แนวโน้มภาวะการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตของประชากรปูม้า ในแหล่งประมงปูม้าพื้นบ้าน จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จิราภรณ์ ไตรศักดิ์

บทคัดย่อ

    การประเมินภาวะและรูปแบบของการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตของประชากรสัตว์น้ำ (overfishing) เป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลานาน แต่กระนั้น การทราบถึงภาวะและรูปแบบของ overfishing เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดการประมง การศึกษานี้นำเสนอการหาแนวโน้มและรูปแบบของ overfishing ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดของข้อมูลประชากรกรสัตว์น้ำ และเป็นแนวทางที่ไม่ซับซ้อนและใช้เวลาในการศึกษาที่สั้น โดยใช้การประมงปูม้าพื้นบ้าน จ. ชลบุรี เป็นต้นแบบ ผลการศึกษาโดยรวมแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของ growth overfishing เนื่องจากผลผลิตจากการประมงมีสัดส่วนของปูม้าที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ถึง 68% แต่หากพิจารณาจากผลผลิตทางการประมงปูม้าพื้นบ้านแยกตามเพศ พบว่าทั้งสองเพศมีรูปแบบของ overfishing ที่แตกต่างต่างกัน โดยที่ปูม้าเพศเมีย อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิด recruitment overfishing ส่วนปูม้าเพศผู้มีความเสี่ยงที่จะเกิด growth overfishing ผลการศึกษายังได้ชี้แนะว่า มาตรการในการกำหนดขนาดตาอวนที่มักใช้ในการจัดการประมงสัตว์น้ำจำพวกปูโดยทั่วไป ไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับการจัดการประมงปูม้าพื้นบ้าน เนื่องจากมาตรการไม่มีความสอดคล้องกับลักษณะการทำประมงที่ทำประมงในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายเฉพาะสมาชิกของปูม้าที่ยังไม่เจริญพันธุ์และมีขนาดเล็กในสัดส่วนที่สูง ทั้งนี้ หากกำหนดขนาดตาอวนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะส่งผลทำให้ผลผลิตจากการประมงลดลงเหลือ 36.50% ของผลผลิตที่เคยได้ มาตรการกำหนดขนาดตาอวนจึงอาจส่งผลต่อความล้มเหลวของการจัดการประมงได้ เพราะจะไม่เป็นที่ยอมรับของชาวประมง มาตรการหนึ่งที่อาจเป็นทางออกที่ดีคือ มาตรการกำหนดฤดูกาลทำประมง โดยกำหนดช่วงเวลาห้ามทำประมงให้สั้นและสอดคล้องกับการแพร่กระจายของปูม้าที่เป็นกลุ่มอ่อนไหวต่อการเกิด overfishing ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่ชาวประมงได้ตระหนักรู้และตื่นตัวในวิกฤตทรัพยากรประมง คาดว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดฤดูกาลทำประมงจะเป็นที่ยอมรับของชาวประมงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ไตรศักดิ์ และจักรพันธุ์ ปัณพฤกษานนท์. 2557. นัยยะของผลผลิตประมงปูม้าจากแหล่งประมงพื้นบ้านต่อการเลือกจับของเครื่องมือประมงปูม้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 32(2): 56-65.

จิราภรณ์ ไตรศักดิ์. 2561. ความเป็นมาและพัฒนาการของการจัดการประมง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

หทัยชนก เสาร์สูง และจิราภรณ์ ไตรศักดิ์. 2552. การประยุกต์ใช้ข้อมูลการประมงพื้นบ้านในการศึกษาการแพร่กระจายของประชากรปูม้า.

แก่นเกษตร 37: 149-156.

Alaska Department of Fish and Game (ADFG). 2002. Dungeness Crab. http://www.adfg.alaska.gov/static/education/wns/

dungeness_crab.pdf (21 October 2019).

Beverton, R. J. H., and Holt, S. J. 1957. On the dynamics of exploited fish populations. Reprinted. London: Chapman & Hall.

Boerema, L. K., and Gulland, J. A. 1973. Stock assessment of the Peruvian anchovy (Engraulis ringens) and management of

the fishery. Journal Fisheries Research Board of Canada 30(12): 2226-2235.

California Ocean Protection Council. n.d. Dungeness Crab (Meta carcinusmagister). http://opc.ca.gov/webmaster/ftp/project_pages/

Rapid%20Assessments/Dungeness%20Crab.pdf (21 October 2019).

Clark, W .G. 1976. The lessons of the Peruvian anchoveta fishery. In Californai Cooperative Oceanic Fisheries Investigation.

Reports Volume XIX, 1 July 1975 to 30 June 1976. pp. 57-63. La Jolla, California.

Davis, S., Sylvia, G., Yochum, N., and Cusack, C. 2017. Oregon Dungeness crab fishery bioeconomic model: a fishery interactive simulator learning tool. Newport, OR: OSU Coastal Oregon Marine Experiment Station and the Research Group,

LLC for the Oregon Dungeness Crab Commission.

De Lestang, S., Bellchambers, L. M., Caputi, N., Thomson, A. W., Pember, M. B., Johnston, D. J., and Harris, D. C. 2010.

Stock-recruitment-environment relationship in a Portunus pelagicus fishery in Western Australia. In Biology and Management of Exploited Crab Populations under Climate Change. G. H. Kruse, G. I. Eckert, R. J. Foy, R. N. Lipcius,

B. Sainte-Marie, D. L. Stram, and D. Woodby, eds. pp. 317-334. Fairbanks, AK: University of Alaska.

Johnston, D., Harris, D., Caputi, N., and Thomson, A. 2011. Decline of a blue swimmer crab (Portunus pelagicus) fishery in

Western Australia—History, contributing factors and future management strategy. Fisheries Research 109: 119-130.

Kato, T. 2012. Appropriate management for small-scale tropical fisheries. SPC Traditional Marine Resource Management and Knowledge Information Bulletin 30: 3-15.

R Core Team. 2019. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. http://www.R-project.org/ (18 June 2019).

Smith, K. D., Hall, N. G., de Lestang, S., and Potter, I. C. 2004. Potential bias in estimates of the size of maturity of crabs derived from trap samples. ICES Journal of Marine Science 61: 906-912.

Sumpton, W. D., Potter, M. A., and Smith, G. S. 1994. Reproduction and growth of the commercial sand crab, Portunus pelagicus (L.) in Moreton Bay, Queensland. Asian Fisheries Science 7: 103-113.

Trisak, J., Soasung, H., and Wongkaea, P. 2009. Seasonal variation in catches and efforts of a small-scale swimming crab trap fishery in the Eastern Gulf of Thailand. Songklanakarin Journal of Science and Technology 31(4): 373-380.

Zheng, J., and Kruse, G. H. 2003. Stock–recruitment relationships for three major Alaskan crab stocks. Fisheries Research 65: 103-121.