การรับรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผักสดต่อตราระบบการรับรอง เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดเกษตรอินทรีย์ โดยมีการใช้ตรารับรองเพื่อเป็นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผักสดต่อตรา PGS รวบรวมข้อมูลผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครปฐมได้ทั้งหมด 608 ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Mann-Whitney U test และ Chi-square test พบว่า มีผู้บริโภคร้อยละ 16 เคยเห็นตรา PGS และร้อยละ 21 บอกความหมายได้ถูกต้อง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อตรา PGS ยังคงน้อยกว่าการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของภาครัฐ รวมถึงมาตรฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติซึ่งมีองค์กรเอกชนในประเทศเป็นผู้รับรอง โดยผู้บริโภคที่เคยเห็นและเข้าใจความหมายของตรา PGS มักจะมีความเชื่อมั่นต่อตรา PGS สูงกว่าผู้ที่ไม่เคยเห็นและไม่เข้าใจความหมาย เมื่อพิจารณาแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมการซื้อ พบว่า กลุ่มผู้ที่เคยซื้อผักปลอดภัยและผักอินทรีย์มักจะเคยเห็น เข้าใจความหมาย และมีความเชื่อมั่นต่อตรารับรองมากกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าดังกล่าว จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันในการสื่อสารการตลาด PGS ให้ผู้บริโภคได้รู้จักและเข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคด้วย
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ดุสิต อธินุวัฒน์, จินตนา อินทรมงคล, สมชัย วิสารทพงศ์, ปริญญา พรสิริชัยวัฒนา และลักษมี เมตปราณี. 2559. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
แบบมีส่วนร่วมคืออะไร?. Thai Journal of Science and Technology 5(2): 119-134.
ปริชาติ แสงคำเฉลียง และเพียรศักดิ์ ภักดี. 2559. อิทธิพลของการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับตรารับรองสินค้าเกษตรที่มีผลต่อการบริโภคสินค้า
เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร 44(2): 247-256.
Grunert, K. G., Hieke, S., and Wills, J. 2014. Sustainability labels on food products: Consumer motivation, understanding and use. Food Policy 44: 177-189.
Henryks, J., and Pearson, D. 2010. Misreading between the lines: Consumer confusion over organic food labelling.
Australian Journal of Communication 37(3): 73.
Home, R., Bouagnimbeck, H., Ugas, R., Arbenz, M., and Stolze, M. 2017. Participatory guarantee systems: organic certification to empower farmers and strengthen communities. Agroecology and Sustainable Food Systems 41(5): 526-545.
Nelson, E., Tovar, L. G., Gueguen, E., Humphries, S., Landman, K., and Rindermann, R. S. 2016. Participatory guarantee systems and the re-imagining of Mexico’s organic sector. Agriculture and Human Values 33(2): 373-388.
Nelson, E., Tovar, L. G., Rindermann, R. S., and Cruz, M. Á. G. 2010. Participatory organic certification in Mexico: an alternative approach to maintaining the integrity of the organic label. Agriculture and Human Values 27(2): 227-237.
Nuttavuthisit, K., and Thøgersen, J. 2017. The importance of consumer trust for the emergence of a market for green products:
The case of organic food. Journal of Business Ethics 140(2): 323-337.
Roitner-Schobesberger, B., Darnhofer, I., Somsook, S., and Vogl, C. R. 2008. Consumer perceptions of organic foods
in Bangkok, Thailand. Food Policy 33(2): 112-121.
Sangkumchaliang, P., and Huang, W. C. 2012. Consumers’ perceptions and attitudes of organic food products in Northern Thailand. International Food and Agribusiness Management Review 15: 87-102.
Wanwimolruk, S., Duangsuwan, W., Phopin, K., and Boonpangrak, S. 2017. Food safety in Thailand 5: the effect of washing pesticide residues found in cabbages and tomatoes. Journal of Consumer Protection and Food Safety 12(3): 209-221.
Wanwimolruk, S., Phopin, K., Boonpangrak, S., and Prachayasittikul, V. 2016. Food safety in Thailand 4: comparison of pesticide residues found in three commonly consumed vegetables purchased from local markets and supermarkets in Thailand. Peer Journal 4: 1-23.
Wongprawmas, R., Canavari, M., and Waisarayutt, C. 2015. A multi-stakeholder perspective on the adoption of good agricultural practices in the Thai fresh produce industry. British Food Journal 117(9): 2234-2249.