการปลูกข้าวหอมมะลิเชิงพาณิชย์ในเขต
ทุ่งกุลาร้องไห้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุสรา ป้อมมูล. 2552. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตข้าวโดยเครื่องจักรดำนา และการผลิตข้าวแบบนาหว่าน
ในเขตพืน้ ที่ นิคมการเกษตรข้าว อำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอเมือง จงั หวดั ฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อานันท์ แสงศิริ ให้สัมภาษณ์, 15 ธันวาคม 2560. อภิวัฒน์ เฟื่องถี่ ผู้สัมภาษณ์. ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้บริการธุรกิจ
รถดำนารับจ้าง. เกษตรกร บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 8 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์.
Best, J. W. 1981. Research in education (4th ed). New Jersey : Prentice – Hall.
Grandstaff, T.B., S. Grandstaff, V. Limpinuntana, and N. Suphanchaimat. 2008. Rainfed Revolution in Northeast Thailand.
Southeast Asian Studies. 46(3): 289-376.