อิทธิพลของฤดูปลูกต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของแก่นตะวันพันธุ์อายุสั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของฤดูปลูกต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของแก่นตะวันพันธุ์อายุสั้น 10 สายพันธุ์ ดำเนินการทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ทำการทดลอง 2 ฤดูปลูก (ปลายฤดูฝน ปี 2560 และต้นฤดูฝน ปี 2561) เก็บข้อมูลลักษณะทางการเกษตรและสรีรวิทยาของแก่นตะวันจำนวน 11 ลักษณะ ทดสอบ homogeneity และวิเคราะห์ combined analysis เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลใน 2 ฤดูปลูก จากผลการทดลอง พบว่า ฤดูปลูกที่แตกต่างกันทำให้อายุดอกแรกบาน อายุดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว ค่า SCMR ความสูง น้ำหนักสดต้นความกว้างหัว และความหวานแตกต่างกันทางสถิติ และสายพันธุ์แก่นตะวันที่แตกต่างกันส่งผลให้แก่นตะวันมีลักษณะทางการเกษตรแตกต่างกันทางสถิติ การปลูกช่วงปลายฤดูฝนทำให้แก่นตะวันออกดอกและเก็บเกี่ยวได้เร็ว มีค่า SCMR ความกว้างหัว และความหวานสูงกว่าการปลูกต้นฤดูฝน แต่การปลูกต้นฤดูฝนทำให้แก่นตะวันมีการเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่า พันธุ์ JA 5 มีแนวโน้มเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดได้เร็วที่สุดทั้ง 2 ฤดูปลูก แต่เมื่อดูจากศักยภาพการให้ผลผลิตหัวสดแล้วพบว่า พันธุ์ JA 37 เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตหัวสดสูงที่สุด ทั้ง 2 ฤดูปลูก และยังเป็นพันธุ์ที่มีความหวานของหัวสดอยู่ในเกณฑ์สูงทั้ง 2 ฤดูปลูก จึงเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมในการแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ประภาส ช่างเหล็ก, สนั่น จอกลอย, โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์, ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์, สุดประสงค์ สุวรรณเลิศ, ปราณี งามประสิทธิ์, วีระยุทธ แสนยากุล, วิศัล เธียรเสถียรพงศ์, เจรศักดิ์ แซ่ลี และเบ็ญจารัชด ทองยืน. 2553. การเติบโตและผลผลิต Jerusalem artichoke บนพื้นที่สูง
ณ สถานีวิจัยเพชรบูรณ์. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. น. 200-206. กรุงเทพฯ.
สนั่น จอกลอย, นิมิต วรสูต, จิรยุทธ ดาเระสา, รัชนก มีแก้ว, ถวัลย์ เกษมาลา และวิลาวรรณ ตุลา. 2549. ศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของแก่นตะวันพันธุ์ต่าง ๆ ในสภาพการเพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. แก่นเกษตร 34: 139-150.
Gunnarsson, I. B., Svensson, S. E., Johansson, E., Karakashev, D., and Angelidaki, I. 2014. Potential of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) as a biorefinery crop. Industrial Crops and Products 56: 231-240.
Janket, A., Vorasoot, N., Rattanaprasert, R., Kesmala, T., and Jogloy, S. 2016. Genotypic variability of yield components and
crop maturity in Jerusalem artichoke germplasm. Sabrao Journal of Breeding and Genetics 48(4): 474-490.
Kour, G., and Bakshi, P. 2018. Irrigation management practices and their influence on fruit agroecosystem. In Irrigation in agroecosystems, O. Gabrijel, ed. pp. 21-30. London: IntechOpen.
Pimsaen, W., Jogloy, S., Suriharn, B., Kesmala, T., Pensuk, V., and Patanothai, A. 2010. Genotype by environment (G × E) interaction for yield component of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.). Asian Journal of Plant Science 9(1): 11-19.
Puangbut, D., Jogloya, S., Vorasoota, N., Holbrookc, C. C., and Patanothai, A. 2015. Responses of inulin content and inulin yield of Jerusalem artichoke to seasonal environments. International Journal of Plant Production 9(4): 1735-8043.
Puttha, R., Jogloy, S., Wangsomnuk, P. P., Srijaranai, S., Kesmala, T., and Patanothai, A. 2012. Genotypic variability and genotype by environment interactions for inulin content of Jerusalem artichoke germplasm. Euphytica 183: 119-131.
Tiengtam, N., Khempaka, S., Paengkoum, P., and Boonanuntanasarn, S. 2015. Effect of inulin and Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus) as prebiotic ingredients in the diet of juvenile Nile tilapia (Oreochromis niloticus). Animal Feed Science and Technology 207: 120-129.
Yang, L., Hea, Q. S., Corscaddena, K., and Chibuike, C. U. 2015. The prospects of Jerusalem artichoke in functional food ingredients and bioenergy production. Biotechnology Reports 5: 77-88.
Yildiz, G., Sacakli, P., and Gungor, T. 2006. The effect of dietary Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) on performance,
egg quality characteristics and egg cholesterol content in laying hens. Czech Journal of Animal Science 51(8): 349-354.