ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมัน ตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

Main Article Content

สินีนาฎ จำนงค์
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
ชลาธร จูเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ 3) ข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน 4) ปัจจัยด้านการสนับสนุน 5) ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน
ส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 103 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่วิเคราะห์ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 58.04 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีประสบการณ์ทำสวนปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 20.53 ปี มีพื้นที่ปลูกปาล์มเฉลี่ย 32.14 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการทำสวนปาล์มน้ำมัน 5-8 คน มีรายได้จากการทำสวนปาล์มน้ำมัน 384,689.32 บาท/ปี และรายจ่ายจากการทำสวนปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 111,310.68 บาท/ปี มีระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกลุ่ม 5 ปี มีการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนจากเจ้าหน้าที่โรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน หนังสือตำราเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน และการฝึกอบรม การสนับสนุนจากวิสาหกิจชุมชน (ค่าเฉลี่ย 2.75) การสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ (ค่าเฉลี่ย 2.58) และการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชน (ค่าเฉลี่ย 2.74) ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.74) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิธีปฏิบัติรักษาปาล์มน้ำมันที่ดีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย 2.81) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำสวนปาล์มน้ำมัน จำนวนแรงงาน รายจ่ายจากการทำสวนปาล์มน้ำมัน การมีส่วนร่วมของสมาชิก การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อกิจกรรม และการได้รับ
การสนับสนุนมีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. 2546. ระเบียบว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2546 (online). เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/moe/th/office/powerMOE2556.pdf.,ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561.
กัญญารัตน์ เพ็งพอรู้. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นุชสรา คำมัน. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประกายตา หลีกภัย. 2554. การประเมินผลโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ปี 2552 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปัญญา จันทโคตและกุลธิดา ท้วมสุข. 2558. ปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. 8: 42-53.
ศศิภา พิทักษ์ศานต์. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษาอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยบริการ. 24: 33-46.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม. 2560. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) (online). เข้าถึงได้จาก : http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p10/plan10/book/20.,ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561.
สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา. 2561. ข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน. แหล่งข้อมูล: http://sikao.trang.doae.go.th.,ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2559. รายชื่อวิสาหกิจชุมชน (online). เข้าถึงได้จาก: http://smce.doae.go.th/smce1., 10 กันยายน 2562.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. กรุงเทพฯ.
สุดารัตน์ แช่มเงิน. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรินทร์ นิยมมางกูร. 2556. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. ฐานบัณฑิต. กรุงเทพฯ. 177 น.
เหมือนฝัน รามเทพ. 2558. ความต้องการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีสำหรับปาล์มน้ำมัน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อันนา อ่อนมาก. 2553. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน: ธุรกิจผลิตภัณฑ์เสื่อกก ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
RSPO. 2013. RSPO Principles and criteria for sustainable palm oil production (online). เข้าถึงได้จาก : http://www.rspo.org/key-documents/certification/
rspo-principles-and-criteria.,ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561.