การพัฒนาการพอกเมล็ดด้วยน้ำมันหอมระเหยสำหรับเมล็ดผักกาดหอมออร์แกนิก

Main Article Content

อุษณีย์ นรฮีม
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษาระดับความเข้มข้นของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช 4 ชนิด คือ เมล็ดมะรุม เมล็ดสะเดา เมล็ดเทียนดำ และโป๊ยกั๊ก และวัสดุประสานที่เหมาะสมในการพอกเมล็ดผักกาดแก้วเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อ P. carotovorum subsp. carotovorum สายพันธุ์ T-TU021 ซึ่งเป็น seed born pathogen และเพิ่มขนาดเมล็ดด้วยการพอก วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) พบว่า สารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเทียนดำที่ระดับความเข้มข้น 0.15 และ 0.2% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสายพันธุ์ T-TU021 โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางการยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 1.72 และ 1.81 เซนติเมตร และเมื่อนำระดับความเข้มข้นต่ำที่สุดของน้ำมันหอมระเหยจากเทียนดำที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (0.15%) มาพอกเมล็ดพันธุ์ในวัสดุประสาน Chitosan-Lignosulphonate Polymer (CLP) พบว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริม
การเจริญเติบโตของต้นกล้า ประกอบด้วยเปอร์เซ็นต์ความงอก 86.10% ความสูงต้น 4.07 เซนติเมตร ความยาวราก 3.18 เซนติเมตร และลดปริมาณเมล็ดเน่า (15.68%) การศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบนำไปประยุกต์เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาการพอกเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่มีคุณภาพในระดับอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2557. อิทธิพลของการพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อราต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. แก่นเกษตร 42(พิเศษ 1): 110-116.
ธนัท อมาตยกุล. 2554. การยับยั้งเชื้อราโรคหวีเน่า (crown rot) และแอนแทรกโนส (antracnose) สารสกัดจากขิง (Zingiber officinale) และข่า (Alpinia galango) ในกล้วยหอมแบบ in vivo และ in vitro. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยฉัตร อัครนุชาต, สุภามาศ ช่างแต่ง, ปิติพงษ์ โตบันลือภพ, สุชาดา เวียรศิลป์ และสงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์. 2553. ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารเกษตร 26(1): 85-92.
มยุรี ปละอุด. 2549. ผลของน้ำมันหอมระเหยต่อเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งอรุณ กันธะปา. 2554. การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลือบน้ำมันหอมระเหยกานพลู โหระพา สะระแหน่ และไคโตซานเพื่อควบคุมเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาโรคพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2551. ลักษณะและการทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ควบคุมเชื้อ Erwinia carotovora pv. carotovora สาเหตุโรคเน่าเละของกะหล่ำดอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศิธร วุฒิวณิชย์. 2547. ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของ Erwinia carotovora subsp. carotovora
เชื้อสาเหตุโรคเน่าเละของผัก. วิทยาสารกำแพงแสน 2: 72-81.
ศศิธร วุฒิวณิชย์. 2561. โรคผัก 2018. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. 2561. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ฉบับปี 2560. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์.
https://actorganic-act-organic-stand-2/ (16 พฤศจิกายน 2561).
Hafez, Y.M. 2008. Effectiveness of the antifungal black seed oil against powdery mildews of cucumber (Podosphaera xanthii) and barley (Blumeria garminis f.sp. hordei). Acta Biologica Szegediensis 52(1): 17-25.
International seed testing association. 2006. ISTA Method Validation for Seed Testing. https://www.seedtest.org/upload/cms/user /ISTAMethodValidationforSeedTesting-V1.01.pdf (October 1, 2006).
Leopold Center for Sustainable Agriculture. 2008. Annual Report Leopold Center for Sustainable Agriculture 2008-2009.
Ames: Iowa State University.