การทดสอบพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวชั่วที่ 1 ดาวเรืองอเมริกัน (Tagetes erecta L.)

Main Article Content

ศราวุธ นันต๊ะภูมิ
สิทธิชัย พีระภาสกร
พรพันธ์ ภู่พร้อมพันธุ์

บทคัดย่อ

          ประเมินการแสดงลักษณะของลูกผสมเดี่ยวชั่วที่ 1 ดาวเรืองอเมริกัน (Tagetes erecta L.) สำหรับตัดดอกใน 3 ฤดู ณ แปลงทดลองบริษัท โฮมซีดส์ จำกัด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อคัดเลือกลูกผสมเดี่ยวชั่วที่ 1 ที่มีลักษณะทรงต้นและคุณภาพดอกดี และคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ การจัดสิ่งทดลองแบบแฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ นำมาใช้ทดลองโดยทำการปลูกลูกผสมเดี่ยวชั่วที่ 1 จำนวน 62 สายพันธุ์ ที่ได้จากพันธุ์พ่อ 2 สายพันธุ์ และพันธุ์แม่ 31 สายพันธุ์ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมใน 3 ฤดู แสดงให้เห็นว่าลักษณะทรงต้นและคุณภาพดอกของลูกผสมและพันธุ์พ่อแม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง นอกจากนี้ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์พ่อแม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพดอกอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ชี้ให้เห็นว่าสายพันธุ์พ่อ MG073 มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดทั้งสองลักษณะสายพันธุ์แม่ F35 และ F45 มีคะแนนเฉลี่ยลักษณะทรงต้นสูงที่สุด 6.0 และ F23 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพดอกสูงที่สุด 6.4 อย่างไรก็ตามการผสมระหว่างสายพันธุ์ F23 กับ MG073 มีผลทำให้คะแนนเฉลี่ยคุณภาพของดอกสูงที่สุด 7.2 ดังนั้นเมล็ดพันธุ์คัดจากสายพันธุ์พ่อแม่ที่มีลักษณะปรากฏที่ดีจะนำไปใช้ผลิตดาวเรืองอเมริกันลูกผสมเดี่ยวชั่วที่ 1 พันธุ์การค้าสำหรับตัดดอกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปกป้อง ป้อมฤทธิ์, วรรณภา เสนาดี และสุภาพร เส็งสมาน. 2561. ดาวเรืองไม้ตัดดอกอุตสาหกรรมทำเงิน. วารสารเคหการเกษตร 42: 63-85.

ปราโมทย์ พรสุริยะ, สมควร บุญศรีนุกุล และพรทิพย์ พรสุริยะ. 2558. ความแตกต่างทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์กับความดีเด่นของลูกผสมระหว่างพันธุ์ในข้าวโพดข้าวเหนียว. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 8(1): 17-22.

ธานี ศรีวงศ์ชัย. 2556. เอกสารประกอบการฝึกอบรมข้าวลูกผสม เรื่อง สมรรถนะการผสมพันธุ์ (combining ability) และการเปรียบเทียบผลผลิต (yield trials) ในข้าวลูกผสม. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. http://www.corsat.agr.ku.ac.th/doc/01003576/GCA.pdf.

(1 พฤศจิกายน 2562).

นงเยาว์ วงค์พุฒิ. 2545. การศึกษาความสัมพันธ์ความสั้น–ยาววันและสารควบคุมการเจริญเติบโตและการออกดอกของดาวเรืองสีขาว

(Tagetes erecta L.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วัลลภ พรหมทอง. 2540. ปลูกดาวเรืองไม้ดอกอเนกประสงค์. เทคโนโลยีชาวบ้าน 10(177): 29-32.

Arunachalam, V. 1981. Genetic distance in plant breeding. Indian Journal of Genetics and Plant Breeding 41: 226-336.

Fehr, W. K. 1987. Principle of cultivar development vol.1: theory and technique. New York: Macmillan Publishing Company.

Kaya, Y. 2005. Determining combining ability in sunflower (Helianthus annuus L.). Turkish Journal of Agriculture and Forestry

: 243-250.

Kessler, J. R. 1999. Green house production of marigold. Southeastern Floriculture, Auburn University. USA. 8-11.

http:// https://hortscans.ces.ncsu.edu/uploads/g/r/greenhou_51e440be5eb23.pdf. (1 November 2019).

Khan, H., Rahman, H. U., Ahmad, H., Ali, H., Ullah, I., and Alam, M. 2008. Magnitude of combining ability of sunflower genotypes

in different environments. Pakistan Journal of Botany 40(1): 151-160.

Priyadarshini, A., Palai, S. K., and Nath, M. R. 2018. Effect of source of nitrogen on growth and yield of African marigold

(Tagetes erecta L.). The Pharma Innovation Journal 7(7): 917-921.

Satish, C. B., Kumar, S. S., Ranganadha, A. R. G., and Dudhe, M. Y. 2011. Combining ability for development of new hybrids over environments in sunflower (Helianthus annuus L.). Journal of Agricultural Science 3(2): 230-237.

Gurry, F., and Button, P. 2011. International Union for the Protection of New Varieties of Plants (UPOV). Geneva. https://www.upov.int/edocs/mdocs/upov/en/tc/43/tg_tagete_proj_6.pdf. (1 November 2019).